ประวัติหลวงพ่อกุหลาบ พุทฺธโชติ หรือ หลวงพ่อกุหลาบ วัดบางเป้ง
พระครูพรหมจริยาธิมุตต์ (หลวงพ่อกุหลาบ พุทฺธโชติ) หรือ หลวงพ่อหลาบ วัดบางเป้ง อดีตเจ้าอาวาสวัดบางเป้ง และอดีตเจ้าคณะอำเภอศรีราชา ท่านเป็นเกจิดังของตำบลแสนสุข อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี ท่านพัฒนาวัดบางเป้งจนมีความรุ่งเรือง ท่านเป็นพระที่มีเมตตาสูง ใครมาขอความช่วยเหลือจากท่านท่านก็ช่วยเหลือมิไม่ได้ขาด ท่านเป็นพระเกจิที่ชาวบางแสนให้ความเคารพอย่างมาก และท่านยังให้ความสำคัญของการศึกษาท่านได้สร้างโรงเรียนวัดบางเป้ง (กุหลาบราษฎร์อำนวยวิทย์) ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2509 เป็นต้น
ประวัติและสถานะเดิม
พระครูพรหมจริยาธิมุตต์ ท่านมีนามเดิมว่า " กุหลาบ " นามสกุล " อุ่นจิตร หรือ อุ่นจิตต์ (ไม่แน่ใจว่าเขียนแบบไหนครับ) " เกิดเมื่อวันอังคาร ขึ้น 9 ค่ำ เดือนยี่ ตรงกับวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2431 บิดาชื่อ นายช้อน มารดาชื่อ นางเจียก อุ่นจิตร ท่านเกิด ณ หมู่ที่ 1 บ้านตำบลแสนสุข อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี (บริเวณสถานีดับเพลิง ต.แสนสุข) ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดาจำนวน 5 คน หลวงพ่อกุหลาบเป็นบุตรคนสุดท้อง ดังนี้
พระอธิการอั๋ง อุ่นจิตร
นายหลำ อุ่นจิตร
นายเลื่อน อุ่นจิตร
นางเชย อุ่นจิตร
พระครูพรหมจริยาธิมุตต์ (หลวงพ่อกุหลาบ อุ่นจิตร)
บรรพชา
หลวงพ่อกุหลาบ เมื่ออายุได้ 14 ปี ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อปีขาล พ.ศ. 2445 ณ วัดบางเป้ง ตำบลแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี โดยมี
- พระอุปัชฌาย์จั่น วัดเสม็ด ตำบลเสม็ด อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี (เป็นผู้บวชให้)
อุปสมบท
หลวงพ่อกุหลาบ เมื่ออายุได้ 20 ปีบริบูรณ์ ท่านได้อุปสมบท เมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 7 ปีวอก เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2451 ณ พัทธสีมาวัดบางเป้ง ตำบลแสนสุข อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี โดยมี
- พระอุปัชฌาย์จั่น วัดเสม็ด ตำบลเสม็ด อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี (เป็นพระอุปัชฌาย์)
งานปกครอง
พ.ศ. (ไม่ทราบปี) เป็นเจ้าอาวาสวัดบางเป้ง
พ.ศ. 2512 เป็นเจ้าคณะอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี (วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2512)
งานพัฒนา
พ.ศ. 2509 หลวงพ่อกุหลาบ เป็นผู้ริเริ่มร่วมกับราษฎร์ที่มีจิตรศรัทธาบริจาคเงินเพื่อสร้างโรงเรียนขึ้นภายในพื้นที่วัดบางเป้ง ปัจจุบันชื่อโรงเรียนว่า " โรงเรียนวัดบางเป้ง (กุหลาบราษฎร์อำนวยวิทย์) "
มรณภาพ
พระครูพรหมจริยาธิมุตต์ ( หลวงพ่อกุหลาบ พุทฺธโชติ) ท่านมรณภาพ เมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2519 สิริอายุได้ 87 ปี พรรษา 68
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระครูพรหมจริยาธิมุตต์ (หลวงพ่อกุหลาบ พุทฺธโชติ) หรือ หลวงพ่อหลาบ วัดบางเป้ง อดีตเจ้าอาวาสวัดบางเป้ง และอดีตเจ้าคณะอำเภอศรีราชา ท่านเป็นเกจิดังของตำบลแสนสุข อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี ท่านพัฒนาวัดบางเป้งจนมีความรุ่งเรือง ท่านเป็นพระที่มีเมตตาสูง ใครมาขอความช่วยเหลือจากท่านท่านก็ช่วยเหลือมิไม่ได้ขาด ท่านเป็นพระเกจิที่ชาวบางแสนให้ความเคารพอย่างมาก และท่านยังให้ความสำคัญของการศึกษาท่านได้สร้างโรงเรียนวัดบางเป้ง (กุหลาบราษฎร์อำนวยวิทย์) ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2509 เป็นต้น
ประวัติและสถานะเดิม
พระครูพรหมจริยาธิมุตต์ ท่านมีนามเดิมว่า " กุหลาบ " นามสกุล " อุ่นจิตร หรือ อุ่นจิตต์ (ไม่แน่ใจว่าเขียนแบบไหนครับ) " เกิดเมื่อวันอังคาร ขึ้น 9 ค่ำ เดือนยี่ ตรงกับวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2431 บิดาชื่อ นายช้อน มารดาชื่อ นางเจียก อุ่นจิตร ท่านเกิด ณ หมู่ที่ 1 บ้านตำบลแสนสุข อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี (บริเวณสถานีดับเพลิง ต.แสนสุข) ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดาจำนวน 5 คน หลวงพ่อกุหลาบเป็นบุตรคนสุดท้อง ดังนี้
พระอธิการอั๋ง อุ่นจิตร
นายหลำ อุ่นจิตร
นายเลื่อน อุ่นจิตร
นางเชย อุ่นจิตร
พระครูพรหมจริยาธิมุตต์ (หลวงพ่อกุหลาบ อุ่นจิตร)
บรรพชา
หลวงพ่อกุหลาบ เมื่ออายุได้ 14 ปี ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อปีขาล พ.ศ. 2445 ณ วัดบางเป้ง ตำบลแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี โดยมี
- พระอุปัชฌาย์จั่น วัดเสม็ด ตำบลเสม็ด อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี (เป็นผู้บวชให้)
อุปสมบท
หลวงพ่อกุหลาบ เมื่ออายุได้ 20 ปีบริบูรณ์ ท่านได้อุปสมบท เมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 7 ปีวอก เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2451 ณ พัทธสีมาวัดบางเป้ง ตำบลแสนสุข อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี โดยมี
- พระอุปัชฌาย์จั่น วัดเสม็ด ตำบลเสม็ด อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี (เป็นพระอุปัชฌาย์)
งานปกครอง
พ.ศ. (ไม่ทราบปี) เป็นเจ้าอาวาสวัดบางเป้ง
พ.ศ. 2512 เป็นเจ้าคณะอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี (วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2512)
งานพัฒนา
พ.ศ. 2509 หลวงพ่อกุหลาบ เป็นผู้ริเริ่มร่วมกับราษฎร์ที่มีจิตรศรัทธาบริจาคเงินเพื่อสร้างโรงเรียนขึ้นภายในพื้นที่วัดบางเป้ง ปัจจุบันชื่อโรงเรียนว่า " โรงเรียนวัดบางเป้ง (กุหลาบราษฎร์อำนวยวิทย์) "
มรณภาพ
พระครูพรหมจริยาธิมุตต์ ( หลวงพ่อกุหลาบ พุทฺธโชติ) ท่านมรณภาพ เมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2519 สิริอายุได้ 87 ปี พรรษา 68
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น