หลวงปู่ทอง อายะนะ (พ.ศ. 2363 - พ.ศ. 2480) เป็นพระคณาจารย์ยุคเก่าที่มีอายุยืนยาวถึง 117 ปี ท่านเป็นพระที่มีวัตรปฏิบัติอันงดงาม เชี่ยวชาญด้านพุทธาคมอย่างลึกซึ้ง เป็นผู้ถ่ายทอดวิชาให้กับ หลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว ส่วนลูกศิษย์ฆราวาสที่เคราพเลื่อมใสท่านมากก็คือ พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) นายกรัฐมนตรีคนที่ 2 ของประเทศไทย ด้านวัตถุมงคลของท่านมีทั้งพระเครื่องเนื้อพิมพ์สมเด็จ ลูกอม ชานหมาก เสื้อยันต์ แต่ที่ได้รับความนิยมสูงสุดก็คือ เหรียญรุ่นแรก
ประวัติหลวงปู่ทอง อายะนะ
หลวงปู่ทอง อายานะ เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2363 ตรงกับปลายสมัยรัชกาลที่ 2 เป็นบุตรของนายฮวด แซ่ลิ้ม ชาวจีนฮกเกี้ยน มารดาเป็นชาวมอญ ต่อมาท่านได้อุปสมบทเมื่อปี พ.ศ. 2384 ได้อุปสมบท ณ วัดบางเงินพรม ตลิ่งชัน โดยมีท่านเจ้าคุณวินัยกิจจารีเถระ (ภู่) อดีตเจ้าอาวาสองค์ที่ 2 ของ วัดบางเงินพรม เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาตามภาษามคธว่า อายะนะ หลังจากอุปสมบทมา ได้พำนักจำพรรษา ณ วัดแห่งนั้นเพื่อศึกษาพระธรรมวินัย และคอยอุปัฏฐากพระอุปัชฌาย์ของท่านภายหลังได้ธุดงค์วัตรเพื่อแสวงหาโมกขธรรม เมื่อพระราชโยธาก่อสร้างวัดราชโยธาเสร็จเรียบร้อยแล้ว ได้นิมนต์ท่านให้มาเป็นเจ้าอาวาส ท่านจึงเป็นเจ้าอาวาสองค์แรกของ วัดราชโยธา หลวงปู่ทอง อายะนะ ท่านเป็นศิษย์น้องของ สมเด็จโต วัดระฆัง และเป็นลูกศิษย์ของ หลวงปู่แสง วัดมณีชลขันธ์ และมีคนไปศึกษากับท่าน เช่น
หลวงปู่ทอง อายะนะ ท่านได้ปลุกเสกพระเครื่องเพียงรุ่นเดียวคือ รุ่น ปี พ.ศ. 2480 สร้างโดยอาจารย์แก้ว คำวิบูลย์ ศิษย์ใกล้ชิดมี 2 เนื้อ คือ เนื้อเงิน เนื้อทองแดงรมดำ ชนิดที่ไม่รมดำเนื้อเหรียญออกไปทางสัมฤทธิ์ก็มีเป็นเหรียญรูปไข่หูในตัว ด้านหน้าเป็นรูปหลวงปู่ทองห่มจีวรหันข้างครึ่งองค์ ล้อมรอบด้วยเม็ดไข่ปลาและหนังสือไทย เขียนว่า ท่านอาจารย์ทอง วัดราชโยธา อายุ 117 ปี หลังเหรียญมีอักขระยันต์และตัวหนังสือไทยระบุว่า แก้ว คำวิบูลย์ ครั้งที่ 1เส้นขอบเหรียญแบบ 2 ชั้น และภาพถ่ายมีเพียงภาพตอนที่ท่านจะลงจากกุฏิไปฉันเพล ท่านถึงแก่มรณภาพด้วยโรคชราในปี พ.ศ. 2480 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 8นับรวมอายุได้ 117 ปี 96 พรรษา เป็นพระอรหันต์ที่อยู่ได้นานที่สุดถึง 7 แผ่นดิน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ประวัติหลวงปู่ทอง อายะนะ
หลวงปู่ทอง อายานะ เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2363 ตรงกับปลายสมัยรัชกาลที่ 2 เป็นบุตรของนายฮวด แซ่ลิ้ม ชาวจีนฮกเกี้ยน มารดาเป็นชาวมอญ ต่อมาท่านได้อุปสมบทเมื่อปี พ.ศ. 2384 ได้อุปสมบท ณ วัดบางเงินพรม ตลิ่งชัน โดยมีท่านเจ้าคุณวินัยกิจจารีเถระ (ภู่) อดีตเจ้าอาวาสองค์ที่ 2 ของ วัดบางเงินพรม เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาตามภาษามคธว่า อายะนะ หลังจากอุปสมบทมา ได้พำนักจำพรรษา ณ วัดแห่งนั้นเพื่อศึกษาพระธรรมวินัย และคอยอุปัฏฐากพระอุปัชฌาย์ของท่านภายหลังได้ธุดงค์วัตรเพื่อแสวงหาโมกขธรรม เมื่อพระราชโยธาก่อสร้างวัดราชโยธาเสร็จเรียบร้อยแล้ว ได้นิมนต์ท่านให้มาเป็นเจ้าอาวาส ท่านจึงเป็นเจ้าอาวาสองค์แรกของ วัดราชโยธา หลวงปู่ทอง อายะนะ ท่านเป็นศิษย์น้องของ สมเด็จโต วัดระฆัง และเป็นลูกศิษย์ของ หลวงปู่แสง วัดมณีชลขันธ์ และมีคนไปศึกษากับท่าน เช่น
- หลวงพ่อคง ธัมมโชโต
- พระครูวิสุทธิวงศาจารย์ญาณมุนี (แช่ม)
- พระภาวนาโกศลเถระ (เอี่ยม สุวณฺณสโร)
- พระครูกรุณาวิหารี (เผือก ปัญญาธโร)
หลวงปู่ทอง อายะนะ ท่านได้ปลุกเสกพระเครื่องเพียงรุ่นเดียวคือ รุ่น ปี พ.ศ. 2480 สร้างโดยอาจารย์แก้ว คำวิบูลย์ ศิษย์ใกล้ชิดมี 2 เนื้อ คือ เนื้อเงิน เนื้อทองแดงรมดำ ชนิดที่ไม่รมดำเนื้อเหรียญออกไปทางสัมฤทธิ์ก็มีเป็นเหรียญรูปไข่หูในตัว ด้านหน้าเป็นรูปหลวงปู่ทองห่มจีวรหันข้างครึ่งองค์ ล้อมรอบด้วยเม็ดไข่ปลาและหนังสือไทย เขียนว่า ท่านอาจารย์ทอง วัดราชโยธา อายุ 117 ปี หลังเหรียญมีอักขระยันต์และตัวหนังสือไทยระบุว่า แก้ว คำวิบูลย์ ครั้งที่ 1เส้นขอบเหรียญแบบ 2 ชั้น และภาพถ่ายมีเพียงภาพตอนที่ท่านจะลงจากกุฏิไปฉันเพล ท่านถึงแก่มรณภาพด้วยโรคชราในปี พ.ศ. 2480 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 8นับรวมอายุได้ 117 ปี 96 พรรษา เป็นพระอรหันต์ที่อยู่ได้นานที่สุดถึง 7 แผ่นดิน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น