ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ประวัติและปฏิปทา หลวงพ่ออินทร์ถวาย สันตุสสโก วัดป่านาคำน้อย จังหวัดอุดรธานี

ประวัติและปฏิปทา พระอาจารย์อินทร์ถวาย สนฺตุสฺสโก (หลวงพ่ออินทร์ถวาย สันตุสสโก)

วัดป่านาคำน้อย (วัดอุดมมงคลวนาราม) บ้านนาคำน้อย ตำบลบ้านก้อง อำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี



อัตโนประวัติ

พระอาจารย์อินทร์ถวาย สันตุสสโก มีนามเดิมว่า อินทร์ถวาย ผิวขำ เกิดเมื่อวันที่ 27 เมษายน พุทธศักราช 2488 ตรงกับวันศุกร์ แรม 1 ค่ำ เดือน 5 ปีระกา ณ บ้านหนองแวง ตำบลหนองสูงใต้ อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร (จังหวัดนครพนม ในขณะนั้น) โยมบิดาชื่อ คุณพ่อแดง ผิวขำ โยมมารดาชื่อ คุณแม่จอมแก้ว ผิวขำ ท่านเป็นบุตรคนที่ 6 ในจำนวนพี่น้องทั้งหมด 7 คน ซึ่งเป็นหญิง 3 คน เป็นชาย 4 คน

พระอาจารย์อินทร์ถวายได้เข้าพิธีบรรพชาเป็นสามเณร ขณะมีอายุ 11 ปี ณ วัดกลางสนาม ตำบลกลางสนาม อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร เมื่อปี พ.ศ. 2500 โดยมี หลวงปู่กงแก้ว ขันติโก เป็นพระอุปัชฌาย์ หลังจากบรรพชาแล้ว ได้ไปอยู่ศึกษาปฏิบัติธรรมกับ หลวงปู่หล้า เขมปัตโต ณ วัดบรรพตคีรี (วัดภูจ้อก้อ) ตำบลหนองตูมใต้ อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร เป็นระยะเวลาทั้งหมด 9 ปี

ต่อมาท่านได้รับการญัตติเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมา วัดป่าศิลาวิเวก ตำบลป่าศิลาวิเวก อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร เมื่อปี พ.ศ. 2508 โดยมี หลวงปู่คำ คัมภีรญาโณ เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่ออุปสมบทแล้ว ในพรรษาแรกได้อยู่จำพรรษากับ หลวงปู่หล้า เขมปัตโต ที่วัดบรรพตคีรี (วัดภูจ้อก้อ) อีกหนึ่งพรรษา

หลังจากนั้น ท่านได้ไปอยู่จำพรรษากับ หลวงปู่จาม มหาปุญโญ ณ วัดป่าวิเวกวัฒนาราม บ้านห้วยทราย ตำบลคำชะอี อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร 1 พรรษา แล้วติดตามองค์หลวงปู่จามขึ้นไปจังหวัดเชียงใหม่ และไปอยู่จำพรรษากับ หลวงปู่แหวน สุจิณโณ ณ วัดดอยแม่ปั๋ง ตำบลแม่ปั๋ง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ เป็นเวลา 1 พรรษา แล้วกลับลงมาอยู่จำพรรษาอีกครั้งหนึ่งกับหลวงปู่จาม ที่วัดป่าวิเวกวัฒนาราม

หลังจากนั้นช่วงปี พ.ศ. 2512-2525 ได้ไปอยู่จำพรรษา ณ วัดป่าบ้านตาด ตำบลบ้านตาด อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี กับ หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน

ช่วงออกพรรษา ท่านได้กราบลาองค์หลวงตามหาบัว มาแสวงหาความสงบวิเวกในแถบจังหวัดเลย อุดรธานี และหนองคาย ต่อมาในราวปี พ.ศ. 2523 ท่านเห็นว่าสถานที่ตั้งวัดป่านาคำน้อย ในปัจจุบัน เป็นสถานที่สัปปายะเหมาะสำหรับการภาวนาเป็นยิ่งนัก จึงได้ร่วมกับคณะศรัทธาญาติโยม พุทธบริษัททุกหมู่เหล่า ช่วยกันจัดตั้งเป็นวัดปฏิบัติในพระพุทธศาสนา และได้พัฒนาให้มีความเจริญสืบเนื่องเป็นลำดับมา อำนวยประโยชน์สมตามปณิธานของท่านผู้ก่อตั้งวัด ที่จะให้สถานที่แห่งนี้เป็นสถานฝึกอบรมทั้งทางร่างกาย (ศีลธรรม) และจิตใจ (จริยธรรม) ให้เป็นผู้สมบูรณ์ทั้งทางด้านวิชชาและจรณะควบคู่กันไป สมตามพุทธภาษิตที่ว่า

“อัตตานัง ทะมะยันติ ปัณฑิตา” บัณฑิตย่อมฝึกซึ่งตน

งานสาธารณประโยชน์

เมื่อวัดได้รับการพัฒนาในขอบเขตที่พอเป็นไป พระอาจารย์อินทร์ถวาย สันตุสสโก ได้ให้ความสนใจงานสาธารณสุข และงานการศึกษาเป็นพิเศษ โดยได้ร่วมกับคณะศรัทธาญาติโยม พุทธบริษัททุกหมู่เหล่า เป็นสะพานบุญเชื่อมโยง ชักชวน ร่วมกันประกอบสาธารณกุศลในงานอันเป็นสาธารณประโยชน์ เช่น การก่อสร้าง อาคารพยาบาล จัดหาเครื่องมือและครุภัณฑ์ทางการแพทย์ แก่โรงพยาบาลหลายแห่ง ทั้งโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลจังหวัด โรงพยาบาลอำเภอ หอพยาบาลโรงเรียน อาคารเรียน ห้องสมุด ห้องคอมพิวเตอร์ ทั้งโรงเรียนมัธยม และประถมศึกษา อาคารหอประชุม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี เขต 4 อาคารอเนกประสงค์ โรงเรียน ตชด. อาคารศูนย์เด็กก่อนวัยเรียน มอบทุนการศึกษา ทุนอาหารกลางวัน สร้างรั้วโรงเรียน แก่สถานศึกษาหลายแห่ง สร้างหอประชุมตำรวจ ทางคอนกรีตภายในโรงพัก ที่พักสายตรวจ ศูนย์บริการประชาชนของตำรวจ ยานพาหนะตำรวจ เป็นต้น เป็นมูลค่ารวม 100 ล้านบาท โดยได้รับเข็มเสมาธรรมจักรทองคำเชิดชูเกียรติจากกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อปี พ.ศ. 2549 และได้รับโล่จากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2550

เมื่อปี พ.ศ. 2549-2550 ได้ร่วมกับคณะสงฆ์ ศรัทธาพุทธบริษัท และคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกันจัดสร้างหออภิบาลสงฆ์ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ณ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ จังหวัดขอนแก่น เพื่อน้อมถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา วันที่ 5 ธันวาคม 2550 ณ อาคาร “สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี” (อาคาร 19 ชั้น) ขนาดพื้นที่ 1,750 ตารางเมตร บนชั้นที่ 10 รักษาพยาบาลแก่พระภิกษุสามเณรที่อาพาธจากทั่วทุกภาคของประเทศและจากทุกมุมโลก ให้ได้รับการรักษาตามหลักพระธรรมวินัย และตามหลักการแพทย์สมัยใหม่อย่างสมบูรณ์

นอกจากนี้ ได้ทำการจัดตั้งเป็นมูลนิธิและกองทุนเพื่อดูแลพระสงฆ์ สามเณร แม่ชี อาพาธ และป่วย ให้ได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนสืบไป โดยศรัทธาทั้งพระสงฆ์และพุทธบริษัทมาร่วมกันบำเพ็ญในครั้งนี้เป็นมูลค่าทั้งโครงการ (การตกแต่งหอสงฆ์ การจัดหาเครื่องมือและครุภัณฑ์ทางการแพทย์ และการจัดตั้งเป็นมูลนิธิและกองทุน) รวมเป็นปัจจัยทั้งสิ้น 50 ล้านบาท กระทั่งทางมหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ประกาศเกียรติคุณให้เป็นบุคคลดีเด่น เพื่อเข้ารับพระราชทานถวายรางวัลพระธาตุพนมทองคำ ประจำปี พ.ศ. 2550 จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2550


๏ คติพจน์

ปัจจุบันธรรม ทำวันนี้ให้ดีที่สุด

“ประดับชีวิตของเราให้มีค่า ทุกเวลาผ่านไปแล้วย่อมผ่านไปเลย พากันเร่งสร้างคุณธรรมประจำใจไว้ พร้อมสำนึกอยู่เสมอว่า ข้าพเจ้าเป็นคนหนึ่งที่จะทำวันนี้ให้ดีที่สุด เพราะกิตติศัพท์ ทรัพย์โภคา หาไปด้วย (ไม่ได้ไปด้วย) มีแต่บุญเข้าช่วยเมื่อม้วยมรณ์” จากหนังสือประทีปอริยธรรม หน้า 61


๏ งานเพื่อพระพุทธศาสนา

พุทธปัจฉิมวาจา “ท่านทั้งหลายจงยังประโยชน์และประโยชน์ท่านให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด”

งานที่พระอาจารย์อินทร์ถวาย สันตุสสโก ให้ความสำคัญอย่างมากเป็นอันดับแรก ก็คืองานเพื่อฝึกตนให้ดีในด้านศีล สมาธิ ปัญญา แล้วจึงบำเพ็ญประโยชน์ท่าน ด้วยการทดแทนคุณน้อมถวายเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา โดยท่านได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับงานก่อสร้างพุทธเจดีย์ ธรรมเจดีย์ สังฆเจดีย์ เพื่อเป็นเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ หลักธรรมคำสอน และอัฐิธาตุ ถวายแด่พ่อแม่ครูอาจารย์ ท่านผู้มีพระคุณ ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ดังนี้

1. การสร้างปฐมรัตนบูรพาจารย์มหาเจดีย์ วัดป่าภูก้อน จังหวัดอุดรธานี

2. เจดีย์บรรจุอัธิธาตุหลวงปู่เต็ม ขันติโก วัดป่าโคกสาคร จังหวัดอุดรธานี

3. เขมปัตตเจดีย์ หลวงปู่หล้า เขมปัตโต เจดีย์พิพิธภัณฑ์หลวงปู่หล้า ณ วัดบรรพตคีรี (วัดภูจ้อก้อ) จังหวัดมุกดาหาร บูรพาจารย์ของท่านพระอาจารย์

4. เจดีย์ศรีไตรรัตนานุสรณ์ คุณแม่ชีแก้ว เสียงล้ำ ณ สำนักชีบ้านห้วยทราย จังหวัดมุกดาหาร

และในปี พ.ศ. 2551 ท่านได้ชักชวนและร่วมกับศรัทธาพุทธบริษัท พร้อมใจกันก่อสร้างเจดีย์มหามงคลบัว ณ จังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อเป็นมงคลเจดียสถาน อันเป็นอนุสรณ์รำลึกแสดงถึงความกตัญญูกตเวทิตาธรรมของเหล่าศิษย์ทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ ถวายแด่องค์หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ ที่องค์ท่านได้ประกอบกรณียกิจ อันเป็นคุณทั้งน้อยใหญ่ สุดพรรณนา เป็นคุณานุคุณอำนวยประโยชน์แก่ประเทศชาติ พระพุทธศาสนา และพระมหากษัตริย์ เป็นอเนกอนันต์

“อวิชชาตัวเดียวนี่ คว่ำลงจากจิตกระเทือนทั่วแดนโลกธาตุ หลักธรรมชาติตัดสินเอง เป็นเองขึ้นมาเป็นลักษณะกลางๆ ขึ้นมา ผางทีเดียว เหมือนกับว่าโลกธาตุนี้คว่ำหมดเลย พรึบทีเดียวหมดเลย ทีนี้จ้าเลยที่นี้ อุ๋ย...อัศจรรย์จริงๆ...ธรรมอัศจรรย์เลิศเลอ”

ประวัติวัดป่านาคำน้อย

วัดป่านาคำน้อย เดิมชื่อ วัดอุดมมงคลวนาราม เป็นนามที่ได้รับเมตตาประทานจากหลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน แต่ต่อมาทางราชการมีแนวคิด เกี่ยวกับการตั้งชื่อวัดให้สอดคล้องกับชื่อหมู่บ้านที่ตั้งของวัด จึงได้ใช้นามว่า “วัดป่านาคำน้อย” ในปัจจุบัน

สถานที่ตั้งวัด อยู่ที่หมู่ 7 บ้านนาคำน้อย ตำบลบ้านก้อง อำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี รหัสไปรษณีย์ 41380 มีพื้นที่ในปัจจุบัน 1,350 ไร่ เริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2523

ประวัติการก่อตั้งวัด วัดป่านาคำน้อย ได้รับการตั้งเป็นวัดเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2529 และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2531 ตามบัญชีรายชื่อวัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา งวดที่ 6 ประจำปี 2530 ลำดับที่ 36 วัดนาคำน้อย ตำบลบ้านก้อง อำเภอน้ำโสม (ในขณะนั้น) จังหวัดอุดรธานี ขนาดวิสุงคามสีมา กว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร ดังประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 105 ตอนที่ 14 วันที่ 22 มกราคม 2531 กองพุทธสถานกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ วันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2531 เพื่อดำเนินตามแนวทางที่องค์หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ได้เมตตาชี้แนะไว้ว่า “สถานที่นี้เหมาะสำหรับผู้สนใจภาวนาเพราะเป็นป่า เป็นเขาสงบสงัด”

สภาพก่อนที่จะต้องเป็นวัด ท่านพระอาจารย์อินทร์ถวาย สันตุสสโก ขณะนั้นจำพรรษอยู่ที่วัดป่าบ้านตาด ได้ธุดงค์มาในเขตนี้เห็นว่าพื้นที่แห่งนี้ ในขณะนั้นเป็นพื้นที่อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่านายูง และป่าน้ำโสม มีสภาพทรุดโทรม และเป็นพื้นที่ป่าที่ได้รับสัมปทานไปแล้วหลายวาระ ประกอบกับเป็นพื้นที่สีชมพู อยู่ในเขตปฏิบัติการณ์ของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย น่าจะได้รับการฟื้นฟูทั้งทางรูปธรรม และนามธรรม โดยที่ท่านพระอาจารย์ได้เคยวิเวกมาในแถบนี้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516 เป็นต้นมา หลายวาระด้วยกัน จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2523 ได้ธุดงค์มาอีกรอบหนึ่ง ในครั้งนี้ ได้ธุดงค์มาปักกลด ณ บริเวณต้นสะท้อน ริมห้วยราง (ตรงบริเวณที่เป็นโรงครัวในปัจจุบัน) เห็นว่าเป็นสถานที่สัปปายะ น่าจะได้มีการจัดตั้งเป็นวัดปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนา จึงได้ชักชวนคณะศรัทธาญาติโยม หมู่เพื่อนสหธรรมิกพุทธบริษัททุกหมู่เหล่า มาร่วมกันก่อสร้างเป็นสำนักปฏิบัติกรรมฐานสายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

สภาพป่าภายในบริเวณวัด เป็นป่าที่สมบูรณ์ประมาณ 600 ไร่ แต่ได้รับการปลูกเสริมเพิ่มเติม เช่น สัก ประดู่ มะค่า ยาง กระบาก ตะแบก ตะเคียนทอง เป็นต้น ปัจจุบันได้ปลูกเสริมจนเต็มพื้นที่ จึงสามารถมองเห็นสภาพป่าดั้งเดิมและปลูกเสริมใหม่เจริญเติบโตร่วมกัน

สัตว์ป่าภายในวัด เนื่องจากพื้นที่นี้แต่เดิมเป็นป่าที่เคยอุดมสมบูรณ์ จึงมีสัตว์ป่าหลายชนิดอาศัยอยู่ เช่น หมูป่า กระรอก ค่าง ลิง ชะนี งูจงอาง งูเห่า * กระจง นิ่ม และนกชนิดต่างๆ

สิ่งก่อสร้างที่สำคัญภายในวัด ศาลาอเนกประสงค์ ขนาด 2 ชั้น พื้นที่กว้าง 16 เมตร ยาว 24 เมตร เป็นสถานที่ที่พระสงฆ์ใช้ทำสังฆกรรม เป็นที่ฉันภัตตาหาร เป็นที่บำเพ็ญกุศลในโอกาสต่างๆ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีกุฏิถาวร ประมาณ 15 หลัง และร้านพักพระประมาณ 40 หลัง โรงน้ำร้อน โรงครัว และที่พักฝ่ายอุบาสก อุบาสิกาจำนวน รวม 15 หลัง และถนนคอนกรีตเชื่อมโยงภายในวัดรวมเส้นทาง 4 กิโลเมตรเศษ

พระเมตตาจากองค์หลวงตา กำแพง คอนกรีตเสริมเหล็ก ขนาดความสูง 2.45 เมตร ยาว 6.75 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 1,350 ไร่ มูลค่า 20 ล้านบาทเศษ และฝายน้ำล้น ฝายเก็บกักน้ำหลายแห่งภายในวัด ได้รับเมตตาอุปถัมภ์ในการก่อสร้าง จากองค์หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ทั้งนี้เพื่อประโยชน์แก่สรรพสัตว์ที่ได้มาอาศัยอยู่ให้ได้รับความร่มเย็นตามอัตภาพ

สถานีวิทยุเสียงธรรมเพื่อประชาชน เป็นที่ตั้งของลูกข่าย สถานีวิทยุเสียงธรรมเพื่อประชาชน รับสัญญาณจากสถานีแม่ที่วัดป่าบ้านตาด ขนาดคลื่นความถี่ 107.25 MHZ ครอบคลุม พื้นที่อำเภอบ้านผือ น้ำโสม นายูง (จังหวัดอุดรธานี) สุวรรณคูหา (จังหวัดหนองบัวลำภู) สังคม (จังหวัดหนองคาย) และจังหวัดเลยบางส่วน

จำนวนพระสงฆ์จำพรรษา ในแต่ละปีจะมีพระสงฆ์จำพรรษา ประมาณ 30-40 รูป ในภาคฤดูร้อน เป็นสถานที่ที่พระสงฆ์ที่อุปสมบทจากกรุงเทพมหานคร มาพำนักปฏิบัติธรรมโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อปี พ.ศ. 2548-2550 มีนักศึกษาแพทย์ศิริราช มหาวิทยาลัยมหิดล มาบวชศึกษาภาคปฏิบัติ เป็นต้น

การอบรมพระภิกษุสามเณร และศรัทธาญาติโยม ได้กระทำทุกปีทั้งในหน้าแล้ง หน้าฝน ในฤดูจำพรรษา ก็มีอุบาสกอุบาสิกามาอยู่จำศีลภาวนาประมาณ 100 คนเศษ

ขยายและส่งเสริม สำนักและวัดปฏิบัติธรรม เมื่อท่านพระอาจารย์ได้มาจำพรรษาในแถบนี้ รวมทั้งในแถบอื่นหลายวัดด้วยกัน เช่น วัดป่าภูก้อน วัดป่าบ้านเพิ่ม วัดป่าหลุบเลา วัดป่าแค วัดป่าบ้านก้อง วัดป่าวังแข้ อำเภอนายูง วัดป่าโคกสาคร อำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี เป็นต้น วัดหมู่เพื่อนสหธรรมิก เช่น วัดป่ากุดสิม อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู วัดป่าบ้านใหม่ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี และท่านได้ตั้งวัดสาขา เช่น วัดป่าพิมาย อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา และสนับสนุน ศิษย์ที่เคยอยู่ในสำนักของท่านออกไปตั้งวัดหลายแห่ง หลายจังหวัดด้วยกัน อาทิ วัดป่าภูน้ำป๊อก อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น วัดป่าชัยพฤกษ์ กิ่งอำเภอเอราวัณ วัดป่าอุดมมงคลญาณสัมปันโน (ห้วยซวก) อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย วัดป่าเทพมงคล อำเภอนาด้วง จังหวัดเลย วัดป่าภูสวรรค์ อำเภอปากชม จังหวัดเลย วัดป่าภูเขาวงศ์ วัดป่าภูพัง กิ่งอำเภอนาวัง จังหวัดหนองบัวลำภู วัดป่าสุวรรณภูมิ อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นต้น


http://udn.onab.go.th/index.php?option= ... Itemid=245

ชีวิตของคนเรามันไม่มีอะไรแน่นอนทั้งหมด อีกสักวันหนึ่งก็จะต้องตายจากกัน ถึงจะรัก จะเกลียด โกรธขนาดไหนก็เถอะ อีกสักวันหนึ่งก็ไปคนละทิศคนละทาง ไปตามบุญกรรมของแต่ละคน เกิดภพหน้าชาติหน้าก็ลืมหลง เกิดขึ้นมาเสาะแสวงหาอีก หลงกันอีก เป็นวัฏฏะวน ไม่มีที่สิ้นสุดวกวนไป วกวนมาอยู่อย่างนี้ เหมือนกับมดแดงไต่ขอบกระด้งวนไปวนมา วนมาวนไป

หลวงพ่ออินทร์ถวาย สันตุสสโก

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=44265

ความคิดเห็น

  1. สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ

    ตอบลบ
  2. อยากให้ไก่ป่าอยู่ป่าให้สงบ ไม่อยากให้กลับกลายเป็นไก่บ้านขอรับหลวงตา

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น

เนื้อหาที่ได้รับความนิยมในรอบ 1 เดือน :

ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่หลอด ปโมทิโต วัดสิริกมลาวาส (วัดใหม่เสนา) กรุงเทพมหานคร

ประวัติและปฏิปทา พระครูปราโมทย์ธรรมธารา (หลวงปู่หลอด ปโมทิโต) วัดใหม่เสนานิคม (วัดสิริกมลาวาส หรือ วัดใหม่เสนา) แขวงลาดพร้าว เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร พระครูปราโมทย์ธรรมธารา (หลวงปู่หลอด ปโมทิโต) เป็นพระเถราจารย์ผู้มีจริยวัตรงดงามทั้งกายและใจ ท่านมักจะสอนลูกศิษย์เสมอๆ ว่า "ในหมู่คนดี ย่อมมีคนไม่ดีปะปนอยู่ด้วยเป็นของธรรมดา จึงไม่ควรใส่ใจ คนไหนดีเราก็สรรเสริญ คนไหนไม่ดี เราก็ออกห่าง ไม่ยกย่อง จงรักคนทุกคน ไว้ใจบางคน อย่าทำผิดต่อทุกคน และจงดูตนเสมอ" อีกคำสอนหนึ่ง คือ "เกิดเป็นคน จะสอนคน ต้องสอนตนก่อน เมื่อถูกสอน อย่าทำค้อน คำสอนเขา จะดีคน หรือคนดี จงติเรา จะโกรธเขา หรือเขาโกรธ ดูโทษตัว" ปัจจุบันหลวงปู่หลอด อายุ ๙๑ ปี พรรษา ๖๙ ตามประวัติของหลวงปู่ ชื่อเดิม "หลอด ขุริมน" เกิดเมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๔๕๘ ณ บ้านขาม ต.หัวนา อ.หนองบัวลำภู จ.อุดรธานี (ปัจจุบันคือ ต.บ้านขาม อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู) บิดาชื่อ "บัวลา" มารดาชื่อ "แหล้" หรือ "แร่" หลวงปู่เป็นบุตรคนสุดท้อง จากพี่น้อง ๓ คน คือ นางเกิ่ง (ถึงแก่กรรม) นางประสงค์ (ถึงแก่กรรม...

ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่คำน้อย จิตฺตคุตฺโต วัดถ้ำภูกำพร้า (วัดภูกำพร้า) จังหวัดมุกดาหาร

ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่คำน้อย จิตฺตคุตฺโต วัดภูกำพร้า อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร เกิด ไม่ทราบ มรณภาพ พ.ศ.2548 อายุ ไม่ทราบ (ว่ากันว่า 200 กว่าปี) พรรษา ไม่ทราบ สำหรับหลวงปู่คำน้อย ว่ากันว่าท่านมีถึงอายุ 238 ปี ท่านพำนักอยู่ วัดถ้ำภูกำพร้า อ.ดงหลวง จ.มุกดาหาร ตั้งแต่ท่าน อายุได้ 100 กว่าปี ท่านก็สามารถนั่งสมาธิถอดจิต ไปเที่ยว สวรรค์ - นรก และ บางคนเชื่อว่าท่านคือเณรคำผู้มีฤทธิ์จากภูเขาควายเมืองลาว ท่านเป็นพระใจดี สำหรับอายุของท่านเท่าที่ถามจากคนเฒ่าคนแก่ในละแวกนั้น เขาก็ว่าเกิดมาก็เห็นหลวงปู่แล้วจนเขามีอายุถึงแปดสิบเก้าสิบ หลวงปู่คำน้อยก็ยังคงอยู่ในสภาพเดิมไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง และเมื่อสอบถามจากหลวงปู่คำน้อยก็ได้คำตอบเหมือนที่ใครๆได้รับรู้จากวาจา ท่านเองคือเปลี่ยนฟันมาสองรอบแล้ว รอบละ 120 ปี เลยอนุมานเอาว่าช่วงนั้นหลวงปู่น่าจะอายุประมาณ 200 กว่า ปี อายุใกล้เคียงกับกรุงเทพมหานคร ก็เลยสันนิษฐานเอาว่าหลวงปู่น่าจะเกิดในสมัยรัชกาลที่ 1 ครับ ปัจจุบันท่านมรณภาพไปแล้วครับ ประมาณปี 2548

ประวัติหลวงปู่หมุน ฐิตสีโล วัดบ้านจาน อมตะเถระ ๕ แผ่นดิน อายุ ๑๐๙ ปี

หลวงปู่หมุน ฐิตสีโล " ตัวกูลูกพระพุทธองค์ ครูสิทธิ์ ครูธงค์ องอาจไม่ประมาทครู พบรอยก้มดู เจอครูกราบไหว้ " อิมะมะมามา อิมะมะมามา อิมะมะมามา อิมะมะมามา อิมะมะมามา อิมะมะมามา อิมะมะมามา ผู้เขียน : ClubMahaAud(73) * วาจาสิทธิ์ของหลวงปู่หมุน ที่ได้กล่าวไว้ก่อนละสังขาร ซึ่งลูกศิษย์และชาวบ้านต่างจดจำได้ติดหู คือ " ของๆฉันสร้างเองกับมือ ใครมีไว้บูชาจะ หมุนโชคหมุนลาภ ทำมาค้าขึ้น ไม่มีวันจน ประกอบสัมมาอาชีพใดก็รุ่งเรือง เจริญลาภยศสรรเสริญ จะมีชื่อเสียงหอมขจรขจาย ขอให้เป็นคนดี คิดดี ทำดี ละเว้นชั่ว คุณพระจะรักษา เทวดาจะคุ้มครอง แม้นว่าฉันจะตายไป ของๆ ฉันจะขลังกว่านี้อีกหลายๆเท่า น้ำลาย ไอปาก ลมปราณที่ประจุลงไป ด้วยพลังจิตอันเข้มขลังของฉัน ย่อมเป็น หนึ่งบ่เป็นสอง ครบเครื่องเป็นองค์พระ ที่ดีทั้งนอก ดีทั้งใน ฝากไว้ในแผ่นดิน ให้เลื่องชื่อลือนาม ลือเรื่องถึงเมืองแมน " # หลวงปู่หมุน ท่านกำเนิดเมื่อ พศ.2437-2546 อายุยืนถึง 109 ปี พระเครื่องของท่านออกมา ช่วงบั้นปลายชีวิต ในปีพศ.2542-45 จึงดูเหมือนเป็นพระเครื่องใหม่ อายุพระไม่เกิน10ปี ความนิยมในท้องตลาดพระเครื่อง ยังมีไม่มา...

ประวัติหลวงพ่อกุหลาบ พุทฺธโชติ หรือ หลวงพ่อกุหลาบ วัดบางเป้ง

ประวัติหลวงพ่อกุหลาบ พุทฺธโชติ หรือ หลวงพ่อกุหลาบ วัดบางเป้ง พระครูพรหมจริยาธิมุตต์ (หลวงพ่อกุหลาบ พุทฺธโชติ) หรือ หลวงพ่อหลาบ วัดบางเป้ง อดีตเจ้าอาวาสวัดบางเป้ง และอดีตเจ้าคณะอำเภอศรีราชา ท่านเป็นเกจิดังของตำบลแสนสุข อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี ท่านพัฒนาวัดบางเป้งจนมีความรุ่งเรือง ท่านเป็นพระที่มีเมตตาสูง ใครมาขอความช่วยเหลือจากท่านท่านก็ช่วยเหลือมิไม่ได้ขาด ท่านเป็นพระเกจิที่ชาวบางแสนให้ความเคารพอย่างมาก และท่านยังให้ความสำคัญของการศึกษาท่านได้สร้างโรงเรียนวัดบางเป้ง (กุหลาบราษฎร์อำนวยวิทย์) ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2509 เป็นต้น ประวัติและสถานะเดิม พระครูพรหมจริยาธิมุตต์ ท่านมีนามเดิมว่า " กุหลาบ " นามสกุล " อุ่นจิตร หรือ อุ่นจิตต์ (ไม่แน่ใจว่าเขียนแบบไหนครับ) " เกิดเมื่อวันอังคาร ขึ้น 9 ค่ำ เดือนยี่ ตรงกับวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2431 บิดาชื่อ นายช้อน มารดาชื่อ นางเจียก อุ่นจิตร ท่านเกิด ณ หมู่ที่ 1 บ้านตำบลแสนสุข อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี (บริเวณสถานีดับเพลิง ต.แสนสุข) ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดาจำนวน 5 คน หลวงพ่อกุหลาบเป็นบุตรคนสุดท้อง ดังนี้ พระอธิการอั...

ประวัติหลวงพ่อคล้าย จันทสุวัณโณ หรือ พ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์

ประวัติหลวงพ่อคล้าย จันทสุวัณโณ หรือ พ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์ พระครูพิศิษฐ์อรรถการ (คล้าย จนฺทสุวณฺโณ) หรือ หลวงพ่อคล้าย จนฺทสุวณฺโณ หรือ หลวงพ่อคล้าย วัดสวนขัน ( พ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์ ) อดีตเจ้าอาวาสวัดสวนขันและวัดพระธาตุน้อย เดิมชื่อ คล้าย สีนิล เกิดวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2417 ตรงกับวันอังคาร ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 ปีชวด จ.ศ.1238 ร.ศ.95 ที่บ้านโคกทือ ตำบลช้างกลาง กิ่งอำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นบุตรของนายอินทร์ นางเหนี่ยว สีนิล มีพี่สาว 1 คน ชื่อนางเพ็ง มรณภาพด้วยโรคหืด เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2513 รวมอายุได้ 96 ปี เมื่อบำเพ็ญกุศลครบ 100 วัน จึงได้บรรจุสรีระของท่านไว้ในโลงแก้ว ประดิษฐานอยู่ในองค์พระเจดีย์ในวัดพระธาตุน้อยจนถึงปัจจุบัน ลักษณะนิสัย เป็นคนมีมานะอดทน ขยันหมั่นเพียร อยู่ในโอวาทคำสั่งสอนของบิดามารดาและครูอาจารย์อย่างเคร่งครัด สุภาพ เรียบร้อย ว่านอนสอนง่าย นิสัยอ่อนโยนละมุนละไม จึงเป็นที่รักของบิดามารดา ครูอาจารย์และญาติมิตรเป็นอันมาก เมื่ออายุ 15 ปี ประสบอุบัติเหตุในการถางป่าทำไร่กระดูกปลายเท้า สามนิ้วแตกละเอียด รักษาไม่หาย ด้วยกำลังใจที่เด็ดเดี่ยว พ...

ประวัติ หลวงพ่อก้าน ภทฺทโก วัดห้วยใหญ่

พระครูภัทรกิจวิบูล (ก้าน ภทฺทโก) พระครูภัทรกิจวิบูล (หลวงพ่อก้าน ภทฺทโก) หรือ อาจารย์ก้าน หรือ หลวงพ่อก้าน วัดห้วยใหญ่ อดีตเจ้าอาวาสวัดห้วยใหญ่ เกจิดังของตำบลห้วยใหญ่ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี สังขารท่านไม่เน่าเปลื่อยอยู่ในโรงแก้วจนถึงทุกวันนี้ หลวงพ่อก้านท่านพัฒนาวัดห้วยใหญ่จนรุ่นเรือง และช่วยสร้างอื่นๆ เช่นวัดนาจอมเทียน , วัดทุ่งระหาร และวัดชากแง้ว ท่านเป็นผู้ริเริ่มสร้างถนนนาจอมเทียนไปถึงถนนบ้านบึงเป็นระยะทาง 8 กิโลเมตร ท่านเป็นพระนักปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ และพระนักพัฒนาที่น่ายกยอง ประวัติ หลวงพ่อก้าน มีเดิมว่า " ก้าน " นามสกุล " เจริญคลัง " ท่านเป็นคนจังหวัดชลบุรี เกิดที่บ้านหมู่ที่ 5 ตำบลห้วยใหญ่ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2462 ตรงกับวันพฤหัสบดี แรม 13 ค่ำ ปีมะแม โยมบิดาชื่อ เส็ง เกิดที่เมืองจีน โยมแม่ชื่อ นิด นามสกุล เจริญคลัง ครอบครัวมีอาชีพทำนา ชีวิตในวัยเยาว์นั้นท่านเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ชอบไปใส่บาตรพระกับผู้ใหญ่เสมอๆ บรรพชา เมื่ออายุได้ 14 ปี ท่านจึงได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดห้วยใหญ่ ตำบลห้วยใหญ่ อำเภอบางละมุง จั...

เหรียญเจริญพร ครึ่งองค์ หลวงพ่อทอง สุทฺธสีโล รุ่น เจริญพรสังฆาฏิ (เจริญพรกลาง) ออกวัดแจ้งนอก จังหวัดนครราชสีมา ปี 2565

เหรียญเจริญพร ครึ่งองค์ หลวงพ่อทอง สุทฺธสีโล รุ่น เจริญพรสังฆาฏิ (เจริญพรกลาง) ออกวัดแจ้งนอก จังหวัดนครราชสีมา ปี 2565 เหรียญครึ่งองค์ หลวงพ่อทอง สุทฺธสีโล รุ่น เจริญพรสังฆาฏิ (เจริญพรกลาง) ออกวัดแจ้งนอก จ.นครราชสีมา ปี ๒๕๖๕ เนื้อ 3k (ทอง นาค เงิน) 👑 ราคา 399 บาท 👑 ฟรีค่าจัดส่ง ฟรีเก็บปลายทาง รับประกันพระแท้ตามหลักสากล https://www.facebook.com/profile.php?id=100034989801203

ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่ชาลี ถิรธัมโม วัดป่าภูก้อน จังหวัดอุดรธานี

ประวัติและปฏิปทา พระครูจิตตภาวนาญาณ (หลวงตาชาลี ถิรธมฺโม) วัดป่าภูก้อน ตำบลบ้านก้อง อำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี “พระครูจิตตภาวนาญาณ” หรือ “หลวงตาชาลี ถิรธมฺโม” มีนามเดิมว่า ชาลี นามสกุล บุตรน้อย เกิดเมื่อวันที่ ๒๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๘๘ ตรงกับวันเสาร์ ขึ้น ๑ ค่ำ เดือนแปด ปีระกา ณ บ้านเจริญศิลป์ ตำบลเจริญศิลป์ อำเภอเจริญศิลป์ จังหวัดสกลนคร โยมบิดาชื่อ นายคำ บุตรน้อย โยมมารดาชื่อ นางกัน บุตรน้อย มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันทั้งหมด ๖ คน ท่านเป็นบุตรคนที่ ๔ ปี พ.ศ. ๒๕๐๗ อายุ ๑๙ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดศิริราษฎร์วัฒนา บ้านเจริญศิลป์ ตำบลเจริญศิลป์ อำเภอเจริญศิลป์ จังหวัดสกลนคร โดยมี พระครูอดุลสังฆกิจ เป็นพระอุปัชฌาย์ ปี พ.ศ. ๒๕๐๘ อายุ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดศิริราษฎร์วัฒนา จังหวัดสกลนคร โดยมี พระอาจารย์คำมี สุวัณณสิริ เป็นพระอุปัชฌาย์ หลังจากอุปสมบทแล้ว ได้จำพรรษาที่วัดศิริราษฎร์วัฒนา จ.สกลนคร ๑ พรรษา แล้วเดินธุดงค์ไปจังหวัดเลย ได้จำพรรษาอยู่กับหลวงปู่ชอบ ฐานสโม ๑ พรรษา แล้วเดินธุดงค์ต่อไปทางภาคเหนือ, จังหวัดหนองคาย, จังหวัดอุดรธานี แล...

ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่เหมือน อินฺทโชโต วัดกำแพง จังหวัดชลบุรี

ประวัติและปฏิปทา พระครูอุดมวิชชากร (หลวงปู่เหมือน อินฺทโชโต) วัดกำแพง ตำบลมะขามหย่ง อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี พระครูอุดมวิชชากร (หลวงปู่เหมือน อินฺทโชโต) อดีตเจ้าอาวาสวัดกำแพง และอดีตเจ้าคณะตำบลบางปลาสร้างเขต 2 หลวงปู่เหมือน ท่านเป็นเกจิดังของวัดกำแพง ตำบลมะขามหย่ง อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี ท่านพัฒนาวัดกำแพงจนมีความรุ่งเรืองในหลายๆ ด้าน และยังเป็นผู้อุปการะ องค์อุปการะยุวพุทธิกสมาคมชลบุรี ในพระสังฆราชูปถัมภ์ , อุปการะโรงเรียนเทศบาลวัดกำแพง (อุดมพิทยากร) และองค์อุปการะมูลนิธิพระครูอุดมวิชชากร อีกด้วย วัตถุมงคลของท่านได้ความนิยมอย่างมากโดยเฉพาะปิดตา และเหรีญรุ่นแรก พระครูอุดมวิชชากร ท่านมีนามเดิมว่า " เหมือน " นามสกุล " ถาวรวัฒนะ " เกิดเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2436 ปีมะเส็ง ณ บ้าน ตำบลมะขามหย่ง อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 โยมบิดาชื่อ ตึ๋ง โยมมารดาชื่อ ปุ่น ถาวรวัฒนะ (มารดาเป็นน้องสาวของหลวงพ่อเจียม อดีตเจ้าอาวาสวัดกำแพง) บรรพชา หลวงปู่เหมือน ท่านบรรพชาเป็นสามเณร แล้วจึงอุปสมบทต่อ อุปสมบท หลวงปู่เหมือน อายุได้ 20...