ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่สาม อกิญจโน วัดป่าไตรวิเวก จังหวัดสุรินทร์

ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่สาม อกิญจโน

หลวงปู่สาม อกิญฺจโน อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าไตรวิเวก ตำบลนาบัว อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ พระป่าปฏิบัติศิษย์สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต, หลวงปู่ดูลย์ อตุโล และหลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม หลวงปู่สาม มีนามเดิมว่า สาม เกษแก้วสี เกิดเมื่อวันอาทิตย์ เดือน 10 ตรงกับเดือนกันยายน พ.ศ. 2443 ณ บ้านนาสาม ต.นาบัว อ.เมือง จ.สุรินทร์ โยมบิดา-โยมมารดาชื่อ นายปวม และนางถึง เกษแก้วสี มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันทั้งหมด 11 คน ท่านเป็นบุตรคนโต (หัวปี)

การบรรพชาและอุปสมบท

ชีวิตในวัยเด็กนั้นสุดแสนยากลำบาก เพราะท่านต้องทำงานทุกอย่าง ลักษณะคล้ายผู้หญิงด้วยว่า น้องๆ ของท่านเป็นผู้ชายเสียหมด ไม่มีผู้หญิงเลย เมื่ออายุ 19 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร สายมหานิกาย ณ วัดบ้านนาสาม อันเป็นวัดใกล้บ้านเกิดของท่าน จนกระทั่งอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ โดยมีพระครูวิมลศีลพรต เป็นพระอุปัชฌาย์



พระป่าศิษย์สาย “หลวงปู่มั่น”

ภายหลังอุปสมบท ท่านได้มุ่งมั่นศึกษาพระธรรมวินัย ต่อมาใน พ.ศ. 2467 เมื่อทราบข่าวและกิตติศัพท์ของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล ว่าได้กลับจากธุดงค์และจำพรรษาที่วัดป่าหนองเสม็ด ต.เฉนียง อ.เมือง จ.สุรินทร์ จึงได้ไปกราบขอฝากตัวเป็นศิษย์เพื่อฝึกวิปัสสนากัมมัฏฐาน หลวงปู่ดูลย์ เห็นถึงความตั้งใจและความพากเพียรที่จะเอาดีทางด้านประพฤติปฏิบัติของศิษย์ จึงแนะนำให้ไปศึกษาธรรมกับหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ซึ่งขณะนั้นอยู่ที่จังหวัดสกลนคร

ท่านจึงกราบลาออกเดินธุดงค์รอนแรมไปท่ามกลางป่าเขาเป็นเวลาหลายเดือน กว่าจะได้เข้านมัสการหลวงปู่มั่น แล้วท่านก็ได้พักปฏิบัติธรรมอยู่กับหลวงปู่มั่น 3 เดือน ภายหลังจากสามเดือนผ่านไป หลวงปู่มั่นได้แนะนำให้หลวงปู่สาม ไปพบกับหลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม เพื่อเป็นพระผู้ฝึกฝนอบรมสั่งสอนต่อไป

ในปีที่มาอยู่ปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่สิงห์นั้น ท่านได้ทุ่มเทชีวิตจิตใจอยู่กับการปฏิบัติจนต้องล้มป่วยอย่างหนักเกือบเสีย ชีวิต แต่ด้วยจิตใจเข้มแข็งแรงกล้าในธรรมะของพระศาสดา พร้อมกับได้เห็นความจริงที่เกิดขึ้นภายในใจ ท่านไม่ยอมละลดต่อสู้กับโรคภัยนั้น ชนิดผอมหนังหุ้มกระดูก ต้องอาศัยกำลังใจ และไม้เท้ายันตัวเดิน ท่านเคยเล่าไว้ตอนหนึ่งว่า “เรานักต่อสู้ลูกพระพุทธเจ้า ถ้ามันยังไม่ตายยังหายใจอยู่ แม้ขาเดินไม่ได้เอาไม้เท่าเดินก็ต้องยอมตายกับความดีงามนะพวกเธอ” ครั้นได้พบหลวงปู่มั่นและหลวงปู่สิงห์ และหลวงปู่ทั้งสองได้รับตัวท่านไว้เป็นศิษย์ ให้การอบรมสั่งสอนแล้ว ท่านจึงกราบลาไปจำพรรษาที่จังหวัดสุรินทร์

ออกเดินธุดงค์เพื่อมุ่งปฏิบัติภาวนา

หลวงปู่สาม เป็นพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ท่านไม่ค่อยยอมอยู่กับที่ จะอยู่ก็เพียงเข้าพรรษา หรือขออุบายธรรมจากครูบาอาจารย์ชั่วครู่ชั่วคราวเท่านั้น ท่านก็จะเดินธุดงค์ต่อไปตั้งแต่เหนือจดใต้จากภาคกลางจดภาคตะวันออก ภาคอีสานทั้งหมด ท่านเป็นพระนักธุดงค์กรรมฐานที่มีความมานะอดทนเป็นพิเศษ

ท่านถือคติที่ว่า “ท่านเป็นศิษย์ของพระตถาคต แม้ยังมีลมหายใจอยู่ ก็ต้องสู้กันให้ถึงที่สุด” หลวงปู่สิงห์ได้ชี้แนะให้ท่านไปธุดงค์ฝึกจิตกัมมัฏฐาน เทศนาสั่งสอนญาติโยม ร่วมกับพระอาจารย์ลี ธัมมธโร ในพื้นที่ จ.อุบลราชธานี เมื่อถึงช่วงออกพรรษา หลวงปู่สาม จะเสาะหาสถานที่วิเวกตามป่าเขา เพื่อประกอบความเพียร เมื่อเดินทางกลับทุกครั้ง หลวงปู่สามจะไปพบหลวงปู่ดูลย์ ที่วัดบูรพาราม จ.สุรินทร์ เพื่อช่วยบูรณะสร้างอุโบสถ และได้ไปธุดงค์ในภาคตะวันออก เช่น จันทบุรี ระยอง เป็นต้น ตั้งแต่สมัยเป็นพระภิกษุหนุ่มจนเข้าสู่วัยชรา ท่านได้ต่อสู้ชีวิตทุ่มเทกับการปฏิบัติมาอย่างโชกโชน ท่านเพ่งเพียรภาวนาอยู่เป็นนิจ ครั้นมาปรารภกับตนเองว่า “บัดนี้กำลังกายของเราก็อ่อนแอลงไปมากแล้ว น่าจะกลับมาอยู่ถิ่นเดิม คือในจังหวัดสุรินทร์ นอกจากนี้แล้วก็ยังจะได้อยู่ใกล้ครูบาอาจารย์ คือหลวงปู่ดูลย์ อีกทั้งมารดาของท่านก็ได้ชราภาพมากแล้ว เป็นโอกาสอันดีที่จะได้นำธรรมะที่ท่านได้รับมาทั้งหมดเผยแผ่แก่บรรดาสาธุชน ต่อไปอีกด้วย” หลวงปู่สาม จึงได้เดินทางกลับจังหวัดสุรินทร์ตั้งแต่บัดนั้น

ท่านเคยเล่าเหตุการณ์ของพระธุดงค์สมัยก่อนนั้นว่า “สมัยโน้นพระธุดงค์ก็ลำบาก ชาวบ้านก็ลำบาก เพราะไม่เจริญอย่างปัจจุบันนี้นะ แต่มีความเพียรแรงกล้า มุ่งอรรถมุ่งธรรมกันจริงๆ มาสมัยนี้หละหลวมไม่เอาดีเลย สอนแล้วก็ลืม…ลืมปฏิบัติกัน !” ต่อมา พระอาจารย์ลี ธัมมธโร แจ้งให้ทราบว่า หลวงปู่มั่นจำพรรษาที่จังหวัดสกลนคร จึงพากันเดินทางไปขอคำปรึกษาข้อปฏิบัติธรรมที่ติดขัด หลวงปู่มั่นแนะให้ไปฝึกกับหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ที่วัดหินหมากเป้ง ต.พระพุทธบาท อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย เมื่อทราบว่า หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ได้ถึงแก่มรณภาพลงที่จังหวัดสกลนคร หลวงปู่เทสก์, หลวงปู่ดูลย์, หลวงปู่แหวน, หลวงปู่ฝั้น, หลวงปู่สาม, พระอาจารย์ลี, พระอาจารย์อ่อน, พระอาจารย์วัน และพระอาจารย์จวน ไปร่วมจัดงานบุญให้หลวงปู่มั่น

ปฏิปทา

“ปฏิปทาของหลวงปู่สาม อกิญฺจโน นั้น สาธุชนที่เคยเดินทางไปกราบนมัสการคงจะตระหนักดีว่า มีความคล้ายคลึงกับหลวงปู่ดูลย์ อตุโล มากทีเดียว ท่านมากไปด้วยขันติ โสรัจจะ อดทน สงบเงียบ เยือกเย็น ชีวิตเพศแห่งสมณะหลวงปู่ไม่เคยว่างเว้นในการเดินธุดงค์ไปตามป่าเขาและใน จังหวัดต่างๆ จิตของท่านเต็มไปด้วยเมตตา ไม่เคยขัดศรัทธาคณะศรัทธาญาติโยมใครๆ เลย”

มรณภาพ

หลวงปู่สาม อกิญฺจโน ท่านเป็นพระนักปฏิบัติที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัย บ่อยครั้งเกิดอาการอาพาธ ต้องเข้า-ออกรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล จนกระทั่งวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 หลวงปู่สามได้มรณภาพลงอย่างสงบ สิริอายุรวม 91 พรรษา 71 ท่ามกลางความเศร้าสลดของคณะศิษยานุศิษย์และพุทธศาสนิกชนทั่วไปเป็นยิ่งนัก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ความคิดเห็น

เนื้อหาที่ได้รับความนิยมในรอบ 1 เดือน :

ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่หลอด ปโมทิโต วัดสิริกมลาวาส (วัดใหม่เสนา) กรุงเทพมหานคร

ประวัติและปฏิปทา พระครูปราโมทย์ธรรมธารา (หลวงปู่หลอด ปโมทิโต) วัดใหม่เสนานิคม (วัดสิริกมลาวาส หรือ วัดใหม่เสนา) แขวงลาดพร้าว เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร พระครูปราโมทย์ธรรมธารา (หลวงปู่หลอด ปโมทิโต) เป็นพระเถราจารย์ผู้มีจริยวัตรงดงามทั้งกายและใจ ท่านมักจะสอนลูกศิษย์เสมอๆ ว่า "ในหมู่คนดี ย่อมมีคนไม่ดีปะปนอยู่ด้วยเป็นของธรรมดา จึงไม่ควรใส่ใจ คนไหนดีเราก็สรรเสริญ คนไหนไม่ดี เราก็ออกห่าง ไม่ยกย่อง จงรักคนทุกคน ไว้ใจบางคน อย่าทำผิดต่อทุกคน และจงดูตนเสมอ" อีกคำสอนหนึ่ง คือ "เกิดเป็นคน จะสอนคน ต้องสอนตนก่อน เมื่อถูกสอน อย่าทำค้อน คำสอนเขา จะดีคน หรือคนดี จงติเรา จะโกรธเขา หรือเขาโกรธ ดูโทษตัว" ปัจจุบันหลวงปู่หลอด อายุ ๙๑ ปี พรรษา ๖๙ ตามประวัติของหลวงปู่ ชื่อเดิม "หลอด ขุริมน" เกิดเมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๔๕๘ ณ บ้านขาม ต.หัวนา อ.หนองบัวลำภู จ.อุดรธานี (ปัจจุบันคือ ต.บ้านขาม อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู) บิดาชื่อ "บัวลา" มารดาชื่อ "แหล้" หรือ "แร่" หลวงปู่เป็นบุตรคนสุดท้อง จากพี่น้อง ๓ คน คือ นางเกิ่ง (ถึงแก่กรรม) นางประสงค์ (ถึงแก่กรรม...

ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่คำน้อย จิตฺตคุตฺโต วัดถ้ำภูกำพร้า (วัดภูกำพร้า) จังหวัดมุกดาหาร

ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่คำน้อย จิตฺตคุตฺโต วัดภูกำพร้า อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร เกิด ไม่ทราบ มรณภาพ พ.ศ.2548 อายุ ไม่ทราบ (ว่ากันว่า 200 กว่าปี) พรรษา ไม่ทราบ สำหรับหลวงปู่คำน้อย ว่ากันว่าท่านมีถึงอายุ 238 ปี ท่านพำนักอยู่ วัดถ้ำภูกำพร้า อ.ดงหลวง จ.มุกดาหาร ตั้งแต่ท่าน อายุได้ 100 กว่าปี ท่านก็สามารถนั่งสมาธิถอดจิต ไปเที่ยว สวรรค์ - นรก และ บางคนเชื่อว่าท่านคือเณรคำผู้มีฤทธิ์จากภูเขาควายเมืองลาว ท่านเป็นพระใจดี สำหรับอายุของท่านเท่าที่ถามจากคนเฒ่าคนแก่ในละแวกนั้น เขาก็ว่าเกิดมาก็เห็นหลวงปู่แล้วจนเขามีอายุถึงแปดสิบเก้าสิบ หลวงปู่คำน้อยก็ยังคงอยู่ในสภาพเดิมไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง และเมื่อสอบถามจากหลวงปู่คำน้อยก็ได้คำตอบเหมือนที่ใครๆได้รับรู้จากวาจา ท่านเองคือเปลี่ยนฟันมาสองรอบแล้ว รอบละ 120 ปี เลยอนุมานเอาว่าช่วงนั้นหลวงปู่น่าจะอายุประมาณ 200 กว่า ปี อายุใกล้เคียงกับกรุงเทพมหานคร ก็เลยสันนิษฐานเอาว่าหลวงปู่น่าจะเกิดในสมัยรัชกาลที่ 1 ครับ ปัจจุบันท่านมรณภาพไปแล้วครับ ประมาณปี 2548

ประวัติหลวงปู่หมุน ฐิตสีโล วัดบ้านจาน อมตะเถระ ๕ แผ่นดิน อายุ ๑๐๙ ปี

หลวงปู่หมุน ฐิตสีโล " ตัวกูลูกพระพุทธองค์ ครูสิทธิ์ ครูธงค์ องอาจไม่ประมาทครู พบรอยก้มดู เจอครูกราบไหว้ " อิมะมะมามา อิมะมะมามา อิมะมะมามา อิมะมะมามา อิมะมะมามา อิมะมะมามา อิมะมะมามา ผู้เขียน : ClubMahaAud(73) * วาจาสิทธิ์ของหลวงปู่หมุน ที่ได้กล่าวไว้ก่อนละสังขาร ซึ่งลูกศิษย์และชาวบ้านต่างจดจำได้ติดหู คือ " ของๆฉันสร้างเองกับมือ ใครมีไว้บูชาจะ หมุนโชคหมุนลาภ ทำมาค้าขึ้น ไม่มีวันจน ประกอบสัมมาอาชีพใดก็รุ่งเรือง เจริญลาภยศสรรเสริญ จะมีชื่อเสียงหอมขจรขจาย ขอให้เป็นคนดี คิดดี ทำดี ละเว้นชั่ว คุณพระจะรักษา เทวดาจะคุ้มครอง แม้นว่าฉันจะตายไป ของๆ ฉันจะขลังกว่านี้อีกหลายๆเท่า น้ำลาย ไอปาก ลมปราณที่ประจุลงไป ด้วยพลังจิตอันเข้มขลังของฉัน ย่อมเป็น หนึ่งบ่เป็นสอง ครบเครื่องเป็นองค์พระ ที่ดีทั้งนอก ดีทั้งใน ฝากไว้ในแผ่นดิน ให้เลื่องชื่อลือนาม ลือเรื่องถึงเมืองแมน " # หลวงปู่หมุน ท่านกำเนิดเมื่อ พศ.2437-2546 อายุยืนถึง 109 ปี พระเครื่องของท่านออกมา ช่วงบั้นปลายชีวิต ในปีพศ.2542-45 จึงดูเหมือนเป็นพระเครื่องใหม่ อายุพระไม่เกิน10ปี ความนิยมในท้องตลาดพระเครื่อง ยังมีไม่มา...

ประวัติหลวงพ่อกุหลาบ พุทฺธโชติ หรือ หลวงพ่อกุหลาบ วัดบางเป้ง

ประวัติหลวงพ่อกุหลาบ พุทฺธโชติ หรือ หลวงพ่อกุหลาบ วัดบางเป้ง พระครูพรหมจริยาธิมุตต์ (หลวงพ่อกุหลาบ พุทฺธโชติ) หรือ หลวงพ่อหลาบ วัดบางเป้ง อดีตเจ้าอาวาสวัดบางเป้ง และอดีตเจ้าคณะอำเภอศรีราชา ท่านเป็นเกจิดังของตำบลแสนสุข อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี ท่านพัฒนาวัดบางเป้งจนมีความรุ่งเรือง ท่านเป็นพระที่มีเมตตาสูง ใครมาขอความช่วยเหลือจากท่านท่านก็ช่วยเหลือมิไม่ได้ขาด ท่านเป็นพระเกจิที่ชาวบางแสนให้ความเคารพอย่างมาก และท่านยังให้ความสำคัญของการศึกษาท่านได้สร้างโรงเรียนวัดบางเป้ง (กุหลาบราษฎร์อำนวยวิทย์) ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2509 เป็นต้น ประวัติและสถานะเดิม พระครูพรหมจริยาธิมุตต์ ท่านมีนามเดิมว่า " กุหลาบ " นามสกุล " อุ่นจิตร หรือ อุ่นจิตต์ (ไม่แน่ใจว่าเขียนแบบไหนครับ) " เกิดเมื่อวันอังคาร ขึ้น 9 ค่ำ เดือนยี่ ตรงกับวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2431 บิดาชื่อ นายช้อน มารดาชื่อ นางเจียก อุ่นจิตร ท่านเกิด ณ หมู่ที่ 1 บ้านตำบลแสนสุข อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี (บริเวณสถานีดับเพลิง ต.แสนสุข) ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดาจำนวน 5 คน หลวงพ่อกุหลาบเป็นบุตรคนสุดท้อง ดังนี้ พระอธิการอั...

ประวัติหลวงพ่อคล้าย จันทสุวัณโณ หรือ พ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์

ประวัติหลวงพ่อคล้าย จันทสุวัณโณ หรือ พ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์ พระครูพิศิษฐ์อรรถการ (คล้าย จนฺทสุวณฺโณ) หรือ หลวงพ่อคล้าย จนฺทสุวณฺโณ หรือ หลวงพ่อคล้าย วัดสวนขัน ( พ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์ ) อดีตเจ้าอาวาสวัดสวนขันและวัดพระธาตุน้อย เดิมชื่อ คล้าย สีนิล เกิดวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2417 ตรงกับวันอังคาร ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 ปีชวด จ.ศ.1238 ร.ศ.95 ที่บ้านโคกทือ ตำบลช้างกลาง กิ่งอำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นบุตรของนายอินทร์ นางเหนี่ยว สีนิล มีพี่สาว 1 คน ชื่อนางเพ็ง มรณภาพด้วยโรคหืด เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2513 รวมอายุได้ 96 ปี เมื่อบำเพ็ญกุศลครบ 100 วัน จึงได้บรรจุสรีระของท่านไว้ในโลงแก้ว ประดิษฐานอยู่ในองค์พระเจดีย์ในวัดพระธาตุน้อยจนถึงปัจจุบัน ลักษณะนิสัย เป็นคนมีมานะอดทน ขยันหมั่นเพียร อยู่ในโอวาทคำสั่งสอนของบิดามารดาและครูอาจารย์อย่างเคร่งครัด สุภาพ เรียบร้อย ว่านอนสอนง่าย นิสัยอ่อนโยนละมุนละไม จึงเป็นที่รักของบิดามารดา ครูอาจารย์และญาติมิตรเป็นอันมาก เมื่ออายุ 15 ปี ประสบอุบัติเหตุในการถางป่าทำไร่กระดูกปลายเท้า สามนิ้วแตกละเอียด รักษาไม่หาย ด้วยกำลังใจที่เด็ดเดี่ยว พ...

ประวัติ หลวงพ่อก้าน ภทฺทโก วัดห้วยใหญ่

พระครูภัทรกิจวิบูล (ก้าน ภทฺทโก) พระครูภัทรกิจวิบูล (หลวงพ่อก้าน ภทฺทโก) หรือ อาจารย์ก้าน หรือ หลวงพ่อก้าน วัดห้วยใหญ่ อดีตเจ้าอาวาสวัดห้วยใหญ่ เกจิดังของตำบลห้วยใหญ่ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี สังขารท่านไม่เน่าเปลื่อยอยู่ในโรงแก้วจนถึงทุกวันนี้ หลวงพ่อก้านท่านพัฒนาวัดห้วยใหญ่จนรุ่นเรือง และช่วยสร้างอื่นๆ เช่นวัดนาจอมเทียน , วัดทุ่งระหาร และวัดชากแง้ว ท่านเป็นผู้ริเริ่มสร้างถนนนาจอมเทียนไปถึงถนนบ้านบึงเป็นระยะทาง 8 กิโลเมตร ท่านเป็นพระนักปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ และพระนักพัฒนาที่น่ายกยอง ประวัติ หลวงพ่อก้าน มีเดิมว่า " ก้าน " นามสกุล " เจริญคลัง " ท่านเป็นคนจังหวัดชลบุรี เกิดที่บ้านหมู่ที่ 5 ตำบลห้วยใหญ่ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2462 ตรงกับวันพฤหัสบดี แรม 13 ค่ำ ปีมะแม โยมบิดาชื่อ เส็ง เกิดที่เมืองจีน โยมแม่ชื่อ นิด นามสกุล เจริญคลัง ครอบครัวมีอาชีพทำนา ชีวิตในวัยเยาว์นั้นท่านเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ชอบไปใส่บาตรพระกับผู้ใหญ่เสมอๆ บรรพชา เมื่ออายุได้ 14 ปี ท่านจึงได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดห้วยใหญ่ ตำบลห้วยใหญ่ อำเภอบางละมุง จั...

เหรียญเจริญพร ครึ่งองค์ หลวงพ่อทอง สุทฺธสีโล รุ่น เจริญพรสังฆาฏิ (เจริญพรกลาง) ออกวัดแจ้งนอก จังหวัดนครราชสีมา ปี 2565

เหรียญเจริญพร ครึ่งองค์ หลวงพ่อทอง สุทฺธสีโล รุ่น เจริญพรสังฆาฏิ (เจริญพรกลาง) ออกวัดแจ้งนอก จังหวัดนครราชสีมา ปี 2565 เหรียญครึ่งองค์ หลวงพ่อทอง สุทฺธสีโล รุ่น เจริญพรสังฆาฏิ (เจริญพรกลาง) ออกวัดแจ้งนอก จ.นครราชสีมา ปี ๒๕๖๕ เนื้อ 3k (ทอง นาค เงิน) 👑 ราคา 399 บาท 👑 ฟรีค่าจัดส่ง ฟรีเก็บปลายทาง รับประกันพระแท้ตามหลักสากล https://www.facebook.com/profile.php?id=100034989801203

ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่ชาลี ถิรธัมโม วัดป่าภูก้อน จังหวัดอุดรธานี

ประวัติและปฏิปทา พระครูจิตตภาวนาญาณ (หลวงตาชาลี ถิรธมฺโม) วัดป่าภูก้อน ตำบลบ้านก้อง อำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี “พระครูจิตตภาวนาญาณ” หรือ “หลวงตาชาลี ถิรธมฺโม” มีนามเดิมว่า ชาลี นามสกุล บุตรน้อย เกิดเมื่อวันที่ ๒๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๘๘ ตรงกับวันเสาร์ ขึ้น ๑ ค่ำ เดือนแปด ปีระกา ณ บ้านเจริญศิลป์ ตำบลเจริญศิลป์ อำเภอเจริญศิลป์ จังหวัดสกลนคร โยมบิดาชื่อ นายคำ บุตรน้อย โยมมารดาชื่อ นางกัน บุตรน้อย มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันทั้งหมด ๖ คน ท่านเป็นบุตรคนที่ ๔ ปี พ.ศ. ๒๕๐๗ อายุ ๑๙ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดศิริราษฎร์วัฒนา บ้านเจริญศิลป์ ตำบลเจริญศิลป์ อำเภอเจริญศิลป์ จังหวัดสกลนคร โดยมี พระครูอดุลสังฆกิจ เป็นพระอุปัชฌาย์ ปี พ.ศ. ๒๕๐๘ อายุ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดศิริราษฎร์วัฒนา จังหวัดสกลนคร โดยมี พระอาจารย์คำมี สุวัณณสิริ เป็นพระอุปัชฌาย์ หลังจากอุปสมบทแล้ว ได้จำพรรษาที่วัดศิริราษฎร์วัฒนา จ.สกลนคร ๑ พรรษา แล้วเดินธุดงค์ไปจังหวัดเลย ได้จำพรรษาอยู่กับหลวงปู่ชอบ ฐานสโม ๑ พรรษา แล้วเดินธุดงค์ต่อไปทางภาคเหนือ, จังหวัดหนองคาย, จังหวัดอุดรธานี แล...

ประวัติและปฏิปทา หลวงพ่ออินทร์ถวาย สันตุสสโก วัดป่านาคำน้อย จังหวัดอุดรธานี

ประวัติและปฏิปทา พระอาจารย์อินทร์ถวาย สนฺตุสฺสโก (หลวงพ่ออินทร์ถวาย สันตุสสโก) วัดป่านาคำน้อย (วัดอุดมมงคลวนาราม) บ้านนาคำน้อย ตำบลบ้านก้อง อำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี อัตโนประวัติ พระอาจารย์อินทร์ถวาย สันตุสสโก มีนามเดิมว่า อินทร์ถวาย ผิวขำ เกิดเมื่อวันที่ 27 เมษายน พุทธศักราช 2488 ตรงกับวันศุกร์ แรม 1 ค่ำ เดือน 5 ปีระกา ณ บ้านหนองแวง ตำบลหนองสูงใต้ อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร (จังหวัดนครพนม ในขณะนั้น) โยมบิดาชื่อ คุณพ่อแดง ผิวขำ โยมมารดาชื่อ คุณแม่จอมแก้ว ผิวขำ ท่านเป็นบุตรคนที่ 6 ในจำนวนพี่น้องทั้งหมด 7 คน ซึ่งเป็นหญิง 3 คน เป็นชาย 4 คน พระอาจารย์อินทร์ถวายได้เข้าพิธีบรรพชาเป็นสามเณร ขณะมีอายุ 11 ปี ณ วัดกลางสนาม ตำบลกลางสนาม อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร เมื่อปี พ.ศ. 2500 โดยมี หลวงปู่กงแก้ว ขันติโก เป็นพระอุปัชฌาย์ หลังจากบรรพชาแล้ว ได้ไปอยู่ศึกษาปฏิบัติธรรมกับ หลวงปู่หล้า เขมปัตโต ณ วัดบรรพตคีรี (วัดภูจ้อก้อ) ตำบลหนองตูมใต้ อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร เป็นระยะเวลาทั้งหมด 9 ปี ต่อมาท่านได้รับการญัตติเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมา วัดป่าศิลาวิเวก ตำบลป่าศิลาวิเวก อำเภอเมือง ...

ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่เหมือน อินฺทโชโต วัดกำแพง จังหวัดชลบุรี

ประวัติและปฏิปทา พระครูอุดมวิชชากร (หลวงปู่เหมือน อินฺทโชโต) วัดกำแพง ตำบลมะขามหย่ง อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี พระครูอุดมวิชชากร (หลวงปู่เหมือน อินฺทโชโต) อดีตเจ้าอาวาสวัดกำแพง และอดีตเจ้าคณะตำบลบางปลาสร้างเขต 2 หลวงปู่เหมือน ท่านเป็นเกจิดังของวัดกำแพง ตำบลมะขามหย่ง อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี ท่านพัฒนาวัดกำแพงจนมีความรุ่งเรืองในหลายๆ ด้าน และยังเป็นผู้อุปการะ องค์อุปการะยุวพุทธิกสมาคมชลบุรี ในพระสังฆราชูปถัมภ์ , อุปการะโรงเรียนเทศบาลวัดกำแพง (อุดมพิทยากร) และองค์อุปการะมูลนิธิพระครูอุดมวิชชากร อีกด้วย วัตถุมงคลของท่านได้ความนิยมอย่างมากโดยเฉพาะปิดตา และเหรีญรุ่นแรก พระครูอุดมวิชชากร ท่านมีนามเดิมว่า " เหมือน " นามสกุล " ถาวรวัฒนะ " เกิดเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2436 ปีมะเส็ง ณ บ้าน ตำบลมะขามหย่ง อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 โยมบิดาชื่อ ตึ๋ง โยมมารดาชื่อ ปุ่น ถาวรวัฒนะ (มารดาเป็นน้องสาวของหลวงพ่อเจียม อดีตเจ้าอาวาสวัดกำแพง) บรรพชา หลวงปู่เหมือน ท่านบรรพชาเป็นสามเณร แล้วจึงอุปสมบทต่อ อุปสมบท หลวงปู่เหมือน อายุได้ 20...