ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ประวัติหลวงปู่หมุน ฐิตสีโล วัดบ้านจาน อมตะเถระ ๕ แผ่นดิน อายุ ๑๐๙ ปี

หลวงปู่หมุน ฐิตสีโล

" ตัวกูลูกพระพุทธองค์ ครูสิทธิ์ ครูธงค์ องอาจไม่ประมาทครู พบรอยก้มดู เจอครูกราบไหว้ " อิมะมะมามา อิมะมะมามา อิมะมะมามา อิมะมะมามา อิมะมะมามา อิมะมะมามา อิมะมะมามา

ผู้เขียน : ClubMahaAud(73)

* วาจาสิทธิ์ของหลวงปู่หมุน ที่ได้กล่าวไว้ก่อนละสังขาร ซึ่งลูกศิษย์และชาวบ้านต่างจดจำได้ติดหู คือ " ของๆฉันสร้างเองกับมือ ใครมีไว้บูชาจะ หมุนโชคหมุนลาภ ทำมาค้าขึ้น ไม่มีวันจน ประกอบสัมมาอาชีพใดก็รุ่งเรือง เจริญลาภยศสรรเสริญ จะมีชื่อเสียงหอมขจรขจาย ขอให้เป็นคนดี คิดดี ทำดี ละเว้นชั่ว คุณพระจะรักษา เทวดาจะคุ้มครอง แม้นว่าฉันจะตายไป ของๆ ฉันจะขลังกว่านี้อีกหลายๆเท่า น้ำลาย ไอปาก ลมปราณที่ประจุลงไป ด้วยพลังจิตอันเข้มขลังของฉัน ย่อมเป็น หนึ่งบ่เป็นสอง ครบเครื่องเป็นองค์พระ ที่ดีทั้งนอก ดีทั้งใน ฝากไว้ในแผ่นดิน ให้เลื่องชื่อลือนาม ลือเรื่องถึงเมืองแมน "



# หลวงปู่หมุน ท่านกำเนิดเมื่อ พศ.2437-2546 อายุยืนถึง 109 ปี พระเครื่องของท่านออกมา ช่วงบั้นปลายชีวิต ในปีพศ.2542-45 จึงดูเหมือนเป็นพระเครื่องใหม่ อายุพระไม่เกิน10ปี ความนิยมในท้องตลาดพระเครื่อง ยังมีไม่มาก มีเฉพาะกลุ่มลูกศิษย์ที่เคารพศรัทธา แต่ก็มีแนวโน้มกลุ่มลูกศิษย์มากขึ้น จากปากต่อปากของผู้บูชาพระเครื่องหลวงปู่ ที่พบประสบการณ์เหนือธรรมชาติ

- สาเหตุที่ท่านอนุญาติให้สร้างพระเครื่อง ในช่วงบั้นปลายชีวิตนั้น เพราะยุคแรกๆนั้น ท่านใช้เวลาส่วนใหญ่ ในการออกธุดงค์ไปในป่าดงดิบ ละธุดงค์ไปแดนพุทธภูมิ ในต่างประเทศ หลายสิบๆปี จึงไม่ได้ทำวัตถุมงคลออกมาเพื่อให้ชาวบ้านบูชาไว้ยึดเหนี่ยวจิตใจ ให้เป็นคนดีมีศีล และรวมถึงหารายได้มาสร้างวัดซ่อมอุโบสถ บำรุงเสนาสนะให้ดำรงคงอยู่ สืบสานวัฒนธรรมประเพณี อันดีงามในแผ่นดินสยาม วัดวาอาราม เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวให้คนรุ่นเก่า ได้กระทำแต่ความดี ละความชั่ว และขัดเกาจิตใจคนรุ่นใหม่ ให้อ่อนโยน มีเมตตาธรรม สร้างสรรค์สังคม หลีกเลี่ยงพฤติกรรม สร้างเสื่อมสังคม.. หากไม่มีวัด ก็ไม่มีพระ หากไม่มีพระ คนรุ่นใหม่ก็ย้าย ศาสนาไปเป็นคริสต์จักรกันหมด แล้วพุทธศาสนาก็จางหายไปตามกาลเวลา.. หลวงปู่หมุน ท่านไม่ยึดติดลาภยศสมณศักดิ์ ท่านเป็นพระสงฆ์ สายพระป่าที่เคร่งกรรมฐานอย่างแท้จริง ท่านใดที่มองหา พุทธคุณทางด้านอิทธิปาฎิหาริย์, แคล้วคลาดอายุยืน, โชคลาภเสริมดวง และเมตตาบารมี ที่สามารถสัมผัสพุทธคุณในพระเครื่องได้ เติมเต็ม!ในสิ่งที่ท่านขาดหาย ประสบการณ์ใหม่ๆรอท่านอยู่..

คำอาราธนา บูชาหลวงปู่หมุน ฐิตสีโล

ท่องนะโม ๓ จบ แล้วภาวนาว่า

หลวงปู่หมุน ฐิตสีโล มะ อะ อุ
หลวงปู่หมุน ฐิตสีโล อุ อะ มะ

หลวงปู่หมุน ฐิตสีโล สกุลเดิม ศรีสงคราม เกิดเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 5 ปีชวด พ.ศ. 2437 ณ บ้านจาน อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ บิดาชื่อดี มารดาชื่ออั๊ว บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ 14 ปี ครอบครัวได้นำไปฝากกับพระอาจารย์สีดา เจ้าอาวาสวัดบ้านจานผู้เป็นพระที่เชี่ยวชาญด้านกัมมัฎฐานและมีวิชาอาคมที่ เก่งมาก กระทั่งปี พ.ศ. 2460 ทำการอุปสมบท โดยมีหลวงพ่อสีดา เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อเพ็ง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "ฐิตสีโล" แปลว่าผู้มีศีลตั้งมั่น

หลังจากบวชแล้วได้จำพรรษาที่วัดบ้านจาน ศึกษาเล่าเรียนอักษรไทย อักษรขอม ฝึกกัมมัฎฐานในหมวดสมถะและวิปัสสนากรรมฐานจากพระอุปัชฌาย์ ครูบาอาจารย์ต่างๆ ในแถบนั้นเป็นเวลา 4 ปีเต็ม จากนั้นท่านมีความคิดว่า จะต้องแสวงหาครูบาอาจารย์อื่นๆ เพื่อศึกษาคันถธุระและวิปัสสนาธุระในชั้นที่สูงๆ ขึ้นไปอีก จึงออกธุดงค์ไปตามที่ต่างๆ และร่ำเรียนวิชาอาคมกับพระเถระชื่อดังหลายรูป เกือบทั่วประเทศจนถึงประเทศลาว มาเลเซีย และ อินโดนีเซีย

ตลอดชีวิตแห่งการครองเพศบรรพชิต อุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ก็ได้อุทิศตน ปฏิบัติตนตามแนวทางแห่งคำสอนของพระศาสดาอันพึงจะกระทำ สมกับฉายานามอันได้รับเมื่อครั้งอุปสมทบคือ "ฐิตสีโล" แปลความว่า ผู้ตั้งมั่นในศีล 85 พรรษาแห่งการครองผ้ากาสาวพัตร ศึกษาเล่าเรียน พระธรรมวินัยออกจาริกธุดงค์

- หลวงปู่หมุน พระเถระ๕แผ่นดิน ประวัติปฎิปทา ท่านไม่ธรรมดาครับ ลูกศิษย์ผู้มีจิตศรัทธา มั่นใจได้ว่าพระเครื่องวัตถุมงคลของท่าน ไม่เป็นรองสำนักใด

* ข้อมูลล่าสุด วีดีโอที่หลวงปู่ให้สัมภาษณ์ใน "รายการเปิดบันทึกตำนาน" ทางช่อง5 เมื่อปี ๒๕๔๓ นอกจากสืบทอดสายวิชาสมเด็จลุน แล้วท่านยังสืบสานวิชาสายวัดช้างให้ และสายตำนานสงฆ์ ระดับเทพอย่างหลวงพ่อจาด

- ท่านฝากตัวเป็นศิษย์รับใช้ หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา ( จตุรสงฆ์ในตำนานสงครามอินโดจีน ในนาม จาด จง คง อี๋ )
- เป็นพระสหายธรรม อยู่ศึกษาแลกเปลี่ยนวิชาความรู้กับ หลวงปู่ทิม วัดช้างให้ 1ปีเศษๆ ดึงความรู้หลวงปู่ทิม จนหมดภูมิ

ประวัติปฎิปทา " หลวงปู่หมุน ฐิตสีโล " อมตะเถระ 5 แผ่นดิน แห่งวัดบ้านจาน

หลวง ปู่หมุน ฐิตสีโล เกิดในสกุล“ ศรีสงคราม”หรือ “ แก้วปักปิ่น” ถือกำเนิดเมื่อ วันพฤหัสบดี เดือน 5 ปีชวด พ.ศ. 2437 ณ บ้านจาน อ.กันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ บิดา ชื่อ " ดี "มารดาชื่อ " อั๊ว " มีอาชีพทำไร่ทำนา เป็นเด็กยากจน แต่มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด ต่อมาบิดามารดาเห็นแววทางด้านพระพุทธศาสนา จึงให้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ 14 ปี และนำไปฝากกับพระอาจารย์สีดาเจ้าอาวาสวัดบ้านจาน ซึ่งเป็นพระที่เชี่ยวชาญด้านกรรมฐานและมีวิชาอาคมที่เก่งมาก ในปี 2460 ขณะอายุได้ 23 ปีได้เข้าอุปสมบทหมู่จำนวน 9 รูป โดยหลวงปู่เป็นรูปที่ 9 โดยมีโยมลุงของท่านเป็นเจ้าภาพ โดยมีหลวงพ่อสีดา เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อเพ็งเป็นพระอนุสาวนาจารย์และหลวงพ่อผุยเป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับรับฉายาว่า " ฐิตสีโล " แปลว่า " ผู้มีศีลตั้งมั่น "จากนั้นได้ศึกษาวิชาความรู้จากครูบาอาจารย์ต่าง ๆ ในแถบนั้นเป็นเวลา 4 ปี ก่อนออกแสวงหาครูบาอาจารย์อื่นๆ เพื่อศึกษาคันธธุระและวิปัสสนาธุระในชั้นที่สูงๆ ขึ้นไป

ปี พ.ศ.2464 หลวงปู่หมุน เริ่มออกศึกษาแสวงหาประสบการณ์โดยได้ร่ำเรียนทั้งเวทย์วิทยา และสมถกรรมฐานจากครูบาอาจารย์หลายสำนัก การเดินทางในสมัยนั้นเป็นที่ลำบากยากเย็น ต้องเดินเท้าเปล่าผจญภัยจากผีป่า หรือสัตว์ร้ายนานัปการ แต่หลวงปู่มิได้ย่อท้อ ได้เดินทางไปศึกษาวิชาอาคมที่ สำนักตักศิลาแห่งบ้านจิกใหญ่ อ.พิบูลมังสาหาร จังหวัด อุบลราชธานี กระทั่งศึกษาคัมภีร์มหาพุทธาคม อันเป็นแม่บทของคัมภีร์ปถมัง คัมภีร์อิทธิเจ คัมภีร์มหาราช คัมภีร์ตรีนิสิงเห ซึ่งเป็นพื้นฐานแห่งอำนาจจิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งตำราพิชัยสงคราม เช่น คัมภีร์นิติประกาศิต คัมภีร์ธนูรเวทว่าด้วยการแต่งเครื่องครอบมนตร์ในสงคราม เป็นต้น

ในช่วงปี 2475-2482 เมื่อหลวงปู่สำเร็จการศึกษาวิชาการต่าง ๆ ก็เก็บบริขารออกธุดงค์ป่าผ่านถิ่นทุรกันดารในชนบทโดยเท้าเปล่ามายังกรุงเทพ ฯ ในระยะแรกหลวงปู่เข้าพักที่ วัดเทพธิดาราม เป็นการชั่วคราว โดยมีครูทองอินทร์ เป็นครูสอนของวัดเทพธิดาราม เป็นผู้เอื้อเฟื้อจัดหาที่พำนักให้ ท่านได้ให้หลวงปู่อยู่ที่วัดวัดอรุณราชวราราม พำนักอยู่กับพระพิมลธรรม(นาค) ศิษย์สายสมเด็จพระสังฆราชแพ โอกาสนี้หลวงปู่ได้ร่ำเรียนวิชาคัมภีร์มูลกัจจายน์สูตร ซึ่งเป็นหลักสูตรโบราณอันเก่าแก่ของคณะสงฆ์ไทยที่สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน เป็นตำราที่ละเอียดลึกซึ้ง แตกฉานพระบาลีว่าด้วยคัมภีร์อรรถกถายากยิ่งที่จะมีผู้เรียนได้สำเร็จ ปัจจุบันวิชานี้ได้ยกเลิกไปแล้ว

หลวงปู่หมุนได้เข้าสอบวิชามูลกัจจายน์ นั้น ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 6 ซึ่งการสอบในสมัยนั้นมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประธาน และสมเด็จพระสังฆราช(แพ) เป็นประธานกรรมการฝ่ายสงฆ์ และพระเถราจารย์เป็นผู้ทดสอบด้วย โดยมีการถามตอบแบบมุขปาฐะ (ปากเปล่า) ถ้าถามตอบบาลีผิดเกิน 3 คำ ให้ปรับเป็นตกทันที ด้วยความรู้ความสามารถที่แตกฉานในคัมภีร์หลวงปู่สามารถสอบได้เปรียญธรรมถึง 5 ประโยคในคราวเดียวเท่านั้น หลังจากนั้นหลวงปู่ได้ใช้วิชาความรู้อย่าง คุ้มค่า โดยได้เป็นครูสอนมูลกัจจายน์อยู่ที่วัดหงส์รัตนาราม(ฝั่งธนบุรี) เป็นเวลานานหลายปี มีลูกศิษย์มากมาย นอกจากนี้ในช่วงหนึ่งหลวงปู่มาพักกับสมเด็จพระสังฆราชแพ ที่วัดสุทัศน์ฯ และได้ศึกษาวิชาบางอย่างกับสมเด็จพระสังฆราชแพอีกด้วย

จากนั้นก็เก็บ บริขารเดินธุดงค์ติดตามพระอาจารย์ทองดี ที่มาจาก อ.บึงกาฬ จ.หนองคาย ธุดงค์ ไปทางภาคเหนือเข้าเขตพม่าเป็นเวลา 1 ปี จากนั้นก็เดินเท้าเปล่าลงภาคใต้ไปพำนักกับพระอาจารย์ทิม วัดช้างไห้ เพื่อปฎิบัติกรรมฐานและแลกเปลี่ยนวิชาอาถรรพณ์เวทมนต์กับพระอาจารย์ทิมอยู่ ประมาณปีกว่า ๆ ก่อนธุดงค์เข้าเขตประเทศมาเลเซีย เพื่อจะเรียนวิชากับพ่อท่านครน วัดบางแซะ ใช้เวลาธุดงค์อยู่ถึง 7 วัน แต่ไม่พบจึงตัดสินใจกลับวัดช้างให้ ต่อจากนั้นก็ได้เรียนวิชาจากพ่อท่านคล้ายวาจาสิทธิ์ วัดสวนขัน จ.นครศรีธรรมราช โดยได้ของที่ระลึกจากพ่อท่านคล้ายคือ ชานหมากเม็ดใหญ่เป็นที่ระลึก จากนั้นก็เดินธุดงค์เรื่อยมาจนกลับสู่เขตอีสานอีกครั้งและได้พบกับหลวงปู่สี ฉันทสิริ ในป่าแถบ จังหวัดหนองคาย และได้วิชาลบผงสีจากหลวงปู่สี ซึ่งได้รับสืบทอดมาจากสมเด็จพุฒาจารย์โต วัดระฆังโฆษิตาราม

ช่วงที่ท่าน ธุดงค์แถบอุบลราชธานีได้พบกับหลวงปู่มั่น และขอเรียนข้อวัตรปฏิบัติในพระกรรมฐาน แต่ไม่ได้ร่วมคณะธุดงค์ เพราะท่านอยู่นิกายมหายาน หลวงปู่เคยเล่าประวัติในช่วงธุดงค์ให้กับพระภิกษุที่เป็นหลานของท่านว่า เคยได้เป็นศิษย์หลวงปู่มั่นอยู่พักหนึ่ง ในช่วงที่หลวงปู่ต้องการเจริญสมณธรรม เป็นธรรมอันล้ำลึกยากยิ่งที่ผู้ที่ยังเข้าไม่ถึงจะล่วงรู้ถึงอารมณ์ของ วิปัสสนานี้ได้ หลวงปู่หมุนได้อยู่ปรนนิบัติรับใช้พระอาจารย์มั่นอยู่ระยะหนึ่งแล้วก็แสวงหา ความวิเวก เพื่อประพฤติปฏิบัติต่อไป จนกระทั่งหลวงปู่แตกฉาน เชี่ยวชาญ ครั้งนั้นหลวงปู่หมุนได้ศึกษาธรรมจนที่สหธรรมมิกที่เป็นศิษย์ของหลวงปู่มั่น รู้จักสนิทสนมกับหลวงปู่ทุกองค์ เช่น หลวงปู่แหวน สุจิณโณ เป็นต้น ..ในตอนที่หลวงปู่หมุนไปกราบนมัสการ หลวงปู่มั่น ท่ามกลางศิษย์สายกองทัพธรรม ในขณะสนทนาธรรมหลวงปู่มั่นได้ปรารภกับหลวงปู่หมุนว่า " ท่านหมุน ท่านเก่งพอตัวอยู่แล้ว หากไม่เจอกันหรือมีข้อสงสัยเกี่ยวกับปริยัติ ปฏิบัติ และ

ปฎิเวธ ให้สอบถามท่านแหวนได้ เพราะเขาเก่งมาก " หลวงปู่มั่นได้มอบของที่ระลึกให้หลวงปู่หมุน 2 อย่าง คือ แผ่นจารอักขระใบลาน ม้วนเป็นลูกอมกลม ๆ เขียนเป็นภาษาขอมว่า เย ธมมา เหตุปภวา ฯลฯ เป็นต้น และธนบัตรรัชกาลที่ 8 พร้อมลายเซ็นหลวงปู่มั่น ภายหลังหลวงปู่ได้มอบให้โยมแม่ท่านไป ต่อมาหลวงปู่มีความกังขาสงสัยในกัมมัฏฐานในเรื่องของ จตุธาตุวัฏฐาน ซึ่งเป็นเรื่องของการปฏิบัติในธาตุทั้ง 4 เป็นมูลฐานของอิทธิปาฏิหาริย์ต่าง ๆ จึงได้เดินทางไปกราบของความรู้เพิ่มเติมจาก หลวงปู่แหวน สุจิณโณ ก็ได้รับความกระจ่าง จากนั้นก็ธุดงค์ต่อไป ท่านยังได้ร่ำเรียนวิชาจาก พระอาจารย์สิงห์ วัดป่าสาลวัน หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา

ต่อมาไม่นานก็ ได้ร่ำเรียนวิชามีดหมอมหาปราบจากหลวงพ่อขำ วัดเขาแก้ว และหลวงพ่อเงิน วัดมะปรางค์หลวง ซึ่งวิชานี้หลวงพ่อเดิม พุทธสโร วัดหนองโพ จ.นครสวรรค์ก็เรียนจากหลวงพ่อขำและหลวงพ่อเงิน เช่นกัน นอกจากนี้ในช่วงที่หลวงปู่ธุดงค์มาสู่ภาคตะวันออกแถบจันทบุรี ท่านได้พำนักอยู่กับ หลวงพ่อสอน วัดเสิงสาง กระทั่งหลวงพ่อสอนไว้ใจให้วิชาอาคมและครอบครูให้กับหลวงปู่

หลวงปู่หมุน นับเป็นหนึ่งในทายาทผู้สืบสายเวทวิทยาพุทธาคมในสายสมเด็จลุนแห่งนครจำปา ศักดิ์ราชอาณาจักรลาวที่ยังดำรงขันธ์อยู่ในปัจจุบัน โดยสมเด็จลุนเป็นที่เลื่องลือในคุณธรรมและอภิญญาอภินิหารอาทิ สามารถเดินบนน้ำได้ ย่นระยะทางได้ แปลงร่างได้ เดินทะลุภูเขาได้กล่าวกันว่าภิกษุสงฆ์ยุคก่อนโน้นต่างดั้นด้นสืบเสาะหาสม เด็จลุน เพื่อฝากตัวเป็นศิษย์ศึกษามหาวิทยาคม ตลอดจนวิปัสสนากรรมฐาน หลวงปู่หมุนเองก็ดั้นด้นธุดงค์ผ่านอุบลราชธานีเข้าประเทศลาวเพื่อสืบเสาะสม เด็จลุน แต่ไม่พบ แล้วมาพักอยู่กับหลายพ่อมหาเพ็ง วัดลำดวน ในช่วงนั้นหลวงปู่ได้ใช้เวลาค้นคว้าศึกษาพระไตรปิฏก ในเรื่องพระวินัยปิฏก และพระอภิธรรม ซึ่งเป็นพระคัมภีร์ที่กล่าวถึงการเจริญกัมฏฐานล้วน ๆ ประมาณ 2 เดือนกว่า แล้วก็ออกธุดงค์กลับสู่ประเทศไทยเข้ากรุงเทพฯ มาพักนักที่วัดหงส์รัตนาราม ต่อมาธุดงค์ไปทางอีสานเข้าสู่ประเทศลาวอีก หลายครั้ง จนกระทั่งท่านมีอายุ 30 ปีกว่าแล้ว คราวนั้นหลวงปู่ได้พบกับฆราวาสชื่ออาจารย์ฉันท์ ซึ่งมีศักดิ์เป็นเหลนของสมเด็จลุน ที่จังหวัดนครพนม โดยเรียนวิชาจากอาจารย์ฉันท์จนหมดภูมิแล้ว อาจารย์ท่านจึงได้แนะนำฝากตัวเป็นศิษย์หลวงปู่ดำเหลนของสมเด็จลุนปรมาจารย์ ใหญ่ที่สืบสายเวทวิทยาพุทธาคมในสายสมเด็จลุน

ในการฝากตัวเป็นศิษย์ของ หลวงปู่ดำนั้น มีกฎเกณฑ์รายละเอียดมากทั้งยังต้องทดสอบภูมิปัญญา และอำนาจของกระแสจิตที่ต้องเข้มแข็งพอที่จะเรียนวิชาของท่านได้ ในรุ่นที่หลวงปู่ฝากตัวเป็นศิษย์นั้นมีมากกว่า 50 รูป แต่หลวงปู่ดำท่านทดสอบวิชา แล้วคัดออกจนเหลือแค่ 3 รูป มีหลวงปู่หมุน หลวงพ่อสงฆ์ (วัดม่วง ลพบุรี) และอีกรูปหลวงปู่ลืมชื่อไปแล้ว สำหรับพิธี ครอบครูของหลวงปู่ดำนั้นมีของยกครูที่หลวงปู่จำได้อย่างแม่นยำคือ 1.ผ้าไตรจีวร 2.บาตร 3.ทองคำหนัก 10 บาท (สำหรับทองคำ จะคืนให้เมื่อเรียนจบ) และมีข้อห้ามประการสำคัญอีกคือ ห้ามสึกตลอดชีวิต ถ้าสึกไปชีวิตก็จะหาไม่

ในการครอบวิชานี้ถือว่าเป็นสุดยอดเคล็ดวิชา วิทยาคม ในสายของสมเด็จลุน แห่งนครจำปาศักดิ์ ซึ่งกว่าจะเรียนจบต้องใช้ความวิริยะอุตสาหะบำเพ็ญเพียรอย่างมาก ได้จำวัดพักผ่อนวันละ 4 ชั่วโมงเท่านั้น อาหารต้องฉันมื้อเดียว และขั้นตอนสุดท้ายที่จะสำเร็จวิชานี้จะมีการทดสอบอย่างพิสดาร

อย่างไรก็ ตาม เป็นที่เชื่อกันว่าหลวงปู่หมุนท่านสำเร็จวิชาสำเร็จธาตุ 4 มาจากสายสมเด็จลุน ซึ่งเป็นที่รู้กันว่าวิชาสายนี้ลึกลับเกินปุถุชนคนธรรมดาจะเรียนได้สำเร็จ ผู้ที่จะเข้าถึงได้ต้องเป็นผู้ที่มีบารมีมาแล้วนับชาติไม่ถ้วน เพราะการควบคุมธาตุ 4 ได้นั้นผู้ที่จะสามารถทำการนี้ได้ต้องสำเร็จจตุตฌานเป็นบาทฐานในการทำ และยังต้องมีความเชี่ยวชาญในเรื่องของกสิณจตุธาตุทั้ง 4 ได้แก่ ดิน น้ำ ลม และไฟอีกด้วย

หลังจากนั้น หลวงปู่ก็กลับมาจำพรรษา ที่วัดบ้านจาน จนได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส และพระอุปัชฌาย์ รับสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นประทวน ที่" พระครูหมุน ฐิตสีโล" หลวงปู่ได้ปฎิบัติศาสนกิจตามที่ได้รับมอบหมายเป็นเวลาถึง 20 ปี จึงลาออกจากทุกตำแหน่ง ต้องการใช้ชีวิตที่เหลือบำเพ็ญสมณธรรมปฏิบัติพระวิปัสสนาธุระ อย่างเดียว ประมาณปี 2487 ในช่วงที่หลวงปู่อายุ 50 ปี ท่านเก็บบริวารออกธุดงค์บำเพ็ญเพียรอยู่ในป่าดงดิบ โดยลำพังแต่ผู้เดียว และในช่วงนี้เองที่หลวงปู่ได้พบกับอาจารย์จ่อยและอาจารย์ขวัญ วัดป่าหนองหล่ม ในระหว่างที่หลวงปู่ธุดงค์โดยบังเอิญ อาจารย์ทั้ง 2 จึงได้นิมนต์หลวงปู่โปรดญาติโยมที่วัดป่าหนองหล่ม หลังจากที่หลวงปู่หมุนเดินธุดงค์แสวงหาธรรม อยู่หลายสิบปี ประมาณปี 2520 ท่านจึงกลับมายังวัดบ้านจาน ซึ่งวัดบ้านจานในยามนั้น มีอายุกว่า 200 ปี อยู่ในสภาพทรุดโทรม ท่านจึงได้พัฒนาวัด สร้างอุโบสถขึ้นมา ด้วยหยาดเหงื่อและแรงจิต ทำให้อุโบสถเสร็จสมบูรณ์ในเวลาอันสั้น

นอกจาก นี้ท่านยังได้ช่วยเหลือ ลูกศิษย์และสหธรรมิก อีกหลายวัดเช่น วัดป่าหนองหล่ม, วัดโนนผึ้ง ,วัดซับลำใย, และคณะศิษย์วัดสุทัศน์ฯ ในการสร้างถาวรวัตถุของวัด จนเป็นที่มาของ วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยมในหลายรุ่นต่อมา ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกเมื่อวัตถุมงคลและเครื่องรางของขลังแทบทุกรุ่น ที่ท่านจัดสร้างขึ้น จึงเป็นที่นิยมในหมู่ศิษยานุศิษย์ ด้วยเชื่อในพลังแห่งบุญฤทธิ์จิตตานุภาพของท่าน

จนกระทั่งเมื่อเวลา 07.30 น. วันที่ 11 มี.ค.2546 หลวงปู่หมุน ฐิตสีโล พระอมตะเถระ 5 แผ่นดิน แห่งวัดบ้านจาน อ. กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ มรณภาพลงอย่างสงบบนกุฎี สิริอายุ 109 ปี 86 พรรษา

ขอขอบคุณ แหล่งข้อมูลจาก http://www.web-pra.com/Article/Show/216 และ http://www.luangpumoon.com/forum/index.php?topic=1.0

ความคิดเห็น

เนื้อหาที่ได้รับความนิยมในรอบ 1 เดือน :

ประวัติและปฏิปทา หลวงพ่ออินทร์ถวาย สันตุสสโก วัดป่านาคำน้อย จังหวัดอุดรธานี

ประวัติและปฏิปทา พระอาจารย์อินทร์ถวาย สนฺตุสฺสโก (หลวงพ่ออินทร์ถวาย สันตุสสโก) วัดป่านาคำน้อย (วัดอุดมมงคลวนาราม) บ้านนาคำน้อย ตำบลบ้านก้อง อำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี อัตโนประวัติ พระอาจารย์อินทร์ถวาย สันตุสสโก มีนามเดิมว่า อินทร์ถวาย ผิวขำ เกิดเมื่อวันที่ 27 เมษายน พุทธศักราช 2488 ตรงกับวันศุกร์ แรม 1 ค่ำ เดือน 5 ปีระกา ณ บ้านหนองแวง ตำบลหนองสูงใต้ อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร (จังหวัดนครพนม ในขณะนั้น) โยมบิดาชื่อ คุณพ่อแดง ผิวขำ โยมมารดาชื่อ คุณแม่จอมแก้ว ผิวขำ ท่านเป็นบุตรคนที่ 6 ในจำนวนพี่น้องทั้งหมด 7 คน ซึ่งเป็นหญิง 3 คน เป็นชาย 4 คน พระอาจารย์อินทร์ถวายได้เข้าพิธีบรรพชาเป็นสามเณร ขณะมีอายุ 11 ปี ณ วัดกลางสนาม ตำบลกลางสนาม อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร เมื่อปี พ.ศ. 2500 โดยมี หลวงปู่กงแก้ว ขันติโก เป็นพระอุปัชฌาย์ หลังจากบรรพชาแล้ว ได้ไปอยู่ศึกษาปฏิบัติธรรมกับ หลวงปู่หล้า เขมปัตโต ณ วัดบรรพตคีรี (วัดภูจ้อก้อ) ตำบลหนองตูมใต้ อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร เป็นระยะเวลาทั้งหมด 9 ปี ต่อมาท่านได้รับการญัตติเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมา วัดป่าศิลาวิเวก ตำบลป่าศิลาวิเวก อำเภอเมือง

ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่ผล อินทังกุโร วัดอินทาราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่ผล อินทังกุโร วัดอินทาราม ตำบลทางช้าง อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา " หลวงปู่ผล อินทังกุโร " หรือ "พระครูศีลทิวากร" อดีตเจ้าอาวาสวัดอินทาราม อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา พระเกจิอาจารย์ชื่อดังเมืองกรุงเก่า เกิดในสกุลชมบุหงา เมื่อวันอาทิตย์ที่ 21 พ.ค.2464 ที่ ต.วัดตะกู อ.บางบาล จ.พระนคร ศรีอยุธยา อายุครบ 20 ปี เข้าพิธีอุปสมบท เมื่อวันที่ 5 ก.ค.2484 ที่วัดพนัญเชิง จ.พระนคร ศรีอยุธยา โดยมีพระเขมเทพาจารย์ วัดหัวเวียง เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูเมตตาธิคุณ (เกลี้ยง) วัดตะกู เป็นพระอนุสาวนาจารย์ และพระอธิการคง สุวัณโชโต วัดอินทาราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม ด้วยความจำดีเลิศและมุ่งมั่นจริงจัง ทำให้สามารถสอบได้นักธรรมชั้นตรี-โท-เอก ตามลำดับ ใช้เวลาเพียงแค่ 3 ปี นอกจากศึกษาด้านพระปริยัติธรรมท่านยังได้ให้ความสนใจด้านวิทยาคม ศึกษาวิชากับหลวงพ่อคง วัดอินทาราม พระอุปัชฌาย์ ด้วยการศึกษาเล่าเรียนด้านวิปัสสนากัมมัฏฐาน วิทยาคมจนแตกฉาน อีกทั้งหลวงพ่อคงได้ทำพิธีครอบครูให้ เพื่อสืบสานสรรพวิชาต่างๆ ให้จนหมดสิ้น สำหรับหลวงพ่

ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่คำน้อย จิตฺตคุตฺโต วัดถ้ำภูกำพร้า (วัดภูกำพร้า) จังหวัดมุกดาหาร

ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่คำน้อย จิตฺตคุตฺโต วัดภูกำพร้า อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร เกิด ไม่ทราบ มรณภาพ พ.ศ.2548 อายุ ไม่ทราบ (ว่ากันว่า 200 กว่าปี) พรรษา ไม่ทราบ สำหรับหลวงปู่คำน้อย ว่ากันว่าท่านมีถึงอายุ 238 ปี ท่านพำนักอยู่ วัดถ้ำภูกำพร้า อ.ดงหลวง จ.มุกดาหาร ตั้งแต่ท่าน อายุได้ 100 กว่าปี ท่านก็สามารถนั่งสมาธิถอดจิต ไปเที่ยว สวรรค์ - นรก และ บางคนเชื่อว่าท่านคือเณรคำผู้มีฤทธิ์จากภูเขาควายเมืองลาว ท่านเป็นพระใจดี สำหรับอายุของท่านเท่าที่ถามจากคนเฒ่าคนแก่ในละแวกนั้น เขาก็ว่าเกิดมาก็เห็นหลวงปู่แล้วจนเขามีอายุถึงแปดสิบเก้าสิบ หลวงปู่คำน้อยก็ยังคงอยู่ในสภาพเดิมไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง และเมื่อสอบถามจากหลวงปู่คำน้อยก็ได้คำตอบเหมือนที่ใครๆได้รับรู้จากวาจา ท่านเองคือเปลี่ยนฟันมาสองรอบแล้ว รอบละ 120 ปี เลยอนุมานเอาว่าช่วงนั้นหลวงปู่น่าจะอายุประมาณ 200 กว่า ปี อายุใกล้เคียงกับกรุงเทพมหานคร ก็เลยสันนิษฐานเอาว่าหลวงปู่น่าจะเกิดในสมัยรัชกาลที่ 1 ครับ ปัจจุบันท่านมรณภาพไปแล้วครับ ประมาณปี 2548

ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่เหมือน อินฺทโชโต วัดกำแพง จังหวัดชลบุรี

ประวัติและปฏิปทา พระครูอุดมวิชชากร (หลวงปู่เหมือน อินฺทโชโต) วัดกำแพง ตำบลมะขามหย่ง อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี พระครูอุดมวิชชากร (หลวงปู่เหมือน อินฺทโชโต) อดีตเจ้าอาวาสวัดกำแพง และอดีตเจ้าคณะตำบลบางปลาสร้างเขต 2 หลวงปู่เหมือน ท่านเป็นเกจิดังของวัดกำแพง ตำบลมะขามหย่ง อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี ท่านพัฒนาวัดกำแพงจนมีความรุ่งเรืองในหลายๆ ด้าน และยังเป็นผู้อุปการะ องค์อุปการะยุวพุทธิกสมาคมชลบุรี ในพระสังฆราชูปถัมภ์ , อุปการะโรงเรียนเทศบาลวัดกำแพง (อุดมพิทยากร) และองค์อุปการะมูลนิธิพระครูอุดมวิชชากร อีกด้วย วัตถุมงคลของท่านได้ความนิยมอย่างมากโดยเฉพาะปิดตา และเหรีญรุ่นแรก พระครูอุดมวิชชากร ท่านมีนามเดิมว่า " เหมือน " นามสกุล " ถาวรวัฒนะ " เกิดเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2436 ปีมะเส็ง ณ บ้าน ตำบลมะขามหย่ง อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 โยมบิดาชื่อ ตึ๋ง โยมมารดาชื่อ ปุ่น ถาวรวัฒนะ (มารดาเป็นน้องสาวของหลวงพ่อเจียม อดีตเจ้าอาวาสวัดกำแพง) บรรพชา หลวงปู่เหมือน ท่านบรรพชาเป็นสามเณร แล้วจึงอุปสมบทต่อ อุปสมบท หลวงปู่เหมือน อายุได้ 20

ประวัติหลวงปู่เขียว อินฺทมุนี หรือ พ่อท่านเขียว วัดหรงบน

ประวัติหลวงปู่เขียว อินฺทมุนี หรือ พ่อท่านเขียว วัดหรงบน หลวงปู่เขียว อินทมุนี หรือ พ่อท่านเขียว วัดหรงบน เป็นพระคณาจารย์ชื่อดังแห่งวัดหรงบน ก่อนที่ท่านจะมรณภาพนั้นก็สามารถบอกถึงกำหนดวันมรณภาพล่วงหน้าได้อย่างแม่นยำ นอกจากสังขารท่านจะไม่เน่าเปื่อยแล้วยังเผาไหม้ได้อีกด้วย พระเครื่องและวัตถุมงคลของท่านได้รับความนิยมสูงมาก เช่น เหรียญรูปเหมือน รูปหล่อลอยองค์ ผ้ายันต์รอยมือรอยเท้า เชือกคาดเอว ลูกอม ตะกรุด และพระปิตตา ฯลฯ ประวัติ หลวงปู่เขียว อินทมุนี ท่านเกิดเมื่อปี พุทธศักราช 2424 ในแผ่นดิน ล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 เมื่อยังเยาว์วัย พ่อท่านเขียวอาศัยพระในบ้านช่วยสอนหนังสือให้อ่านเขียนได้ตามอักขระสมัย ท่านชอบศึกษาเล่าเรียนเป็นชีวิตจิตใจ รวมทั้งการศึกษาวิชาอาคมตามประเพณีนิยมของชาติไทยสมัยก่อน จนเมื่อมีอายุได้ 22 ปี ท่านจึงได้ตัดสินใจสละเพศฆราวาส อุปสมบทเมื่อปี พ.ศ. 2446 ณ วัดคงคาวดี (วัดกลาง) ปีเถาะ พ.ศ. 2446 พระครูสมัยนั้น เป็นพระอุปัชฌายะ พระครูบริหารสังฆกิจ (เต็ง) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ พระเกื้อเป็นพระกรรมวาจา ได้รับฉายาว่า "อินทมุนี" หลังจากอุปสมบทแล้ว ท่านก็อยู่รับใช้ป

ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่อ่อนศรี ฐานวโร วัดถ้ำประทุน จังหวัดชลบุรี

ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่อ่อนศรี ฐานวโร วัดถ้ำประทุน ตำบลโป่ง อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ๏ อัตโนประวัติ หลวงปู่อ่อนศรี ฐานวโร มีชาติกำเนิดในสกุล ธรรมจิตร เกิดเมื่อวันที่ ๑๖ เดือนกันยายน พ.ศ. ๒๔๖๘ ตรงกับวันพุธ (กลางคืน) แรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีฉลู ที่บ้านบึงโน ต.โคกสี อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร โยมบิดาชื่อ นายมี ธรรมจิตร (ซึ่งต่อมาได้ออกบวชเป็นตาผ้าขาวจนสิ้นชีวิต) โยมมารดาชื่อ นางและ ธรรมจิตร มีอาชีพทำนา ท่านมีพี่น้องร่วมมารดาบิดาเดียวกันทั้งหมด ๕ คน เป็นชาย ๒ คน หญิง ๓ คน มีชื่อเรียงตามลำดับดังนี้ ๑. หลวงปู่วันดี ปภสฺสโร (มรณภาพแล้ว) ๒. หลวงปู่อ่อนศรี ฐานวโร (มรณภาพปี พ.ศ. ๒๕๕๑) ๓. นางบัวพันธ์ ประณมศรี (ถึงแก่กรรมแล้ว) ๔. นางทองจันทร์ ขันธะจันทร์ ๕. นางทองผัน ธงศรี ๏ การศึกษา ท่านจบการศึกษาชั้นประถมปีที่ ๔ โรงเรียนวัดศรีชมพู (ในสมัยนั้น) บ้านบึงโน ต.โคกสี อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร และการศึกษาพระปริยัติธรรมสอบได้นักธรรมชั้นโท ๏ การบรรพชา ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๘ ณ วัดศรีสว่าง ต.โพนสูง อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร โดยมีพระอาจารย์ฮวด สุมโน เป็นพระอ

ประวัติหลวงปู่อุดมทรัพย์ หรือ พระอาจารย์จ่อย สิริคุตโต วัดเวฬุวัน

ประวัติหลวงปู่อุดมทรัพย์ (พระอาจารย์จ่อย สิริคุตโต) วัดเวฬุวัน ตำบลพยุห์ อำเภอพยุห์ จังหวัดศรีสะเกษ ชาติภูมิและอุปสมบท ณ บ้านหนองหล่ม อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว ในวันศุกร์ที่  ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๐๓ ในครอบครัวของพ่อลี แม่ตุ่น สว่างกุล ได้ก่อกำเนิดลูกชายคนที่ ๘ จากจำนวนทั้งหมด ๙ คน เด็กคนนี้มีรูปร่างเล็กกว่าลูกคนอื่นๆ พ่อจึงได้ตั้งชื่อว่า "จ่อย" ซึ่งเป็นภาษาอีสานหมายถึงผอมแห้ง เด็กชายจ่อยได้เป็นกำลังสำคัญของครอบครัวด้วยการช่วยทำงานทุกอย่างเหมือนดั่งเด็กโต ในยามว่างสิ่งหนึ่งที่เป็นกิจวัตรประจำวันของเด็กชายจ่อยคือ ชอบไปนั่งคุยกับพระที่วัดถามถึงเรื่องบาปบุญว่ามีจริงไหม บาปอยู่ที่ไหน บุญอยู่ที่ใด เป็นคำถามที่พระในวัดมักจะถูกถามอยู่เสมอๆ ซึ่งพระในวัดท่านก็ตอบว่า "ถ้าอยากรู้ว่าบาปบุญมีจริงไหม ก็ลองมาบวชดูแล้วจะรู้" คำตอบที่พระท่านตอบมาทำให้ในวันนั้นเด็กชายจ่อยฝังใจในการหาคำตอบ พอเริ่มโตเป็นวัยรุ่น จึงได้ไปขออนุญาตพ่อแม่ว่า "บัดนี้ครอบครัวก็เป็นปึกแผ่นแล้ว อยากจะออกบวชเรียน เพื่อศึกษาหาคำตอบที่สงสัยมานาน" เมื่อพ่อแม่ได้ฟังดังนั้นก็ยินดีอนุโมทนาอนุญาตให้บวชเป็นสามเณ

ประวัติและปฏิปทา หลวงพ่อเจริญ ฐานยุตโต วัดโนนสว่าง จังหวัดอุดรธานี

ประวัติและปฏิปทา หลวงพ่อเจริญ ฐานยุตโต ประวัติโดยสังเขป พระครูพิพัฒน์วิทยาคม หรือ หลวงพ่อเจริญ ฐานยุตฺโต) วัดโนนสว่าง ตำบลหมากหญ้า อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี พระครูพิพัฒน์วิทยาคม (หลวงพ่อเจริญ ฐานยุตฺโต) มีนามเดิมว่า เจริญ สารักษ์ เกิดเมื่อวันที่ ๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๐๔ ที่บ้านหนองวัวซอ ตำบลหมากหญ้า (ปัจจุบันคือตำบลหนองวัวซอ) อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี โยมบิดาชื่อ นายสงวน สารักษ์ พื้นเพต้นตระกูลเป็นคนบ้านหนองไข่นก จังหวัดอุบลราชธานี ต่อมาโยมบิดาได้ย้ายถิ่นฐานมาอาศัยอยู่ที่อำเภอหนองวัวซอ โดยมีคุณปู่คือ พ่อใหญ่สารวัตรนา สารักษ์ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในบ้านหนองวัวซอ และมีคุณย่าคือ แม่ใหญ่บัวมี อัควงษ์ ซึ่งพื้นเพมีเชื้อสายมาจากเจ้าเมืองในสมัยเก่าของจังหวัดหนองบัวลำภู ส่วนโยมมารดาชื่อ นางฮวด สารักษ์ (นามสกุลเดิม โคตรรวิช) พื้นเพต้นตระกูลเป็นคนบ้านเชียงหวาง อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี ต่อมาโยมมารดาได้ย้ายถิ่นฐานมาอาศัยอยู่ที่บ้านโนนทัน จังหวัดหนองบัวลำภู และแต่งงานกับโยมบิดาที่บ้านหนองวัวซอ ได้ประกอบสัมมาอาชีพ ทำไร่ทำนา ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันทั้งหมด ๑๐ คน เป็นชาย ๘ คน หญ

ประวัติหลวงพ่อกุหลาบ พุทฺธโชติ หรือ หลวงพ่อกุหลาบ วัดบางเป้ง

ประวัติหลวงพ่อกุหลาบ พุทฺธโชติ หรือ หลวงพ่อกุหลาบ วัดบางเป้ง พระครูพรหมจริยาธิมุตต์ (หลวงพ่อกุหลาบ พุทฺธโชติ) หรือ หลวงพ่อหลาบ วัดบางเป้ง อดีตเจ้าอาวาสวัดบางเป้ง และอดีตเจ้าคณะอำเภอศรีราชา ท่านเป็นเกจิดังของตำบลแสนสุข อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี ท่านพัฒนาวัดบางเป้งจนมีความรุ่งเรือง ท่านเป็นพระที่มีเมตตาสูง ใครมาขอความช่วยเหลือจากท่านท่านก็ช่วยเหลือมิไม่ได้ขาด ท่านเป็นพระเกจิที่ชาวบางแสนให้ความเคารพอย่างมาก และท่านยังให้ความสำคัญของการศึกษาท่านได้สร้างโรงเรียนวัดบางเป้ง (กุหลาบราษฎร์อำนวยวิทย์) ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2509 เป็นต้น ประวัติและสถานะเดิม พระครูพรหมจริยาธิมุตต์ ท่านมีนามเดิมว่า " กุหลาบ " นามสกุล " อุ่นจิตร หรือ อุ่นจิตต์ (ไม่แน่ใจว่าเขียนแบบไหนครับ) " เกิดเมื่อวันอังคาร ขึ้น 9 ค่ำ เดือนยี่ ตรงกับวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2431 บิดาชื่อ นายช้อน มารดาชื่อ นางเจียก อุ่นจิตร ท่านเกิด ณ หมู่ที่ 1 บ้านตำบลแสนสุข อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี (บริเวณสถานีดับเพลิง ต.แสนสุข) ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดาจำนวน 5 คน หลวงพ่อกุหลาบเป็นบุตรคนสุดท้อง ดังนี้ พระอธิการอั