ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่อ่อนศรี ฐานวโร วัดถ้ำประทุน จังหวัดชลบุรี

ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่อ่อนศรี ฐานวโร

วัดถ้ำประทุน ตำบลโป่ง อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี

๏ อัตโนประวัติ

หลวงปู่อ่อนศรี ฐานวโร มีชาติกำเนิดในสกุล ธรรมจิตร เกิดเมื่อวันที่ ๑๖ เดือนกันยายน พ.ศ. ๒๔๖๘ ตรงกับวันพุธ (กลางคืน) แรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีฉลู ที่บ้านบึงโน ต.โคกสี อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร โยมบิดาชื่อ นายมี ธรรมจิตร (ซึ่งต่อมาได้ออกบวชเป็นตาผ้าขาวจนสิ้นชีวิต) โยมมารดาชื่อ นางและ ธรรมจิตร มีอาชีพทำนา ท่านมีพี่น้องร่วมมารดาบิดาเดียวกันทั้งหมด ๕ คน เป็นชาย ๒ คน หญิง ๓ คน มีชื่อเรียงตามลำดับดังนี้

๑. หลวงปู่วันดี ปภสฺสโร (มรณภาพแล้ว)
๒. หลวงปู่อ่อนศรี ฐานวโร (มรณภาพปี พ.ศ. ๒๕๕๑)
๓. นางบัวพันธ์ ประณมศรี (ถึงแก่กรรมแล้ว)
๔. นางทองจันทร์ ขันธะจันทร์
๕. นางทองผัน ธงศรี



๏ การศึกษา

ท่านจบการศึกษาชั้นประถมปีที่ ๔ โรงเรียนวัดศรีชมพู (ในสมัยนั้น) บ้านบึงโน ต.โคกสี อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร และการศึกษาพระปริยัติธรรมสอบได้นักธรรมชั้นโท


๏ การบรรพชา

ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๘ ณ วัดศรีสว่าง ต.โพนสูง อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร โดยมีพระอาจารย์ฮวด สุมโน เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อบรรพชาแล้วได้ไปจำพรรษาที่วัดธรรมิการาม บ้านบึงโน ต.โคกสี อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร


๏ การอุปสมบท

ท่านได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๘ เวลา ๑๒.๐๐ น. ณ พัทธสีมาวัดศรีสว่าง จ.สกลนคร โดยมีพระอาจารย์ฮวด สุมโน เป็นพระอุปัชฌาย์, พระพุฒ ยโส เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระมหาสิริ สิริปุญฺโญ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ครั้นต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๙๐ ท่านได้กระทำญัตติกรรมเป็นพระภิกษุฝ่ายธรรมยุติกนิกาย โดยมี ท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูอดุลย์สังฆกิจ (พระมหาเถื่อน อุชุกโร) เจ้าคณะอำเภอวานรนิวาส เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระครูมุกดาหารสาธุกิจ (พระมหาผา) เจ้าคณะอำเภอมุกดาหาร เป็นพระอนุสาวนาจารย์

๏ ลำดับการจำพรรษา

เมื่อหลวงปู่ได้อุปสมบทแล้ว ท่านได้จำพรรษาตามที่ต่างๆ ดังนี้

- ปี พ.ศ. ๒๔๘๙ จำพรรษาที่วัดตาลนิมิตร บ้านตาล ต.โคกสี อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร

- ปี พ.ศ. ๒๔๙๐ - ๒๔๙๑ จำพรรษาที่วัดธรรมิการาม บ้านบึงโน ต.โคกสี อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร

- ปี พ.ศ. ๒๔๙๒ จำพรรษาที่เสนาสนะป่าบ้านแหลมฉบัง ต.ทุ่งศุขลา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี (ปัจจุบันคือบริเวณท่าเรือแหลมฉบัง) ร่วมกับหลวงปู่ชื่น (๔๒ พรรษา) และหลวงพ่อมหาเผื่อน (๓๒ พรรษา) หลวงปู่สุบิน (๑๒ พรรษา) และหลวงปู่ (๙ พรรษา)

- ปี พ.ศ. ๒๔๙๓ - ๒๔๙๗ จำพรรษาที่วัดประชาอุทิศ ต.ลุมพุก อ.คำเขื่อนแก้ว จ.อุบลราชธานี (ปัจจุบันขึ้นเป็น จ.ยโสธร)

- ปี พ.ศ. ๒๔๙๘ จำพรรษาที่วัดป่าพระสถิตย์ ต.พานพร้าว อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย มี หลวงปู่บัวพา ปญฺญาภาโส เป็นเจ้าอาวาส

- ปี พ.ศ. ๒๔๙๙ จำพรรษาที่วัดปากทาง เหมืองแม่แฝก อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ ท่านมีโอกาสได้ไปปรนนิบัติ หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ ที่วัดบ้านปง ต.อินทขิล อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ อยู่ระยะหนึ่ง

- ปี พ.ศ. ๒๕๐๐ - ๒๕๐๑ จำพรรษาที่เสนาสนะป่าบ้านเหล่า ต.ป่าไหน่ อ.พร้าว จ.เชียงใหม่

- ปี พ.ศ. ๒๕๐๒ - ๒๕๑๘ จำพรรษาที่วัดธรรมิการาม บ้านบึงโน ต.โคกสี อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร และได้รับตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาส

- ปี พ.ศ. ๒๕๑๙ จำพรรษาที่วัดประชาอุทิศ ต.ลุมพุก อ.คำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร

- ปี พ.ศ. ๒๕๒๐ - ๒๕๒๒ จำพรรษาที่วัดธรรมิการาม บ้านบึงโน ต.โคกสี อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร

- ปี พ.ศ. ๒๕๒๓ จำพรรษาที่วัดประชาอุทิศ ต.ลุมพุก อ.คำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร

- ปี พ.ศ. ๒๕๒๔ - ๒๕๓๒ จำพรรษาที่วัดธรรมิการาม บ้านบึงโน ต.โคกสี อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร

- ปี พ.ศ. ๒๕๓๓ จำพรรษาที่วัดใหม่ดำรงธรรม ต.เกวียนหัก อ.ขลุง จ.จันทบุรี

- ปลายปี พ.ศ. ๒๕๓๓ - ๒๕๕๑ ได้มาจำพรรษาที่วัดถ้ำประทุน หมู่ที่ ๘ ต.โป่ง อ.บางละมุง จ.ชลบุรี

๏ โยมบิดาบวชเป็นตาผ้าขาว

ท่านเล่าให้ฟังว่า โยมบิดาของท่านเมื่อครั้งอยู่ในวัยหนุ่มไม่มีโอกาสได้บวชศึกษาเล่าเรียนในทางพระพุทธศาสนาแต่อย่างใด เพราะมีภาระที่ต้องทำมาหากินเลี้ยงดูครอบครัวมาหลายปี หลังจากที่หลวงปู่มาบวชนานหลายปีพอสมควร ท่านจึงได้ชักชวนโยมบิดาให้เข้ามาบวชรักษาศีล ๘ ประจำ (เรียกว่าตาผ้าขาว) เพื่อประพฤติปฏิบัติภาวนา และท่านได้พาไปหาความสงัดวิเวกในที่ต่างๆ เช่นที่ จ.เชียงใหม่ เป็นต้น จนถึงวาระสุดท้ายของชีวิตโยมบิดาท่าน รวมเวลาที่บวชเป็นตาผ้าขาวได้ถึง ๒๒ ปี หลวงปู่เล่าว่า ในปี พ.ศ. ๒๔๙๙ ท่านตั้งใจเดินทางไปหาความสงัดวิเวกที่ จ.เชียงใหม่ โดยมีหมู่คณะที่ติดตามไปด้วยคือ

๑. พระมหาคำหล้า ธัมมกาโม
(วัดสมานโสภาราม ต.บ้านหม้อ อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย)

๒. พระอาจารย์สมุทร อธิปุญฺโญฺ
(วัดเวฬุวันหรือวัดเขาจีนแล ต.นิคมสร้างตนเอง อ.เมือง จ.ลพบุรี)

๓. ตาผ้าขาวนายมี ธรรมจิตร (โยมบิดาของหลวงปู่)

๔. หลวงปู่สุพรรณ (ปัจจุบันมรณภาพแล้ว)

กับสามเณรอีก ๑ รูป ซึ่งติดตามไปภายหลัง และได้พบกันที่วัดโป่งตูม อ.หล่มเก่า จ.เพชรบูรณ์

การเดินทางครั้งนั้นเริ่มต้นที่ จ.หนองคาย พักที่วัดหินหมากเป้ง ๑ คืน หลวงปู่ได้ข้ามไปทางฝั่งประเทศลาวระยะหนึ่ง แล้วกลับมาที่วัดหินหมากเป้งอีกครั้ง จากนั้นท่านได้เดินเท้าไป อ.สังคม ผ่าน อ.เชียงคาน จ.เลย ต่อไปถึงบ้านนาอ้อ ต.นาอ้อ อ.เมือง จ.เลย โดยพักอยู่กับ หลวงปู่คำดี ปภาโส วัดถ้ำผาปู่ ๑๒ คืน จึงเดินทางต่อไป อ.ด่านซ้าย จ.เลย จนถึง อ.หล่มเก่า จ.เพชรบูรณ์ พักที่วัดโป่งตูม และได้พบกับ หลวงปู่หลอด ปโมทิโต ที่นั่น จากนั้นเดินทางไป อ.หล่มสัก พักอยู่กับหลวงปู่เคลือบ ที่สี่แยกป่าติ้ว จ.เพชรบูรณ์ ๓ คืน แล้วเดินข้ามหลังเขาไปจนถึง อ.ตะพานหิน จ.พิจิตร ขณะนั้นโยมบิดาของท่านเกิดอาการอ่อนเพลียมาก จึงขอให้ขึ้นรถไฟและไปลงที่ จ.ลำปาง พักอยู่กับ หลวงปู่หลวง กตปุญโญ วัดเกาะคา ๓ คืน จากนั้นได้ต่อรถไฟไปจนถึง จ.เชียงใหม่ พักอยู่กับ หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร ที่วัดสันติธรรม ๒ เดือน พอใกล้เข้าพรรษา หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร ขอให้ท่านไปจำพรรษาที่วัดปากทางเหมืองแม่แฝก อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ หลังจากนั้นท่านได้เที่ยววิเวก และจำพรรษาอยู่ที่ จ.เชียงใหม่ อีกประมาณ ๔ ปี จึงเดินทางกลับภาคอีสานบ้านเกิด

๏ เป็นเจ้าอาวาสวัดธรรมิการาม

ในปี พ.ศ. ๒๕๐๒ หลวงปู่ได้มาอยู่ที่วัดธรรมิการาม บ้านบึงโน บ้านเกิดของท่าน แล้วได้รับมอบหน้าที่ให้เป็นเจ้าอาวาสปกครองดูแลวัด หลวงปู่ได้พัฒนาวัดและก่อสร้างเสนาสนะที่ยังขาดแคลน เช่น ศาลาการเปรียญ กุฏิ และโรงครัว เป็นต้น อีกทั้งหลวงปู่ยังมีส่วนสำคัญในการนำความเจริญมาสู่หมู่บ้าน เช่น ถนน ไฟฟ้า และบ่อน้ำ เป็นต้น เมื่ออยู่ที่นั่นเป็นเวลาติดต่อกันนานพอสมควร หลวงปู่ก็ออกไปปลีกวิเวกและปฏิบัติภาวนา พำนักจำพรรษาสถานที่อื่นบ้าง โดยไปจำพรรษาอยู่ที่วัดประชาอุทิศ ต.ลุมพุก อ.คำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร เป็นต้น

พอออกพรรษา ก็กลับมายังวัดธรรมิการามอีกครั้ง ไปๆ มาๆ เช่นนี้อยู่เป็นหลายครั้ง เมื่อเห็นว่าวัดธรรมิการามมีความเจริญ และความสะดวกสบายในด้านต่างๆ พอสมควร ในต้นปี พ.ศ. ๒๕๓๒ ท่านก็ได้ตัดสินใจวางภาระต่างๆ ให้พระลูกศิษย์ใกล้ชิดที่ท่านไว้วางใจคือ พระอาจารย์อัศวิน วรญาโณ ให้เป็นผู้รักษาการแทน

หลังจากนั้นหลวงปู่ก็ออกไปหาความสงัดวิเวกที่วัดป่าดงเจริญ บ้านดงเจริญ ต.ดงเจริญ อ.คำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร ระยะหนึ่ง แล้วก็ลงมาทางภาคตะวันออก พักอยู่ที่วัดถ้ำประทุนประมาณ ๗ วัน (สมัยนั้นชื่อวัดตรอกแซง) หลังจากนั้นหลวงปู่ก็ได้เดินทางไป จ.จันทบุรี ในปีนั้นหลวงปู่ตั้งใจจะไปจำพรรษาที่เกาะช้าง พอดีช่วงนั้นมีพายุเข้าฝนตกหนักเลยข้ามไปเกาะไม่ได้ ช่วงนั้นเป็นเวลาจวนจะเข้าพรรษาพอดี หลวงปู่จึงตัดสินใจจำพรรษาที่วัดใหม่ดำรงธรรม ต.เกวียนหัก อ.ขลุง จ.จันทบุรี หลังจากออกพรรษาของปีนั้น คณะญาติโยมทาง อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี (คณะโยมแฉล้มและโยมอรุณี) ได้ไปนิมนต์หลวงปู่ให้กลับมาอยู่ที่วัดถ้ำประทุน เพราะเวลานั้นเจ้าอาวาสวัดได้ลาสิกขาไป ทำให้ขาดครูบาอาจารย์ที่จะมาปกครองดูแลวัด หลวงปู่จึงได้รับนิมนต์กลับมาอยู่ที่วัดถ้ำประทุนอีกครั้งหนึ่ง เมื่อวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๓ เป็นต้นมา และได้อยู่เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรให้พระภิกษุสามเณร ตลอดจนคณะศรัทธาญาติโยมที่ได้มากราบไหว้ก็เริ่มรู้จักหลวงปู่กันมากขึ้นจนถึงปัจจุบัน สมัยที่หลวงปู่มาอยู่ใหม่ๆ เสนาสนะที่จำเป็น เช่น กุฏิ มีจำนวนน้อยไม่เพียงพอ ในขณะเดียวกันก็เริ่มมีพระภิกษุสามเณรเข้ามาอยู่กับหลวงปู่เพิ่มมากขึ้น จึงทำให้ท่านต้องสร้างเสนาสนะ (กุฏิ) และสิ่งที่จำเป็นหลายอย่างเพิ่มขึ้น

หลายปีผ่านไปหลวงปู่ก็มาพิจารณาเห็นว่า อุโบสถหลังเก่าที่วัดศรีชมพู ต.โคกสี อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งของบ้านบึงโน ตั้งแต่สมัยที่หลวงปู่ยังเป็นพระบวชใหม่ บัดนี้เกิดชำรุดทรุดโทรมลงไปมาก หลวงปู่เลยคิดยากจะรื้อแล้วทำขึ้นใหม่ ท่านจึงดำริจะสร้างอุโบสถหลังใหม่ขึ้น เพื่อให้วัดต่างๆ ที่อยู่ในละแวกนั้นได้มาทำสังฆกรรมร่วมกัน มีการลงอุโบสถทุกกึ่งเดือน เป็นต้น และใช้เป็นสถานที่สำหรับอุปสมบทกุลบุตรลูกหลานมาจากที่ต่างๆ อีกด้วย อาศัยศรัทธาจากญาติโยมทางพัทยา จ.ชลบุรี กรุงเทพฯ และคนในพื้นที่บ้าง ช่วยกันดำเนินการก่อสร้างจนแล้วเสร็จ โดยมีนายสมเดช ดำรงค์กิจไพบูลย์ เป็นผู้ดูแลการก่อสร้าง ซึ่งใช้ระยะเวลาก่อสร้างทั้งสิ้น ๔ ปี งบประมาณ ๑๒ ล้านบาท และได้ใช้ประโยชน์มาจนถึงทุกวันนี้

ในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๓๘-๒๕๓๙ หลวงปู่ได้อาพาธหนักเป็นครั้งแรก ต้องเข้ารับการผ่าตัดกระดูกสันหลัง (ด้วยโรคกระดุกพรุน) ที่โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพฯ ถึงสองครั้ง อาการของหลวงปู่ก็ดีขึ้นมาเรื่อยๆ แต่ไม่แข็งแรงเหมือนแต่ก่อน ต้องพักฟื้นอยู่เป็นเวลานาน และต้องหลีกเลี่ยงการทำงานที่ต้องใช้กำลังมาก ดังนั้น การทำงานต่างๆ ภายในวัดจึงว่างเว้นไปอยู่หลายปี หลังจากสุขภาพพอจะทรงตัวได้ดี หลวงปู่ก็เริ่มหันมาพัฒนาสภาพวัดถ้ำประทุนที่ยังไม่ค่อยลงตัวอีกครั้ง เนื่องจากจำนวนพระภิกษุสามเณรเพิ่มจำนวนมากขึ้น ทำให้เสนาสนะ น้ำอุปโภคบริโภคก็ไม่ค่อยพอใช้ หลวงปู่จึงได้จัดทำโครงการขุดสระน้ำขนาด ๘ ไร่ (งบประมาณ ๑,๓๐๐,๐๐๐ บาท) ซึ่งก็ได้รับความร่วมแรงร่วมใจจากคณะศิษยานุศิษย์และสาธุชนในพื้นที่เป็นอย่างดีจนแล้วเสร็จ หลังจากนั้นทางวัดก็มีน้ำอุปโภคบริโภคอุดมสมบูรณ์ จนสามารถรองรับคณะศิษยานุศิษย์ได้เป็นจำนวนหลายพันคน

สำหรับการก่อสร้างเสนาสนะ หลวงปู่ท่านก็เมตตาทยอยสร้างเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทั้งกุฏิของพระภิกษุ สามเณร และแม่ชี รวมถึง อุบาสก อุบาสิกา ฆราวาสญาติโยมที่มารักษาศีลที่วัดเป็นครั้งคราว เพื่อให้ผู้ปฏิบัติธรรมทั้งหลายได้รับความสะดวกสบาย ปัจจุบันวัดมีความเจริญและสะดวกสบาย เช่น มีการปูพื้นซีเมนต์บริเวณกว้าง เพื่อลดปัญหาการชะดินของน้ำ เนื่องจากสภาพวัดเป็นภูเขาไม่ได้เป็นที่ราบเสมอกัน และยังอำนวยความสะดวกแก่ผู้ที่มาทำบุญ ได้มีที่จอดรถสะดวกสบาย โดยเฉพาะวันงานสำคัญต่างๆ ซึ่งมีลูกศิษย์มาทำบุญเป็นจำนวนมาก จนรู้สึกว่าสถานที่คับแคบไปถนัดตา มีการปลูกป่าเพิ่มเติมนับเป็นหมื่นต้น มีการดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดี ในอนาคตที่นี่จะเป็นป่าใหญ่อุดมสมบูรณ์ อีกแห่งหนึ่งของจังหวัดชลบุรี นอกจากนี้ยังมีงานก่อสร้างอื่นๆ เช่น ตึกสงฆ์อาพาธ วิหารสำหรับเก็บพระพุทธรูปและบำเพ็ญกุศล โรงเก็บวัสดุ ห้องน้ำสำหรับญาติโยม เป็นต้น

ในปี พ.ศ. ๒๕๔๒ ถึง พ.ศ. ๒๕๔๓ หลวงปู่ลี ฐิตธมฺโม แห่งวัดเหวลึก (วัดฐิติธรรมาราม) บ้านบึงโนใน ต.โคกสี อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร ได้ถึงแก่มรณภาพลง หลวงปู่ได้ไปเป็นประธานจัดเตรียมงานให้ลุล่วงไปด้วยความเรียบร้อย และยังเป็นผู้นำในการสร้างเจดีย์อุทิศถวายแด่หลวงปู่ลี ฐิตธมฺโม ผู้เป็นครูบาอาจารย์ ตั้งเด่นสง่าให้ชนรุ่นหลังได้กราบไหว้รำลึกถึงคุณความดี ของพระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบที่ล่วงลับไปแล้ว หลวงปู่เป็นครูบาอาจารย์ที่มีเมตตาอย่างยิ่ง ท่านจะบำเพ็ญกุศลทำทานบริจาคอยู่เป็นนิตย์ รวมถึง การไถ่ชีวิตโค-กระบือ ทำให้คณะศิษยานุศิษย์ก็พลอยได้มีโอกาสทำบุญทำกุศลไปกับหลวงปู่ด้วย งานก่อสร้างต่างๆ ภายในวัดเริ่มลดน้อยลง เนื่องจากหลวงปู่ได้เมตตาช่วยแก้ปัญหาสภาพวัดมาโดยตลอด จนปัจจุบันวัดถ้ำประทุนได้กลายเป็นสถานที่สัปปายะ สำหรับผู้แสวงหาวิโมกขธรรมเป็นอย่างยิ่ง หลวงปู่ปรารภเสมอว่า สิ่งที่ท่านทำลงไปทั้งหมดนี้ก็เพื่อคนรุ่นหลังทั้งสิ้น ไม่ได้ทำเพื่อตนเองแต่อย่างใด หลวงปู่เองคงอยู่ได้อีกไม่นาน ทุกคนล้วนซาบซึ้งในความเมตตาอันยิ่งใหญ่จากหลวงปู่ที่ท่านอุทิศกำลังกาย กำลังใจ และความคิดเพื่อคณะศิษยานุศิษย์รุ่นหลังทุกๆ คน

๏ การอาพาธและการมรณภาพ

นับแต่ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุเข้ามาในบวรพระพุทธศาสนา เป็นระยะเวลาที่ยาวนานพอสมควร หลวงปู่ได้มอบกายถวายชีวิตในการปฏิบัติธรรมเพื่อความหลุดพ้น และได้นำธรรมะเหล่านั้นมาเทศนาอบรมสั่งสอนพระภิกษุ สามเณร แม่ชี และคณะศรัทธาญาติโยมทั้งหลายตามสมควรแก่โอกาส ในการเทศนาสั่งสอนนี้หลวงปู่มักจะกล่าวถ่อมตนอยู่เสมอว่า ท่านเทศน์ไม่เก่ง ไม่มีปฏิภาณในด้านนี้ นั่นก็เป็นจริตนิสัยและวัตรปฏิปทาที่แสดงออกมาให้เห็นเท่านั้น แต่ถ้าผู้ใดมีโอกาสได้ปรนนิบัติรับใช้ใกล้ชิด หรือได้มากราบหลวงปู่แม้เพียงครั้งเดียว ก็จะรู้สึกซาบซึ้งว่า หลวงปู่มีความน่าเคารพศรัทธาและน่าเลื่อมใสมากเพียงใด แม้ไม่ต้องสอนด้วยคำพูด แต่สอนด้วยการทำให้ดู อยู่ให้เห็น ผู้รู้จักสังเกตเรียนรู้ย่อมได้ปัญญาจากหลวงปู่ไม่น้อย

ในปี พ.ศ. ๒๕๕๐ หลวงปู่จึงดำริคิดจะสร้างพระเจดีย์เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่วัดถ้ำประทุน ซึ่งได้รับพระราชทานจาก สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน) ในวันอาทิตย์ที่ ๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙ หลวงปู่ได้ติดต่อปรึกษากับผู้ออกแบบเตรียมที่จะสร้างพระเจดีย์ เมื่อแบบแล้วเสร็จก็จะติดต่อพูดคุยกับผู้รับเหมาตามขั้นตอนต่อไป ในช่วงดำเนินการออกแบบ หลวงปู่ก็ได้อาพาธหนักถึงขั้นต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา ต.นาเกลือ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี โดยมีนายแพทย์อลงกรณ์ ชุตินันท์ และนายแพทย์พงษ์อินทร์ คอยดูแลทำการรักษามาโดยตลอด

ในระยะหลัง สุขภาพของหลวงปู่ทรุดลงไปมากเนื่องจากความชรา และยังต้องผจญกับโรคประจำตัวมากขึ้น โดยเฉพาะระบบของเม็ดเลือดที่ผิดปรกติ หลวงปู่ต้องเข้ารับการให้เลือดเป็นระยะๆ ที่โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา แต่หลวงปู่ก็มีกำลังใจดี หน้าตาของท่านผ่องใสเหมือนไม่ได้อาพาธ หลวงปู่ก็รักษาสังขารร่างกายไปตามอัตภาพ ไม่ได้ขวนขวายอะไรมากนัก ทุกวันท่านจะไปทำงานบริเวณสระน้ำ เพื่อดูแลต้นไม้เป็นการออกกำลังกายเล็กๆ น้อยๆ ประจำวันเพื่อสุขภาพท่านเอง และเป็นอยู่อย่างนั้นตลอดมา

กระทั่งวันอาทิตย์ที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๑ หลวงปู่ได้เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยาเป็นครั้งสุดท้าย เป็นระยะเวลา ๖ วัน ในวันที่ ๗ หลวงปู่ก็ได้ละสังขารด้วยอาการสงบและจากพวกเราไปโดยไม่มีวันกลับ ซึ่งนับว่าเป็นความสูญเสียอันยิ่งใหญ่ของบรรดาคณะศิษยานุศิษย์และสาธุชนทั้งหลาย ศพของท่านได้ถูกจัดไว้เพื่อการบำเพ็ญกุศล ณ ศาลาการเปรียญ วัดถ้ำประทุน อย่างสมเกียรติ มีการสวดพระอภิธรรมทุกคืนเป็นระยะเวลา ๑๐๐ วัน หลังจากนั้นบรรดาคณะศิษยานุศิษย์ได้ประชุมปรึกษาหารือกันเพื่อจัดงานฌาปนกิจต่อไป

การอาพาธของหลวงปู่ ในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๓๘-๒๕๓๙ หลวงปู่ได้อาพาธหนักเป็นครั้งแรกต้องเข้ารับการผ่าตัดกระดูกสันหลัง (ด้วยโรคกระดุกพรุน) ที่โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพฯ ถึงสองครั้ง ภายหลังการผ่าตัดอาการของหลวงปู่ก็ดีขึ้นเรื่อยๆ แต่ก็ยังไม่แข็งแรงเหมือนแต่ก่อน ต้องพักฟื้นอยู่เป็นเวลานานและหลีกเลี่ยงการทำงานที่ต้องใช้กำลังมาก โดยหลวงปู่ต้องเข้าออกโรงพยาบาลเป็นประจำมาตลอดระยะเวลา ๑๐ ปี พอในปลายปี พ.ศ. ๒๕๔๙ แพทย์ได้ตรวจพบความผิดปกติของเม็ดเลือดขาว (มะเร็งในเม็ดเลือดขาว) และได้ทำการรักษาโดยการให้คีโมประมาณ ๓-๔ ครั้ง ที่โรงพยาบาลศิริราช หลังจากนั้นได้รับการรักษาโดยวิธีการให้เลือดมาเป็นระยะ

พอถึงวันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๑ หลวงปู่ได้มีอาการจุกแน่นหน้าอกอย่างรุนแรง หายใจไม่สะดวก จึงได้เข้ารับการรักษาในห้องไอ ซี ยู โดยมี นายแพทย์อลงกรณ์ ชุตินันท์ แพทย์เจ้าของไข้ และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของโรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา แต่อาการก็ไม่ดีขึ้น เนื่องด้วยหลวงปู่ติดเชื้อทางกระแสโลหิตอย่างรุนแรง แพทย์วินิจฉัยแล้วพบว่าเกิดจากโรคเม็ดเลือดและเกล็ดเลือดต่ำ มีการติดเชื้อในกระแสโลหิต การเต้นของหัวใจอ่อนกำลัง ความดันโลหิตต่ำ หลังจากนั้นมีอาการแทรกซ้อนอย่างรุนแรง เช่น อาการไตวาย ตับเสียการทำงาน และมีแผลติดเชื้อที่ขาข้างซ้ายอย่างรุนแรง จนกระทั่งต่อมาหลวงปู่ได้มรณภาพด้วยอาการสงบ ในวันเสาร์ที่ ๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๑ เวลา ๐๔.๓๔ นาฬิกา ที่ห้องไอ ซี ยู รวมสิริอายุได้ ๘๒ ปี ๘ เดือน ๒๒ วัน พรรษา ๖๒

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=31157

ความคิดเห็น

เนื้อหาที่ได้รับความนิยมในรอบ 1 เดือน :

ประวัติและปฏิปทา หลวงพ่ออินทร์ถวาย สันตุสสโก วัดป่านาคำน้อย จังหวัดอุดรธานี

ประวัติและปฏิปทา พระอาจารย์อินทร์ถวาย สนฺตุสฺสโก (หลวงพ่ออินทร์ถวาย สันตุสสโก) วัดป่านาคำน้อย (วัดอุดมมงคลวนาราม) บ้านนาคำน้อย ตำบลบ้านก้อง อำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี อัตโนประวัติ พระอาจารย์อินทร์ถวาย สันตุสสโก มีนามเดิมว่า อินทร์ถวาย ผิวขำ เกิดเมื่อวันที่ 27 เมษายน พุทธศักราช 2488 ตรงกับวันศุกร์ แรม 1 ค่ำ เดือน 5 ปีระกา ณ บ้านหนองแวง ตำบลหนองสูงใต้ อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร (จังหวัดนครพนม ในขณะนั้น) โยมบิดาชื่อ คุณพ่อแดง ผิวขำ โยมมารดาชื่อ คุณแม่จอมแก้ว ผิวขำ ท่านเป็นบุตรคนที่ 6 ในจำนวนพี่น้องทั้งหมด 7 คน ซึ่งเป็นหญิง 3 คน เป็นชาย 4 คน พระอาจารย์อินทร์ถวายได้เข้าพิธีบรรพชาเป็นสามเณร ขณะมีอายุ 11 ปี ณ วัดกลางสนาม ตำบลกลางสนาม อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร เมื่อปี พ.ศ. 2500 โดยมี หลวงปู่กงแก้ว ขันติโก เป็นพระอุปัชฌาย์ หลังจากบรรพชาแล้ว ได้ไปอยู่ศึกษาปฏิบัติธรรมกับ หลวงปู่หล้า เขมปัตโต ณ วัดบรรพตคีรี (วัดภูจ้อก้อ) ตำบลหนองตูมใต้ อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร เป็นระยะเวลาทั้งหมด 9 ปี ต่อมาท่านได้รับการญัตติเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมา วัดป่าศิลาวิเวก ตำบลป่าศิลาวิเวก อำเภอเมือง

ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่ผล อินทังกุโร วัดอินทาราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่ผล อินทังกุโร วัดอินทาราม ตำบลทางช้าง อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา " หลวงปู่ผล อินทังกุโร " หรือ "พระครูศีลทิวากร" อดีตเจ้าอาวาสวัดอินทาราม อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา พระเกจิอาจารย์ชื่อดังเมืองกรุงเก่า เกิดในสกุลชมบุหงา เมื่อวันอาทิตย์ที่ 21 พ.ค.2464 ที่ ต.วัดตะกู อ.บางบาล จ.พระนคร ศรีอยุธยา อายุครบ 20 ปี เข้าพิธีอุปสมบท เมื่อวันที่ 5 ก.ค.2484 ที่วัดพนัญเชิง จ.พระนคร ศรีอยุธยา โดยมีพระเขมเทพาจารย์ วัดหัวเวียง เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูเมตตาธิคุณ (เกลี้ยง) วัดตะกู เป็นพระอนุสาวนาจารย์ และพระอธิการคง สุวัณโชโต วัดอินทาราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม ด้วยความจำดีเลิศและมุ่งมั่นจริงจัง ทำให้สามารถสอบได้นักธรรมชั้นตรี-โท-เอก ตามลำดับ ใช้เวลาเพียงแค่ 3 ปี นอกจากศึกษาด้านพระปริยัติธรรมท่านยังได้ให้ความสนใจด้านวิทยาคม ศึกษาวิชากับหลวงพ่อคง วัดอินทาราม พระอุปัชฌาย์ ด้วยการศึกษาเล่าเรียนด้านวิปัสสนากัมมัฏฐาน วิทยาคมจนแตกฉาน อีกทั้งหลวงพ่อคงได้ทำพิธีครอบครูให้ เพื่อสืบสานสรรพวิชาต่างๆ ให้จนหมดสิ้น สำหรับหลวงพ่

ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่คำน้อย จิตฺตคุตฺโต วัดถ้ำภูกำพร้า (วัดภูกำพร้า) จังหวัดมุกดาหาร

ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่คำน้อย จิตฺตคุตฺโต วัดภูกำพร้า อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร เกิด ไม่ทราบ มรณภาพ พ.ศ.2548 อายุ ไม่ทราบ (ว่ากันว่า 200 กว่าปี) พรรษา ไม่ทราบ สำหรับหลวงปู่คำน้อย ว่ากันว่าท่านมีถึงอายุ 238 ปี ท่านพำนักอยู่ วัดถ้ำภูกำพร้า อ.ดงหลวง จ.มุกดาหาร ตั้งแต่ท่าน อายุได้ 100 กว่าปี ท่านก็สามารถนั่งสมาธิถอดจิต ไปเที่ยว สวรรค์ - นรก และ บางคนเชื่อว่าท่านคือเณรคำผู้มีฤทธิ์จากภูเขาควายเมืองลาว ท่านเป็นพระใจดี สำหรับอายุของท่านเท่าที่ถามจากคนเฒ่าคนแก่ในละแวกนั้น เขาก็ว่าเกิดมาก็เห็นหลวงปู่แล้วจนเขามีอายุถึงแปดสิบเก้าสิบ หลวงปู่คำน้อยก็ยังคงอยู่ในสภาพเดิมไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง และเมื่อสอบถามจากหลวงปู่คำน้อยก็ได้คำตอบเหมือนที่ใครๆได้รับรู้จากวาจา ท่านเองคือเปลี่ยนฟันมาสองรอบแล้ว รอบละ 120 ปี เลยอนุมานเอาว่าช่วงนั้นหลวงปู่น่าจะอายุประมาณ 200 กว่า ปี อายุใกล้เคียงกับกรุงเทพมหานคร ก็เลยสันนิษฐานเอาว่าหลวงปู่น่าจะเกิดในสมัยรัชกาลที่ 1 ครับ ปัจจุบันท่านมรณภาพไปแล้วครับ ประมาณปี 2548

ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่เหมือน อินฺทโชโต วัดกำแพง จังหวัดชลบุรี

ประวัติและปฏิปทา พระครูอุดมวิชชากร (หลวงปู่เหมือน อินฺทโชโต) วัดกำแพง ตำบลมะขามหย่ง อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี พระครูอุดมวิชชากร (หลวงปู่เหมือน อินฺทโชโต) อดีตเจ้าอาวาสวัดกำแพง และอดีตเจ้าคณะตำบลบางปลาสร้างเขต 2 หลวงปู่เหมือน ท่านเป็นเกจิดังของวัดกำแพง ตำบลมะขามหย่ง อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี ท่านพัฒนาวัดกำแพงจนมีความรุ่งเรืองในหลายๆ ด้าน และยังเป็นผู้อุปการะ องค์อุปการะยุวพุทธิกสมาคมชลบุรี ในพระสังฆราชูปถัมภ์ , อุปการะโรงเรียนเทศบาลวัดกำแพง (อุดมพิทยากร) และองค์อุปการะมูลนิธิพระครูอุดมวิชชากร อีกด้วย วัตถุมงคลของท่านได้ความนิยมอย่างมากโดยเฉพาะปิดตา และเหรีญรุ่นแรก พระครูอุดมวิชชากร ท่านมีนามเดิมว่า " เหมือน " นามสกุล " ถาวรวัฒนะ " เกิดเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2436 ปีมะเส็ง ณ บ้าน ตำบลมะขามหย่ง อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 โยมบิดาชื่อ ตึ๋ง โยมมารดาชื่อ ปุ่น ถาวรวัฒนะ (มารดาเป็นน้องสาวของหลวงพ่อเจียม อดีตเจ้าอาวาสวัดกำแพง) บรรพชา หลวงปู่เหมือน ท่านบรรพชาเป็นสามเณร แล้วจึงอุปสมบทต่อ อุปสมบท หลวงปู่เหมือน อายุได้ 20

ประวัติหลวงปู่เขียว อินฺทมุนี หรือ พ่อท่านเขียว วัดหรงบน

ประวัติหลวงปู่เขียว อินฺทมุนี หรือ พ่อท่านเขียว วัดหรงบน หลวงปู่เขียว อินทมุนี หรือ พ่อท่านเขียว วัดหรงบน เป็นพระคณาจารย์ชื่อดังแห่งวัดหรงบน ก่อนที่ท่านจะมรณภาพนั้นก็สามารถบอกถึงกำหนดวันมรณภาพล่วงหน้าได้อย่างแม่นยำ นอกจากสังขารท่านจะไม่เน่าเปื่อยแล้วยังเผาไหม้ได้อีกด้วย พระเครื่องและวัตถุมงคลของท่านได้รับความนิยมสูงมาก เช่น เหรียญรูปเหมือน รูปหล่อลอยองค์ ผ้ายันต์รอยมือรอยเท้า เชือกคาดเอว ลูกอม ตะกรุด และพระปิตตา ฯลฯ ประวัติ หลวงปู่เขียว อินทมุนี ท่านเกิดเมื่อปี พุทธศักราช 2424 ในแผ่นดิน ล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 เมื่อยังเยาว์วัย พ่อท่านเขียวอาศัยพระในบ้านช่วยสอนหนังสือให้อ่านเขียนได้ตามอักขระสมัย ท่านชอบศึกษาเล่าเรียนเป็นชีวิตจิตใจ รวมทั้งการศึกษาวิชาอาคมตามประเพณีนิยมของชาติไทยสมัยก่อน จนเมื่อมีอายุได้ 22 ปี ท่านจึงได้ตัดสินใจสละเพศฆราวาส อุปสมบทเมื่อปี พ.ศ. 2446 ณ วัดคงคาวดี (วัดกลาง) ปีเถาะ พ.ศ. 2446 พระครูสมัยนั้น เป็นพระอุปัชฌายะ พระครูบริหารสังฆกิจ (เต็ง) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ พระเกื้อเป็นพระกรรมวาจา ได้รับฉายาว่า "อินทมุนี" หลังจากอุปสมบทแล้ว ท่านก็อยู่รับใช้ป

ประวัติหลวงปู่หมุน ฐิตสีโล วัดบ้านจาน อมตะเถระ ๕ แผ่นดิน อายุ ๑๐๙ ปี

หลวงปู่หมุน ฐิตสีโล " ตัวกูลูกพระพุทธองค์ ครูสิทธิ์ ครูธงค์ องอาจไม่ประมาทครู พบรอยก้มดู เจอครูกราบไหว้ " อิมะมะมามา อิมะมะมามา อิมะมะมามา อิมะมะมามา อิมะมะมามา อิมะมะมามา อิมะมะมามา ผู้เขียน : ClubMahaAud(73) * วาจาสิทธิ์ของหลวงปู่หมุน ที่ได้กล่าวไว้ก่อนละสังขาร ซึ่งลูกศิษย์และชาวบ้านต่างจดจำได้ติดหู คือ " ของๆฉันสร้างเองกับมือ ใครมีไว้บูชาจะ หมุนโชคหมุนลาภ ทำมาค้าขึ้น ไม่มีวันจน ประกอบสัมมาอาชีพใดก็รุ่งเรือง เจริญลาภยศสรรเสริญ จะมีชื่อเสียงหอมขจรขจาย ขอให้เป็นคนดี คิดดี ทำดี ละเว้นชั่ว คุณพระจะรักษา เทวดาจะคุ้มครอง แม้นว่าฉันจะตายไป ของๆ ฉันจะขลังกว่านี้อีกหลายๆเท่า น้ำลาย ไอปาก ลมปราณที่ประจุลงไป ด้วยพลังจิตอันเข้มขลังของฉัน ย่อมเป็น หนึ่งบ่เป็นสอง ครบเครื่องเป็นองค์พระ ที่ดีทั้งนอก ดีทั้งใน ฝากไว้ในแผ่นดิน ให้เลื่องชื่อลือนาม ลือเรื่องถึงเมืองแมน " # หลวงปู่หมุน ท่านกำเนิดเมื่อ พศ.2437-2546 อายุยืนถึง 109 ปี พระเครื่องของท่านออกมา ช่วงบั้นปลายชีวิต ในปีพศ.2542-45 จึงดูเหมือนเป็นพระเครื่องใหม่ อายุพระไม่เกิน10ปี ความนิยมในท้องตลาดพระเครื่อง ยังมีไม่มา

ประวัติหลวงปู่อุดมทรัพย์ หรือ พระอาจารย์จ่อย สิริคุตโต วัดเวฬุวัน

ประวัติหลวงปู่อุดมทรัพย์ (พระอาจารย์จ่อย สิริคุตโต) วัดเวฬุวัน ตำบลพยุห์ อำเภอพยุห์ จังหวัดศรีสะเกษ ชาติภูมิและอุปสมบท ณ บ้านหนองหล่ม อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว ในวันศุกร์ที่  ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๐๓ ในครอบครัวของพ่อลี แม่ตุ่น สว่างกุล ได้ก่อกำเนิดลูกชายคนที่ ๘ จากจำนวนทั้งหมด ๙ คน เด็กคนนี้มีรูปร่างเล็กกว่าลูกคนอื่นๆ พ่อจึงได้ตั้งชื่อว่า "จ่อย" ซึ่งเป็นภาษาอีสานหมายถึงผอมแห้ง เด็กชายจ่อยได้เป็นกำลังสำคัญของครอบครัวด้วยการช่วยทำงานทุกอย่างเหมือนดั่งเด็กโต ในยามว่างสิ่งหนึ่งที่เป็นกิจวัตรประจำวันของเด็กชายจ่อยคือ ชอบไปนั่งคุยกับพระที่วัดถามถึงเรื่องบาปบุญว่ามีจริงไหม บาปอยู่ที่ไหน บุญอยู่ที่ใด เป็นคำถามที่พระในวัดมักจะถูกถามอยู่เสมอๆ ซึ่งพระในวัดท่านก็ตอบว่า "ถ้าอยากรู้ว่าบาปบุญมีจริงไหม ก็ลองมาบวชดูแล้วจะรู้" คำตอบที่พระท่านตอบมาทำให้ในวันนั้นเด็กชายจ่อยฝังใจในการหาคำตอบ พอเริ่มโตเป็นวัยรุ่น จึงได้ไปขออนุญาตพ่อแม่ว่า "บัดนี้ครอบครัวก็เป็นปึกแผ่นแล้ว อยากจะออกบวชเรียน เพื่อศึกษาหาคำตอบที่สงสัยมานาน" เมื่อพ่อแม่ได้ฟังดังนั้นก็ยินดีอนุโมทนาอนุญาตให้บวชเป็นสามเณ

ประวัติและปฏิปทา หลวงพ่อเจริญ ฐานยุตโต วัดโนนสว่าง จังหวัดอุดรธานี

ประวัติและปฏิปทา หลวงพ่อเจริญ ฐานยุตโต ประวัติโดยสังเขป พระครูพิพัฒน์วิทยาคม หรือ หลวงพ่อเจริญ ฐานยุตฺโต) วัดโนนสว่าง ตำบลหมากหญ้า อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี พระครูพิพัฒน์วิทยาคม (หลวงพ่อเจริญ ฐานยุตฺโต) มีนามเดิมว่า เจริญ สารักษ์ เกิดเมื่อวันที่ ๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๐๔ ที่บ้านหนองวัวซอ ตำบลหมากหญ้า (ปัจจุบันคือตำบลหนองวัวซอ) อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี โยมบิดาชื่อ นายสงวน สารักษ์ พื้นเพต้นตระกูลเป็นคนบ้านหนองไข่นก จังหวัดอุบลราชธานี ต่อมาโยมบิดาได้ย้ายถิ่นฐานมาอาศัยอยู่ที่อำเภอหนองวัวซอ โดยมีคุณปู่คือ พ่อใหญ่สารวัตรนา สารักษ์ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในบ้านหนองวัวซอ และมีคุณย่าคือ แม่ใหญ่บัวมี อัควงษ์ ซึ่งพื้นเพมีเชื้อสายมาจากเจ้าเมืองในสมัยเก่าของจังหวัดหนองบัวลำภู ส่วนโยมมารดาชื่อ นางฮวด สารักษ์ (นามสกุลเดิม โคตรรวิช) พื้นเพต้นตระกูลเป็นคนบ้านเชียงหวาง อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี ต่อมาโยมมารดาได้ย้ายถิ่นฐานมาอาศัยอยู่ที่บ้านโนนทัน จังหวัดหนองบัวลำภู และแต่งงานกับโยมบิดาที่บ้านหนองวัวซอ ได้ประกอบสัมมาอาชีพ ทำไร่ทำนา ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันทั้งหมด ๑๐ คน เป็นชาย ๘ คน หญ

ประวัติหลวงพ่อกุหลาบ พุทฺธโชติ หรือ หลวงพ่อกุหลาบ วัดบางเป้ง

ประวัติหลวงพ่อกุหลาบ พุทฺธโชติ หรือ หลวงพ่อกุหลาบ วัดบางเป้ง พระครูพรหมจริยาธิมุตต์ (หลวงพ่อกุหลาบ พุทฺธโชติ) หรือ หลวงพ่อหลาบ วัดบางเป้ง อดีตเจ้าอาวาสวัดบางเป้ง และอดีตเจ้าคณะอำเภอศรีราชา ท่านเป็นเกจิดังของตำบลแสนสุข อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี ท่านพัฒนาวัดบางเป้งจนมีความรุ่งเรือง ท่านเป็นพระที่มีเมตตาสูง ใครมาขอความช่วยเหลือจากท่านท่านก็ช่วยเหลือมิไม่ได้ขาด ท่านเป็นพระเกจิที่ชาวบางแสนให้ความเคารพอย่างมาก และท่านยังให้ความสำคัญของการศึกษาท่านได้สร้างโรงเรียนวัดบางเป้ง (กุหลาบราษฎร์อำนวยวิทย์) ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2509 เป็นต้น ประวัติและสถานะเดิม พระครูพรหมจริยาธิมุตต์ ท่านมีนามเดิมว่า " กุหลาบ " นามสกุล " อุ่นจิตร หรือ อุ่นจิตต์ (ไม่แน่ใจว่าเขียนแบบไหนครับ) " เกิดเมื่อวันอังคาร ขึ้น 9 ค่ำ เดือนยี่ ตรงกับวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2431 บิดาชื่อ นายช้อน มารดาชื่อ นางเจียก อุ่นจิตร ท่านเกิด ณ หมู่ที่ 1 บ้านตำบลแสนสุข อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี (บริเวณสถานีดับเพลิง ต.แสนสุข) ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดาจำนวน 5 คน หลวงพ่อกุหลาบเป็นบุตรคนสุดท้อง ดังนี้ พระอธิการอั