ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มิถุนายน, 2018

ประวัติและปฎิปทา หลวงปู่หมุน ฐิตสีโล อมตะเถระ 5 แผ่นดิน วัดบ้านจาน จังหวัดศรีสะเกษ

ประวัติปฎิปทา หลวงปู่หมุน ฐิตสีโล อมตะเถระ 5 แผ่นดิน วัดบ้านจาน จังหวัดศรีสะเกษ หลวง ปู่หมุน ฐิตสีโล เกิดในสกุล“ ศรีสงคราม”หรือ “ แก้วปักปิ่น” ถือกำเนิดเมื่อ วันพฤหัสบดี เดือน 5 ปีชวด พ.ศ. 2437 ณ บ้านจาน อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ บิดา ชื่อ " ดี "มารดาชื่อ " อั๊ว " มีอาชีพทำไร่ทำนา เป็นเด็กยากจน แต่มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด ต่อมาบิดามารดาเห็นแววทางด้านพระพุทธศาสนา จึงให้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ 14 ปี และนำไปฝากกับพระอาจารย์สีดาเจ้าอาวาสวัดบ้านจาน ซึ่งเป็นพระที่เชี่ยวชาญด้านกรรมฐานและมีวิชาอาคมที่เก่งมาก ในปี 2460 ขณะอายุได้ 23 ปีได้เข้าอุปสมบทหมู่จำนวน 9 รูป โดยหลวงปู่เป็นรูปที่ 9 โดยมีโยมลุงของท่านเป็นเจ้าภาพ โดยมีหลวงพ่อสีดา เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อเพ็งเป็นพระอนุสาวนาจารย์และหลวงพ่อผุยเป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับรับฉายาว่า " ฐิตสีโล " แปลว่า " ผู้มีศีลตั้งมั่น "จากนั้นได้ศึกษาวิชาความรู้จากครูบาอาจารย์ต่าง ๆ ในแถบนั้นเป็นเวลา 4 ปี ก่อนออกแสวงหาครูบาอาจารย์อื่นๆ เพื่อศึกษาคันธธุระและวิปัสสนาธุระในชั้นที่สูงๆ ขึ้นไป ปี พ.ศ.2464 หลวงปู่หมุ

ประวัติและปฏิปทา สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) หรือ สมเด็จเกี่ยว วัดสระเกศ กรุงเทพมหานคร

ประวัติและปฏิปทา สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร หรือ วัดสระเกศ แขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร สมเด็จพระพุฒาจารย์ นามเดิม เกี่ยว โชคชัย ฉายา อุปเสโณ (11 มกราคม พ.ศ. 2471 - 10 สิงหาคม พ.ศ. 2556) เป็นสมเด็จพระราชาคณะฝ่ายมหานิกาย อดีตเจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร อดีตผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช และประธานสมัชชามหาคณิสสร เป็นพระเถระที่มีอาวุโสโดยสมณศักดิ์สูงสุดของมหาเถรสมาคม เนื่องจากสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน) ทรงพระประชวร และเสด็จเข้าประทับรักษาพระองค์ ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มาตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2545 ทำให้เข้าร่วมงานพระศาสนาไม่สะดวก มหาเถรสมาคม จึงได้แต่งตั้งให้สมเด็จพระพุฒาจารย์ เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช ในต้นปี พ.ศ. 2547 ต่อมาการแต่งตั้งนั้นได้สิ้นสุดลงเพราะครบระยะเวลาที่กำหนด มหาเถรสมาคมจึงมีมติให้แต่งตั้ง คณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช เพื่อบริหารกิจการคณะสงฆ์แทนสมเด็จพระญาณสังวรฯ โดยมีสมเด็จพระพุฒาจารย์ในฐานะมีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ที่สามาร

ประวัติและปฏิปทา หลวงพ่อไสว ฐิตวัณโณ วัดปรีดาราม (ยายส้ม) จังหวัดนครปฐม

ประวัติและปฏิปทา พระครูสถิตโชติคุณ (หลวงพ่อไสว ฐิตวัณโณ) พระครูสถิตโชติคุณ (หลวงพ่อไสว ฐิตวณฺโณ) (18 มกราคม 2464 - 11 พฤศจิกายน 2543) อดีตเจ้าอาวาสวัดปรีดาราม (ยายส้ม) ตำบลคลองจินดา อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม พระเกจิอาจารย์ผู้มีความเชี่ยวชาญด้านเมตตามหานิยม ลงนะหน้าทอง หลวงพ่อไสว ฐิตวณฺโณ ท่านเกิดเมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2464 ตรงกับพุธ แรม 6 ค่ำ เดือนยี่ ปีระกา ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว บิดาชื่อ นายเสือ มารดา นางอิ่ม นามสกุล "พุทธศร" โดยโยมบิดาเป็นผู้ใหญ่บ้านจอมขมังเวทย์ เป็นคนใจดี แต่สนใจเรื่องวิชาอาคมต่างๆ เวลาดื่มเหล้าชอบเคี้ยวแก้วเล่นประจำ แสดงให้ชาวบ้านเห็นว่าวิชาคงกระพันชาตรีของโบราณเป็นของแท้มีจริง แถมยังมีพุทธาคมดับพิษไฟได้ถึงขนาดพ่นไฟ อมไฟเล่นให้ชาวบ้านเห็นเสมอๆ และเป็นการจุดประกายขึ้นภายในจิตใจของ ด.ช.ไสว พุทธศร ให้ชอบและเชื่อในเรื่องของอำนาจเวทมนตร์คาถาอาคมขมัง และพุทธานุภาพของพุทธมนต์ต่างๆ ตั้งแต่ยังอยู่ในวัยเยาว์ ต่อมาบิดาเสียชีวิตแล้ว ท่านก็ได้ร่อนเร่พเนจร ไปอยู่ที่ต่างๆ หลายแห่งกระทั่งผลบุญนำมาเป็นเด็กวัดยายส้มหรือวัดปรีดารามในปั

ประวัติและปฏิปทา สมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัด เสนีย์วงศ์) วัดโพธิ์ (วัดโพธิ์ ท่าเตียน) กรุงเทพมหานคร

ประวัติและปฏิปทา หม่อมเจ้าพระสมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัด) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร หรือ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือ วัดโพธิ์ (วัดโพธิ์ ท่าเตียน) แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร หม่อมเจ้าพระสมเด็จพระพุฒาจารย์ พระนามเดิม หม่อมเจ้าทัด (9 ตุลาคม พ.ศ. 2365 - 10 มิถุนายน พ.ศ. 2443) อดีตเจ้าคณะอรัญวาสี เจ้าคณะใหญ่คณะกลาง และเจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร หม่อมเจ้าพระสมเด็จพระพุฒาจารย์ มีพระนามเดิมว่าหม่อมเจ้าทัด ประสูติเมื่อวันพุธ แรม 9 ค่ำ เดือน 11 ปีมะเมีย ตรงกับวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2365 เป็นพระโอรสในพระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าแตง กรมหลวงเสนีบริรักษ์ กับหม่อมบุญมา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว หม่อมเจ้าทัดได้ผนวชเป็นสามเณรที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม แล้วไปเล่าเรียนกับพระมหาโต ที่วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร จนอายุครบอุปสมบทในปี พ.ศ. 2385 จึงผนวชเป็นภิกษุที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม มีสมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระมหาโตเป็นพระกรรมวาจาจารย์ ผนวชแล้วไปประทับที่วัดระฆังโฆสิตารามตามเดิม พ.ศ. 2392 ไ

ประวัติและปฏิปทา ท่านเจ้ามา อินทสโร วัดจักรวรรดิราชาวาส (วัดสามปลื้ม) กรุงเทพมหานคร

ประวัติและปฏิปทา พระพุฒาจารย์ (ท่านเจ้ามา อินทสโร) วัดจักรวรรดิราชาวาสวรมหาวิหาร หรือนิยมเรียกกันสั้น ๆ ว่า วัดจักรวรรดิ หรือ วัดจักรวรรดิราชาวาส (วัดนางปลื้ม หรือ วัดสามปลื้ม) ถนนจักรวรรดิ แขวงจักรวรรดิ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร พระพุฒาจารย์ (มา อินฺทสโร) นามเดิม มา หรือที่รู้จักในนามท่านเจ้ามา เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะอรัญวาสี อดีตเจ้าอาวาสวัดจักรวรรดิราชาวาสวรมหาวิหาร พระพุฒาจารย์ มีนามเดิมว่า มา เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2380 ตรงกับวันขึ้น 12 ค่ำ เดือน 10 ปีระกา ถึงปีระกา พ.ศ. 2401 ได้บวชเป็นพระภิกษุ ณ วัดจักรวรรดิราชาวาส โดยพระอาจารย์นองเป็นพระอุปัชฌาย์ ได้ฉายาว่า อินฺทสโร ได้ศึกษาวิปัสสนาธุระแล้วออกจาริกธุดงค์แทบทุกปี แล้วกลับมาเป็นอาจารย์สอนวิปัสสนาอยู่ที่วัดจักรวรรดิราชาวาส สมณศักดิ์ พ.ศ. 2413 เป็น พระปลัดมา ฐานานุกรมในพระวรญาณมุนี (เส็ง) 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2432 ตั้งเป็นพระครูสัญญาบัตรที่ พระครูภาวนาวิจารณ์ ผู้ช่วยกิจการในวัดจักรวรรดิราชาวาส มีนิตยภัตเดือนละตำลึง 2 บาท ได้รับพระราชทานไตรผ้าสลับแพร ตาลปัตรพุดตานหักทองขวาง พัดรองโหมด ย่ามอัตลัด บาตรถุงอัตล

ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่บุญ ขันธโชติ วัดกลางบางแก้ว จังหวัดนครปฐม

ประวัติและปฏิปทา พระพุทธวิถีนายก (หลวงปู่บุญ ขันธโชติ) วัดกลางบางแก้ว ตำบลดอนแฝก อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม พระพุทธวิถีนายก หรือ หลวงปู่บุญ ขนฺธโชติ (3 กรกฎาคม พ.ศ. 2391 - 4 เมษายน พ.ศ. 2478) เป็นอดีตเจ้าอาวาสวัดกลางบางแก้ว วัตถุมงคลของท่านที่นับว่าขึ้นชื่อที่สุดคือ เหรียญเจ้าสัว พระผงยาวาสนา จินดามณี และเบี้ยแก้ที่มีคุณวิเศษทั้งรักษาโรค และ เมตตามหานิยม และแก้เหตุร้ายให้กลายเป็นดี พระพุทธวิถีนายก มีนามเดิมว่า บุญ เกิดเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2391 ตรงกับปลายรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ตำบลท่าไม้ อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร เป็นบุตรชายคนโตในจำนวนที่น้อง 6 คนของนายเส็งและนางลิ้ม ตอนเด็กเคยเป็นไข้หนักถึงสลบ บิดามารดาเข้าใจว่าตายแล้ว ขณะเตรียมจะเอาไปฝังได้กลับฟื้นขึ้นมาอีก จึงขนานนามว่า บุญเมื่อบิดาถึงแก่กรรม ป้าของท่านได้นำมาฝากให้อยู่กับพระปลัดทอง วัดคงคาราม (วัดกลางบางแก้ว) อำเภอนครชัยศรี เมื่อมีอายุ 15 ปีจึงบรรพชาเป็นสามเณร และได้อุปสมบท ณ พัทธสีมาเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2412 โดยมีพระปลัดปาน วัดตุ๊กตา เป็นพระอุปัชฌาย์ พระปลัดทอง วัดกลางบางแก้

ประวัติและปฏิปทา สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสสเทโว) วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพมหานคร

ประวัติและปฏิปทา สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสสเทโว) วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร หรือ วัดสุทัศนเทพวราราม หรือ วัดสุทัศน์ แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช พระนามเดิม แพ ฉายา ติสฺสเทโว เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 12 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร ทรงดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทรงดำรงตำแหน่งอยู่ 6 ปี สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2487 ขณะพระชันษาได้ 89 ปี พระประวัติ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช มีพระนามเดิมว่าแพ ประสูติในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2399 เป็นชาวสวนบางลำภูล่าง อำเภอคลองสาน จังหวัดธนบุรี พระชนกชื่อนุตร พระชนนีชื่ออ้น สกุล พงษ์ปาละ เมื่อพระชันษาได้ 7 ปี ได้ไปศึกษาอักษรสมัยกับสมเด็จพระวันรัตน์ (สมบุรณ์) ขณะยังเป็นเจ้าอาวาสวัดทองนพคุณ กรุงเทพมหานคร เมื่อสมเด็จพระวันรัตน์ (สมบุรณ์) ย้ายไปครองวัดราชบุรณราชวรวิหาร พระองค์ได้ย้ายตามไปด้วย ได้บรรพช

ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่เพิ่ม ปุญญวสโน วัดกลางบางแก้ว จังหวัดนครปฐม

ประวัติและปฏิปทา พระพุทธวิถีนายก (หลวงปู่เพิ่ม ปุญญวสโน) พระพุทธวิถีนายก นามเดิม เพิ่ม ฉายา ปุญฺญวสโน วัดกลางบางแก้ว ตำบลดอนแฝก อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม พระพุทธวิถีนายก หรือ หลวงปู่เพิ่ม ปุญฺญวสโน เกิดเมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2429 ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อปี พ.ศ. 2437 ขณะมีอายุได้ 8 ปี บวชเป็นสามเณรมาอยู่จนถึงอายุบวชเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2450 ท่านได้เข้าทำพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดกลางบางแก้ว โดยมีสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทโว) ครั้งยังดำรงสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระวันรัตเป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการจอม เจ้าอาวาสวัดตุ๊กตา เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูทักษิณานุกิจ วัดสรรเพชญ์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ หลังจากนั้น ท่านได้ศึกษาพระธรรมวินัยอยู่ที่วัดกลางบางแก้วตลอดมา และท่านก็เป็นลูกศิษย์เอกของพระพุทธวิถีนายก (บุญ ขนฺธโชติ) ท่านได้อยู่รับใช้หลวงปู่บุญ จนกระทั่งหลวงปู่บุญท่านมรณภาพลงในปี พ.ศ. 2478 จากนั้นก็มีเจ้าอาวาสรักษาการอยู่ประมาณ 4 ปีต่อจากนั้น หลวงปู่เพิ่ม ได้รับสมณศักดิ์และตำแหน่งในคณะสงฆ์

ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่สี ฉันทสิริ วัดเขาถ้ำบุญนาค จังหวัดนครสวรรค์

ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่สี ฉันทสิริ วัดเขาถ้ำบุญนาค ตำบลตาคลี อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ หลวงปู่สี ฉนฺทสิริ ท่านเกิดเมื่อปี พ.ศ. 2392 ตรงกับปลายรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ท่านเป็นพระลูกวัดในสังกัด วัดเขาถ้ำบุญนาค ซึ่งขณะนั้น หลวงพ่อมหาสมบูรณ์ ปริสัมปุณโน เป็นเจ้าอาวาสได้นิมนต์หลวงปู่มาจำวัดเพื่อให้ช่วยสร้างวัด หลวงปู่สี ฉนฺทสิริ ท่านเป็นชาวเมืองสุรินทร์ เมื่ออายุ 21 ปี ท่านถูกเข้าเกณฑ์ทหารเข้ารับราชการ และเมื่อปลดจากสภาพการเป็นทหารมาแล้ว ท่านก็มายึดใช้อาชีพค้าวัว ค้าควาย และเป็นพราน อยู่แถวๆเขตช่องแค ซึ่งแต่เดิมมีสภาพเป็นป่าดงดิบ และยังไม่ได้ตั้งเป็นอำเภอตาคลี ท่านใช้ชีวิตเป็นหนุ่มอยู่หลายปีและรู้สึกเบื่อหน่ายทางโลก จึงได้อุปสมบทเมื่อปี พ.ศ. 2431 โดยมี พระครูธรรมขันธ์สุนทร เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อบวชได้ระยะหนึ่งแล้ว ท่านจึงได้ย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่ ถ้ำเขาเสียบ เขตช่องแค อำเภอตาคลี เพราะก่อนบวชท่านเคยอยู่ในเขตนี้มาก่อน ก่อนที่จะมาอยู่ที่วัดเขาถ้ำบุญนาค อำเภอตาคลีนั้น หลวงปู่สีท่านอยู่ที่วัดหนองลมพุก อำเภอโนนสังข์ จังหวัดอุดรธานี ในปีพ.ศ. 2512 พระพระครูนิวิฐปริย

ประวัติและปฏิปทา หลวงพ่อสงฆ์ จันทสโร วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย จังหวัดชุมพร

ประวัติและปฏิปทา หลวงพ่อสงฆ์ จันทสโร วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย ตำบลบางลึก อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร หลวงพ่อสงฆ์ จนฺทสโร ท่านมีนามเดิมว่า สง เกิดเมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2432 ณ บ้านหนองหลวง จังหวัดชุมพร บิดาของท่านคือ นายแดง มารดาชื่อ นางนุ้ย มีอาชีพทำเกษตรกรรม ต่อมาเมื่ออายุ 18 ปี ท่านได้เข้าบรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดสวี วัดใกล้บ้าน บวชได้ไม่นานท่านก็ลาสิกขาบทออกมาช่วยบิดามารดาทำนาเกษตรกรรมต่อไป จนกระทั่งในปีพ.ศ. 2452 ขณะที่ท่านมีอายุครบ 20 ปี ท่านได้เข้าอุปสมบทเป็นพระภิกษุ และได้รับความเมตตาจาก หลวงพ่อชื่น เป็นพระอุปัชฌาย์ได้ให้ฉายาว่า จนฺทสโร ภายหลังการอุปสมบท ท่านก็ได้ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมในเรื่องพระธรรมวินัย และได้รู้เกี่ยวกับเรื่องชีวิตเพศพรหมจรรย์ พอสำเร็จแล้ว ท่านก็ได้เริ่มศึกษาสนใจเรื่องการนั่งวิปัสนนากรรมฐาน หลวงพ่อท่านได้กราบลาพระอาจารย์เพื่อออกเดินทางธุดงค์ไปหาพระอาจารย์ที่เชี่ยวชาญทางด้านนี้ หลวงพ่อท่านก็ต้องพบเจอกับป่าไพร และในป่านี้ก็อันตรายมาก แต่ท่านก็มีความอดทน สุดท้ายท่านก็รอดพ้นอุปสรรคทั้งหมดได้ ต่อมาหลวงพ่อท่านได้พบเจอพระอาจารย์รอด วัดโต๊ะแซ หรือตอแซ ซึ่งเป็นพร

ประวัติและปฏิปทา พระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต วัดสร้อยทอง กรุงเทพมหานคร

ประวัติและปฏิปทา พระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต วัดสร้อยทอง หรือ วัดสร้อยทองพระอารามหลวง แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร พระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต (นครไธสง) หรือที่รู้จักกันดีทั่วไปในนาม " พระมหาสมปอง " เป็นพระนักเทศน์ชื่อดังอีกท่านหนึ่งของเมืองไทย ท่านเกิดเมื่อปี พ.ศ. 2521 และบรรพชาอุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์ เมื่อ พ.ศ. 2541 ปัจจุบันพระมหาสมปองจำพรรษาอยู่ที่วัดสร้อยทอง (พระอารามหลวง) กรุงเทพมหานคร พระมหาสมปอง เป็นพระนักเผยแผ่พระพุทธศาสนารุ่นใหม่ และนักบรรยายธรรมที่เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง และเป็นนักเขียนที่ผลิตผลงานและหนังสือออกมาอย่างสม่ำเสมอในยุคปัจจุบัน จนได้รับพิจารณาให้ได้รับรางวัลนักเผยแผ่พระพุทธศาสนาจากองค์กรต่าง ๆ มากมาย เช่นรางวัลพระราชทานรางวัลเสาเสมาธรรมจักร จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารีฯ ในงานสัปดาห์พระพุทธศาสนาวิสาขบูชาประจำปี 2551 เป็นต้น พระมหาสมปอง ฉายา ตาลปุตฺโต แปลว่าบุตรของนางตาล (ที่มาของฉายานี้พระมหาสมปองขออนุญาตพระอุปัชฌาย์ตั้งเอง) มีนามสกุลเดิมว่า นครไธสง ท่านเกิดเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายนพ.ศ. 2521 ที่ จ.ชัยภูมิ เป็นคนเล็กจากจำนวนพี่น้อง 7 คน

ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่สาม อกิญจโน วัดป่าไตรวิเวก จังหวัดสุรินทร์

ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่สาม อกิญจโน หลวงปู่สาม อกิญฺจโน อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าไตรวิเวก ตำบลนาบัว อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ พระป่าปฏิบัติศิษย์สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต, หลวงปู่ดูลย์ อตุโล และหลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม หลวงปู่สาม มีนามเดิมว่า สาม เกษแก้วสี เกิดเมื่อวันอาทิตย์ เดือน 10 ตรงกับเดือนกันยายน พ.ศ. 2443 ณ บ้านนาสาม ต.นาบัว อ.เมือง จ.สุรินทร์ โยมบิดา-โยมมารดาชื่อ นายปวม และนางถึง เกษแก้วสี มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันทั้งหมด 11 คน ท่านเป็นบุตรคนโต (หัวปี) การบรรพชาและอุปสมบท ชีวิตในวัยเด็กนั้นสุดแสนยากลำบาก เพราะท่านต้องทำงานทุกอย่าง ลักษณะคล้ายผู้หญิงด้วยว่า น้องๆ ของท่านเป็นผู้ชายเสียหมด ไม่มีผู้หญิงเลย เมื่ออายุ 19 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร สายมหานิกาย ณ วัดบ้านนาสาม อันเป็นวัดใกล้บ้านเกิดของท่าน จนกระทั่งอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ โดยมีพระครูวิมลศีลพรต เป็นพระอุปัชฌาย์ พระป่าศิษย์สาย “หลวงปู่มั่น” ภายหลังอุปสมบท ท่านได้มุ่งมั่นศึกษาพระธรรมวินัย ต่อมาใน พ.ศ. 2467 เมื่อทราบข่าวและกิตติศัพท์ของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล ว่าได้กลับจากธุดงค์และจำพ

ประวัติ หลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด วัดช้างให้

ประวัติ หลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด วัดช้างให้ สมเด็จเจ้าพะโคะหรือหลวงพ่อทวด เป็นที่รู้จักของชาวไทยทุกภูมิภาคในฐานะพระศักดิ์สิทธิ์ที่มีอิทธิปาฏิหาริย์และอภิญญาแก่กล้าจนได้สมญาว่า “หลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด” ประวัติอันพิสดารของท่านมีเล่าสืบกันมาไม่รู้จบสิ้น ยิ่งนานวันยิ่งซับซ้อนและขยายวงกว้างออกไปกลายเป็นความเชื่อความศรัทธาอย่างฝังใจ หลวงปู่ทวดเป็นบุคคลที่มีตัวตนจริงๆ เรื่องราวต่อไปนี้ผู้เขียนได้รวบรวมจากหนังสืออ้างอิงหลายเล่มทั้งที่เป็นตำนานหลักฐานทางประวัติศาสตร์ หนังสือและเอกสารต่างๆ พอจะให้ท่านผู้อ่านได้ทราบว่า หลวงพ่อทวดคือใคร เกิดในสมัยใดและได้สร้างคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติและพระศาสนาไว้อย่างไรบ้าง เพื่อเป็นคติเตือนใจแก่อนุชนรุ่นหลังสืบไป ทารกอัศจรรย์ เมื่อประมาณสี่ร้อยปีที่ผ่านมาในตอนปลายรัชสมัยของพระมหาธรรมราชา แห่งกรุงศรีอยุธยา ณ หมู่บ้านสวนจันทร์ ตำบลชุมพล เมืองจะทิ้งพระตรงกับวันศุกร์ เดือนสี่ ปีมะโรง พุทธศักราช 2125 ได้มีทารกเพศชายผู้หนึ่งถือกำเนิดจากครอบครัวเล็กๆ ฐานะยากจนแร้นแค้น แต่มีจิตอันเป็นกุศล ชอบทำบุญสุนทานยึดมั่นในศีลธรรมอันดี ปราศจากการเบียดเบียนมนุษย์แ

ประวัติ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

ประวัติ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) มีประวัติเป็นที่ประทับใจประชาชนคนไทยอย่างไรเห็นจะไม่ต้องพูดกัน เพราะหลายท่านทราบกันดีอยู่แล้วในกิตติศัพท์อันเลื่องลือของ "สมเด็จโต" โดยที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรสี) ได้เคยเป็นเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตารามเมื่อ พ.ศ. 2395 และวัดระฆังเป็นวัดที่อยู่ในพื้นที่เขตบางกอกน้อย ชาวบางกอ น้อยจึงถือท่านเป็นเสมือนเพชรประดับในเรือนใจของชาวบางกอกน้อย วันที่ 15 ตุลาคม 2538 เป็นวันที่เขตบางกอกน้อยมีอายุครบ 80 ปี ผู้เขียนจึงขอเชิญประวัติและอภินิหารของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรสี) ตามที่ได้มีตำนานเล่าขานกันมา มาเรียบเรียงไว้ในหนังสือ "80 ปี เขตบางกอกน้อย" โดยหวังให้เป็นมูลสำหรับอนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาหาความรู้สืบไป ประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ชาตะ วันพฤหัสบดีที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2331 ตรงกับเดือน 5 ขึ้น 12 ค่ำ ปีวอก จ.ศ. 1150 เวลา พระบิณฑบาต 06.45 น. (ย่ำรุ่ง 9 บาท ) มารดาชื่อ งุด เกศ บิดาไม่ปรากฏแน่ชัด(บางแห่ง อ้างว่าเป็นราชวงศ์จักกรี) บวชเป็นสามเณร เมื่ออายุได้ 13 ปี ณ วัดใหญ่เมือง