ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤษภาคม, 2018

ประวัติครูบาคำหล้า สังวโร หรือ สังวโร ภิกขุ

ประวัติครูบาคำหล้า สังวโร หรือ สังวโร ภิกขุ สังวโร ภิกขุ (ครูบาคำหล้า สํวโร) หรือ ครูบาคำหล้า สังวโร หรือ อาจารย์หล้า เป็นพระมหาเถระแห่งล้านนา ผู้ที่บูรณะพระธาตุสำคัญหลายแห่ง เช่น พระธาตุดอยตุง วัดพระธาตุดอยจอมสักสังวราราม พระธาตุดอยเขาควาย จังหวัดเชียงราย เจดีย์วัดนาหนุน จังหวัดน่าน ฯลฯ ประวัติ ครูบาคำหล้า สังวโร เกิดเมื่อวันพุธที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2460 ที่บ้านเลขที่ 16 หมูที่ 14 ตำบลรอบเวียง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย เป็นบุตรคนสุดท้องของ นายใจ และนางน้อย สุภายศ เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เมื่ออายุได้ 8 ปี ที่โรงเรียนจำรูญราษฎร์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย พออายุ 9 ปี ได้ล้มป่วยกระเสาะกระแสะ พ่อแม่จึงนำไปถวายตัวเป็นลูกศิษย์ครูบาศรีวิชัย สิริวิชโย ซึ่งขณะนั้นท่านพำนัก ณ วัดเชียงยืน (วัดสันโค้งหลวง) อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย มีพี่น้องร่วมสายโลหิตด้วยกัน 5 คน และท่านเป็นคนสุดท้องจึงได้นามว่า “คำหล้า” มีรายชื่อดังนี้ นางบุญปั๋น เนตรสุวรรณ นางสุจา วิจิตรรัตน์ (เสียชีวิต) นายสุข สุภายศ (เสียชีวิต) นางสุวรรณ สุรัตน์ ครูบาคำหล้า สํวโร(มรณภาพ) บรรพชา ครูบาศรีวิชัย ได้ทำการ

ประวัติหลวงปู่เครื่อง สุภัทโท หรือ หลวงปู่เครื่อง วัดสระกำแพงใหญ่

ประวัติหลวงปู่เครื่อง สุภัทโท หรือ หลวงปู่เครื่อง วัดสระกำแพงใหญ่ พระมงคลวุฒ (เครื่อง สุภทฺโท) หรือ หลวงปู่เครื่อง สุภทฺโท ท่านมีนามเดิมว่า เครื่อง ประถมบุต เกิดเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2453 ณ บ้านค้อกำแพง (ปัจจุบันคือ บ้านหนองแปน) หมู่ที่ 3 ต.สระกำแพงใหญ่ อ.อุทุมพรพิสัย จ.ศรีสะเกษ เป็นบุตรของนายสอน และ นางยม ประถมบุตร มีพี่น้องร่วมบิดามารดาทั้งหมด 14 คน ท่านเป็นบุตรคนที่ 4 แต่พี่น้องเสียชีวิตไปในวัยเยาว์ 6 คน คงเหลืออยู่เพียง 8 คน ต่อมาเมื่อวัยเยาว์ตอนอายุได้ 8 ปี ท่านได้ศึกษาเล่าเรียนภาษาไทย กับลุงเกษ ประถมบุตร ซึ่งเป็นลุงแท้ ๆ ของท่าน ซึ่งเป็นครูสอนอยู่กับบ้านตอนเย็นหรือตอนกลางคืนเวลาว่างๆ เท่านั้น ครั้นต่อมาเมื่อมีอายุได้ 15 ปี ท่านก็ได้เข้าเรียนที่โรงเรียนรัฐบาลที่วัดสระกำแพงใหญ่ และมีพพี่น้องของท่านได้เข้าไปเรียนหนังสือพร้อมกันถึง 3 คน แต่ว่าไม่มีใครช่วยพ่อแม่ทำเกษตรกรรมหรือเลี้ยงสัตว์ โยมพ่อจึงให้พี่น้องพลัดกันไปเรียนคนละวัน ต่อมาหลวงปู่จึงได้ตัดสินใจมเล่าเรียนที่โรงเรียนคนเดียว ท่านเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ชั้นยประถมศึกษาปีที่ 2 ท่านเรียนได้ครึ่งปี รัฐบาลก็มีกำ

ประวัติหลวงพ่อคล้าย จันทสุวัณโณ หรือ พ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์

ประวัติหลวงพ่อคล้าย จันทสุวัณโณ หรือ พ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์ พระครูพิศิษฐ์อรรถการ (คล้าย จนฺทสุวณฺโณ) หรือ หลวงพ่อคล้าย จนฺทสุวณฺโณ หรือ หลวงพ่อคล้าย วัดสวนขัน ( พ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์ ) อดีตเจ้าอาวาสวัดสวนขันและวัดพระธาตุน้อย เดิมชื่อ คล้าย สีนิล เกิดวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2417 ตรงกับวันอังคาร ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 ปีชวด จ.ศ.1238 ร.ศ.95 ที่บ้านโคกทือ ตำบลช้างกลาง กิ่งอำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นบุตรของนายอินทร์ นางเหนี่ยว สีนิล มีพี่สาว 1 คน ชื่อนางเพ็ง มรณภาพด้วยโรคหืด เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2513 รวมอายุได้ 96 ปี เมื่อบำเพ็ญกุศลครบ 100 วัน จึงได้บรรจุสรีระของท่านไว้ในโลงแก้ว ประดิษฐานอยู่ในองค์พระเจดีย์ในวัดพระธาตุน้อยจนถึงปัจจุบัน ลักษณะนิสัย เป็นคนมีมานะอดทน ขยันหมั่นเพียร อยู่ในโอวาทคำสั่งสอนของบิดามารดาและครูอาจารย์อย่างเคร่งครัด สุภาพ เรียบร้อย ว่านอนสอนง่าย นิสัยอ่อนโยนละมุนละไม จึงเป็นที่รักของบิดามารดา ครูอาจารย์และญาติมิตรเป็นอันมาก เมื่ออายุ 15 ปี ประสบอุบัติเหตุในการถางป่าทำไร่กระดูกปลายเท้า สามนิ้วแตกละเอียด รักษาไม่หาย ด้วยกำลังใจที่เด็ดเดี่ยว พ

ประวัติหลวงพ่อคง สิริมโต หรือ หลวงพ่อคง วัดบ้านสวน จังหวัดพัทลุง

ประวัติหลวงพ่อคง สิริมโต หรือ หลวงพ่อคง วัดบ้านสวน พระครูพิพัฒน์สิริธร (คง สิริมโต) หรือ หลวงพ่อคง สิริมโต หรือ หลวงพ่อคง วัดบ้านสวน (7 มกราคม พ.ศ. 2445 - 23 กันยายน พ.ศ. 2517) อดีตเจ้าคณะตำบลมะกอกเหนือ อำเภอควบขนุน จังหวัดพัทลุง ท่านเป็นศิษย์ของพระครูสิทธยาภิรัต (พระอาจารย์เอียด) วัดดอนศาลา และศึกษาเพิ่มเติมจากตำราไสยศาสตร์ของท่านอาจารย์เฒ่า วัดเขาอ้อ จนมีความรู้แตกฉานและทรงวิทยาคุณในวิชาแขนงนี้ เป็นที่รู้จักและเคราพนับถือจากประชาชนทั่วไปทั้งในจังหวัดพัทลุง และจังหวัดอื่นๆในระยะที่บ้านเมืองไม่สงบสุขจากภัยผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ท่านกับอาจารย์ชุม ไชยคีรี ได้ร่วมกันจัดสร้างพระเครื่องวัดบ้านสวนขึ้น ประกอบพิธีพุทธาภิเษกและปลุกเสกด้วยตัวท่านเองเมื่อปี พ.ศ. 2511 แล้วนำมาแจกจ่ายให้กับเหล่าทหาร ตำรวจ ข้าราชการ และประชาชนผู้ปฏิบัติหน้าที่เสี่ยงอันตรายทั่วประเทศ และพระเครื่องอีกมากมายที่ได้ทูลเกล้า ฯ แด่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ประวัติ หลวงพ่อท่านเกิดเมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2445 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 ณ บ้านทุ่งสำโรง ตำบลนาขยาด อำเภอควบขนุน จังหวัดพัทลุง เป็นบุตรข

ประวัติหลวงพ่อคง ฐิติวิริโย หรือ หลวงพ่อคง วัดเขากลิ้ง จังหวัดเพชรบุรี

ประวัติหลวงพ่อคง ฐิติวิริโย หรือ หลวงพ่อคง วัดเขากลิ้ง จังหวัดเพชรบุรี พระครูถาวรวิริยคุณ (คง ฐิตวิริโย) หรือ หลวงพ่อคง ฐิติวิริโย หรือ หลวงพ่อคง วัดเขากลิ้ง ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดเขากลิ้ง องค์แรกและองค์ปัจจุบัน ชื่อเกิดของท่านคือ นายคง แก่นไม้อ่อน ท่านเกิดเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2466 ตรงกับปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่บ้านบางพลับน้อย ต.บางพลับ อ.สองพี่น้อง จ. สุพรรณบุรี มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ๔ คน วัยเด็ก ท่านได้ย้ายจากจังหวัดสุพรรณบุรีมาอยู่ที่จังหวัดเพชรบุรี โดยย้ายมาอยู่กับย่าพลอย และท่านก็เป็นผู้ดูแลด้านการศึกษา อบรมเลี้ยงดูให้เป็นคนดี ท่านได้เข้าเรียนที่โรงเรียนเบญจมเทพอุทิศโรงเรียนนี้จะอยู่ใกล้ ๆ กับ วัดชีประชาอินทร์ อ.เมือง จ.เพชรบุรี เรียนได้ 2 ปี ก็ย้ายออกเนื่องจากญาติของท่านต้องย้ายมารับราชการที่จังหวัดภูเก็ต และย่าพลอยได้ส่งหลวงพ่อท่านไปอยู่ที่วัดปากท่อ จ.ราชบุรี หลวงพ่อท่านได้เรียนหนังสือที่วัดปากท่อ 3 ปี ต่อมาท่านก็กลับมาอยู่ที่ภูเก็ตกับย่าพลอยเหมือนเดิม แต่ต่อมาคุณยายพลอยได้ถึงแก่กรรมด้วยโรคอหิวาตกโรค ทำให้ชีวิตของท่านอยู่อย่างโดดเดี่

ประวัติหลวงพ่อเขียน ขันธสโร หรือ หลวงปู่เขียน วัดกระทิง

ประวัติหลวงพ่อเขียน ขันธสโร หรือ หลวงปู่เขียน วัดกระทิง พระครูธรรมสรคุณ (เขียน ขนฺธสโร) หรือ หลวงพ่อเขียน ขนฺธสโร หรือ ท่านพ่อเขียน ขันธสโร (18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2473 — 28 เมษายน พ.ศ. 2555) พระเกจิอาจารย์อีกท่านหนึ่งแห่ง จันทบุรี อดีตเจ้าอาวาสวัดกระทิงท่านเป็นผู้มีอิทธิฤทธิ์และมีอิทธิปาฏิหาริย์ มีวิชาอาคมอันแก่กล้า โดยเฉพาะ ท่านสามารถใช้เวทมนตร์ สะกดพวกสัตว์ป่า ไม่ให้ออกมาเพ่นพ่าน ในตอนที่ เขาคิชฌกูฎ ได้เปิดให้ผู้คนขึ้นมาสักการะพระพุทธรูป ไหว้พระ และมากราบนมัสการท่าน ประวัติ ท่านเกิดเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2473 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ณ บ้านกะทิง ต.พลวง อำเภอเขาคิชฌกูฏ (ขณะนั้นเป็นอำเภอมะขาม) จ.จันทบุรี เป็นบุตรของนายอยู่ และ นางมุ้ง ทองคำ ในครอบครัวของท่านประกอบอาชีพพวกเกษตรกรรม และการหาของป่าสมุนไพร ดังนั้น ท่านจึงได้รับการถ่ายทอดวิชาพืชสมุนไพรและของป่าบนเขาคิชฌกูฏ จนมีความชำนาญ ในช่วงวัยเรียน ท่านเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่โรงเรียนวัดกะทิง ต.พลวง กิ่ง อ.เขาคิชฌกูฏ จ.จันทบุรี จนกระทั่งพอท่านมีอายุครบบวช ท่านจึงได้อุปสมบทเมื่อว

ประวัติหลวงปู่เขียว อินฺทมุนี หรือ พ่อท่านเขียว วัดหรงบน

ประวัติหลวงปู่เขียว อินฺทมุนี หรือ พ่อท่านเขียว วัดหรงบน หลวงปู่เขียว อินทมุนี หรือ พ่อท่านเขียว วัดหรงบน เป็นพระคณาจารย์ชื่อดังแห่งวัดหรงบน ก่อนที่ท่านจะมรณภาพนั้นก็สามารถบอกถึงกำหนดวันมรณภาพล่วงหน้าได้อย่างแม่นยำ นอกจากสังขารท่านจะไม่เน่าเปื่อยแล้วยังเผาไหม้ได้อีกด้วย พระเครื่องและวัตถุมงคลของท่านได้รับความนิยมสูงมาก เช่น เหรียญรูปเหมือน รูปหล่อลอยองค์ ผ้ายันต์รอยมือรอยเท้า เชือกคาดเอว ลูกอม ตะกรุด และพระปิตตา ฯลฯ ประวัติ หลวงปู่เขียว อินทมุนี ท่านเกิดเมื่อปี พุทธศักราช 2424 ในแผ่นดิน ล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 เมื่อยังเยาว์วัย พ่อท่านเขียวอาศัยพระในบ้านช่วยสอนหนังสือให้อ่านเขียนได้ตามอักขระสมัย ท่านชอบศึกษาเล่าเรียนเป็นชีวิตจิตใจ รวมทั้งการศึกษาวิชาอาคมตามประเพณีนิยมของชาติไทยสมัยก่อน จนเมื่อมีอายุได้ 22 ปี ท่านจึงได้ตัดสินใจสละเพศฆราวาส อุปสมบทเมื่อปี พ.ศ. 2446 ณ วัดคงคาวดี (วัดกลาง) ปีเถาะ พ.ศ. 2446 พระครูสมัยนั้น เป็นพระอุปัชฌายะ พระครูบริหารสังฆกิจ (เต็ง) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ พระเกื้อเป็นพระกรรมวาจา ได้รับฉายาว่า "อินทมุนี" หลังจากอุปสมบทแล้ว ท่านก็อยู่รับใช้ป

ประวัติหลวงปู่ไข่ อินทสโร หรือ หลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน

ประวัติหลวงปู่ไข่ อินทสโร หรือ หลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน อินทสโร ภิกขุ (พระไข่ อินทสโร) หรือ หลวงปู่ไข่ อินทสโร (5 มิถุนายน พ.ศ. 2402 — 16 มกราคม พ.ศ. 2475) เป็นพระคณาจารย์ผู้เปี่ยมด้วยพุทธาคม มีความสามารถสูงในทางวิปัสสนากรรมฐานเจริญพระกรรมฐานเป็นอารมณ์จนสามารถรู้เห็นเหตุการณ์ได้ล่วงหน้าและท่านสามารถล่วงรู้เหตุการณ์ได้ล่วงหน้าและท่านยังมีชื่อเสียงทางเทศนามหาชาติ นอกจากนี้ ท่านยังมีความสามารถทางแพทย์แผนโบราณได้อีกด้วย ศิษย์ของท่านมีทั้งไทย จีน และแขกซิกซ์เวลาเจ็บไข้ได้ป่วยมักจะมาหาท่านให้ช่วยรักษา ซึ่งท่านก็จะช่วยรักษาทุกครั้ง ไม่เคยแบ่งแยกชาติ ศาสนา เชื้อตระกูล จิตใจของท่านใสบริสุทธิ์ วัตถุมงคลของท่านที่มีชื่อเสียงและได้รับความนิยมมากในวงการพระเครื่องก็คือ พระอรหันต์กลีบบัว พระปิตตาคลุกรัก และเหรียญรูปเหมือน ประวัติ หลวงปู่ไข่ ท่านเป็นบุตรของนายกล่อม และ นางบัว จันทร์สัมฤทธิ์ เกิดที่ตำบลท่าไข่ อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา เมื่อวันอาทิตย์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2402 อุปสมบทเมื่อปี พ.ศ. 2422 ที่วัดลัดด่าน อำเภอแม่กลอง จังหวัดสมุทรสงคราม โดยมีพระสนิทสมณคุณ (เนตร) เจ้าอาวาสวัดบ้านแหลม

ประวัติหลวงพ่อเขียน ธัมมรักขิโต หรือ หลวงพ่อเขียน วัดสำนักขุนเณร

ประวัติหลวงพ่อเขียน ธัมมรักขิโต หรือ หลวงพ่อเขียน วัดสำนักขุนเณร หลวงพ่อเขียน ธัมมรักขิโต พระเกจิดังแห่ง วัดสำนักขุนเณร ต.วังตะกู อ.บางมูลนาก จ.พิจิตร พระอริยสงฆ์ผู้ทรงวาจาศักสิทธิ์เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของเหล่าสาธุชนและคณะศิษยานุศิษย์ มีความเชี่ยวชาญวิทยาคมเป็นที่เลื่องลือไปทั่วสารทิศ จนได้รับการยกย่องจากชาวเมืองพิจิตร ประวัติ หลวงพ่อเขียน มีนามเดิมว่า เสถียร จันทร์แสง เกิดเมื่อ วันเสาร์ เดือน 4 ปีขาล ตรงกับ พ.ศ. 2399 ที่บ้านตลิ่งชัน ตำบลชอนไพร อำเภอเมือง จังหวัด เพชรบูรณ์ โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายทอง และนางปลิด จันทร์แสง มีพี่น้องร่วมท้อง 5 คน ท่านเป็นคนที่ 3 บรรพชา เมื่ออายุได้ 12 ปี พ.ศ. ๒๔๑๑ เกิดความศรัทธาในพระพุทธศาสนา จึงขออนุญาตจากบิดามารดาเข้าบรรพชา ที่วัดทุ่งเรไร ในขณะที่เป็นสามเณร ได้ศึกษาอักขระกับท่านสมภาร พออ่านออกเขียนได้ และได้เรียนภาษาขอม ควบคู่ไปกับภาษาไทย เนื่องด้วยท่านมีความขยันหมั่นเพียร ในการเขียนอ่าน ท่านสมภารจึงได้เปลี่ยนชื่อจาก "เสถียร" มาเป็น "เขียน" นับแต่บัดนั้น อุปสมบท เมื่ออายุ 20 ปีบริบูรณ์ พ.ศ. ๒๔๒๐ ได้อุปสมบทที่ วัดภูเขา

ประวัติครูบามหาเถร หรือ ครูบากัญจนอรัญญวาสีมหาเถร

ประวัติครูบามหาเถร หรือ ครูบากัญจนอรัญญวาสีมหาเถร ครูบากัญจนอรัญญวาสีมหาเถร หรือ ครูบามหาเถร (ครูบาปอย กญฺจโน) เป็นมหาเถระที่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไปในภาคเหนือ (ล้านนา) และเป็นผู้แตกฉานในภาษาบาลีและภาษาล้านนา เจ้าหลวงเชียงใหม่ทรงตั้งฉายาให้ท่านว่าครูบากัญจนอรัญญวาสีมหาเถร ถือเป็นปฐมครูบาเจ้าแห่งล้านนา ประวัติ ครูบากัญจนอรัญญวาสีมหาเถร หรือ ครูบามหาเถร เป็นมหาเถระนักปฏิบัติที่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไปในภาคเหนือ (ล้านนา) มีชื่อเดิมว่าปอย บิดาชื่อนายสปินนะ มารดาชื่อนางจันทร์ทิพย์ เกิดเมื่อ พ.ศ. 2332 ปีระกา ที่อำเภอสูงเม่น เมืองนครแพร่ (ปัจจุบันคือจังหวัดแพร่) บวชเป็นสามเณรตั้งแต่เด็กและอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อปี พ.ศ. 2352 ณ วัดศรีชุม จังหวัดแพร่ ได้รับฉายาว่า "กัญจนภิกขุ" ท่านได้ทำการศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยและภาษาบาลีจนแตกฉาน รวมทั้งภาษาบาลี ได้ช่วยเป็นครูสอนพระภิกษุในวัดศรีชุมต่อมาระยะหนึ่ง ก่อนย้ายกลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดสูงเม่น ครูบามหาเถรให้ความสนใจทางด้านวิปัสสนากัมมัฏฐาน มุ่งศึกษาจนแตกฉาน สามารถเป็นครูสอนได้อย่างเชี่ยวชาญ ภายหลังได้ไปศึกษาต่อที่วัดสวนดอก (พระอารามห

ประวัติหลวงพ่อกลั่น ธัมมโชโต หรือ หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ

ประวัติหลวงพ่อกลั่น ธัมมโชโต หรือ หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ พระอธิการกลั่น ธมฺมโชติ (กลั่น ธมฺมโชติ) หรือ หลวงพ่อกลั่น ธมฺมโชติ หรือ พระอุปัชฌาย์กลั่น หรือ หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ ท่านเกิดเมื่อปี พ.ศ. 2390 ตรงกับปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาเจษฎาบดินทร์ ฯ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ ต.อรัญญิก อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา ครอบครัวหนึ่งซึ่งมีฐานะยากจนได้ให้กำเนิดเด็กชายผู้มีบุญมาเกิด นามว่า "กลั่น" ในสมัยเด็ก ท่านต้องช่วยพ่อแม่ทำงานตามลำพัง และเพียงลำพังคนเดียว ทำให้ท่านเป็นคนเข้มแข็งเด็ดเดี่ยว จนกระทั่งเมื่อมีอายุได้ 27 ปี ท่านได้อุปสมบท ณ วัดโลกยสุธาศาลาปูน โดยมี พระญาณไตรโลก (สอาด) ต่อมาเป็นพระธรรมราชานุวัตร (อาจ) เจ้าคณะใหญ่อยุธยา เป็นพระอุปัชฌายะ พระครูกุศลธรรมธาดา วัดขุนยวน (วัดพรหมนิวาส) กับ พระอธิการชื่น วัดพระญาติฯ เป็นคู่สวด ได้ฉายาว่า ธมฺมโชติ แปลว่า เป็นผู้สว่างในทางธรรม หลังจากนั้นท่านได้จำพรรษาอยู่ที่วัดประดู่ทรงธรรม ท่านได้ศึกษาพระธรรมวินัย และ เรียนรู้วิชาอาคม จนแตกฉาน เมื่อฝึกฝนวิชาต่าง ๆ จนเชี่ยวชาญแล้ว จึงได้ออกธุดงค์ไปทั่วป่าเขาลำเนาไพรเผชิญสัตว์ร้

ประวัติหลวงปู่กาหลง เตชวัณโณ หรือ หลวงปู่กาหลง เขี้ยวแก้ว

ประวัติหลวงปู่กาหลง เตชวัณโณ หรือ หลวงปู่กาหลง เขี้ยวแก้ว พระอธิการกาหลง เตชวณฺโณ (กาหลง เตชวัณโณ) หลวงปู่กาหลง เตชวัณโณ หรือ หลวงปู่กาหลง เขี้ยวแก้ว เดิมท่านเป็นชาวคลอง 7 ปทุมธานี เกิดเมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2461 มีพี่น้องทั้งหมด 4 คน ท่านเป็นบุตรคนโต โดยก่อนที่หลวงปู่ท่านจะเกิด ก็ได้เกิดนิมิตขึ้นมาดังนี้ มีชายคนหนึ่งชื่อ ลุงบาง กำลังออกหาปลา อาชีพของเขาในตอนนั้น ในตอนนั้นเขากำลังอยู่ใกล้บริเวณบ้านของหลวงปู่ ตอนนั้นท่านยังไม่เกิด ตอนนั้นลุงบางได้เห็นลูกไฟลูกหนึ่งลอยมาหน้าบ้านของหลวงปู่ ทันใดนั้นดวงไฟนั้นก็ได้กลายเป็นฤๅษี กำลังจูงเด็กน้อยเข้าไปในบ้านหลวงปู่ เมื่อแกเห็นเป็นเช่นนั้น แกจึงได้ยกมือไหว้ด้วยความเลื่อมใส และได้ตั้งจิตอธิษฐานว่า ถ้าเด็กในบ้านนี้เกิดเป็นผู้ชาย แกจะเลิกจับปลาเด็ดขาด ต่อมา ผู้หญิงผู้ชายในบ้านนี้ก็ได้คลอดลูกออกมาเป็นลูกชาย ตั้งชื่อให้ว่า กาหลง หลังจากนั้นลุงบางก็ได้เลิกหาปลาตามที่เขาได้สัญญาไว้ ในชีวิตวัยเยาว์ หลวงปู่ท่านเป็นผู้ที่มีใจฝักใฝ่ต่อพระพุทธศาสนา ท่านชอบไหว้พระ หรือเมื่อพ่อแม่ของท่านชวนท่านไปวัด ท่านก็จะไปวัดกับพ่อแม่เป็นประจำ ท่านชอบนั่งสมาธิ

ประวัติหลวงปู่กงมา จิรปุญฺโญ หรือ หลวงปู่กงมา วัดดอยธรรมเจดีย์

ประวัติหลวงปู่กงมา จิรปุญฺโญ หรือ หลวงปู่กงมา วัดดอยธรรมเจดีย์ หลวงปู่กงมา จิรปุญฺโญ หรือ พระกงมา จิรปุญฺโญ ท่านเกิดเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2443 ณ บ้านโคก ตำบลตองโขบ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร เป็นบุตรคนสุดท้องของนายบู่ และนางนวล วงศ์เครือสอน ซึ่งมีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันทั้งหมด ๖ คน มีนามเดิมว่า กงมา วงศ์เครือสอน ในช่วงชีวิตวัยหนุ่ม ท่านมีรูปร่างสัดทัด สูงใหญ่ใบหน้าคมคาย เป็นนักต่อสู้ชีวิตแบบเอางานเอาการ ในสมัยหนึ่ง ท่านได้เป็นนายฮ้อยต้อนวัวควาย หมู เที่ยวขายตามจังหวัดใกล้เคียงกับบ้านเกิด จนต่อมาได้รับหน้าที่เป็นหัวหน้านายฮ้อยพาคณะนายฮ้อยต้อนสัตว์ไปขายถึงกรุงเทพฯ โดยเดินทางด้วยเท้าเปล่า ท่านเป็นคนมีน้ำใจต่อลูกน้อง และอาญหาญช่วยป้องกันอันตรายให้กับลูกน้อง เป็นคนมีศีลธรรม ซื่อสัตย์สุจริต และ มีความยุติธรรม ต่อมาในช่วงชีวิตแห่งความสุข บิดามารดาของท่านได้ไปสู่ขอนางเลา และได้จัดพิธีแต่งงานขึ้นในปี พ.ศ. 2468 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (2453 - 2468) จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (2468 - 2477) ขณะมีอายุได้ 25 ปี จนกระทั่งในเวลาต่อมา ภรรยา

ประวัติหลวงพ่อกลั่น อัคคธัมโม หรือ หลวงพ่อวัดเขาอ้อ

ประวัติหลวงพ่อกลั่น อัคคธัมโม หรือ หลวงพ่อวัดเขาอ้อ พระครูอดุลธรรมกิตติ์ หรือ หลวงพ่อกลั่น อคฺคธมฺโม (อัคคธัมโม) หรือ หลวงพ่อวัดเขาอ้อ (14 ธันวาคม พ.ศ. 2456 - 13 เมษายน พ.ศ. 2549) เกิด ณ บ้านใสคำ ตำบลโตนดด้วน อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง บิดาชื่อ นายตุด แก้วรักษา และ มารดาชื่อ นางจันทร์ แก้วรักษา เด็กชายกลั่นมีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน จำนวน 3 คน หลวงพ่อกลั่น เรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังจากนั้น ท่านได้ออกมาช่วยบิดามารดา จนท่านเริ่มเข้าสู่วัยหนุ่มท่านก็ออกแสวงหาโชคลาภเหมือนคนอื่น ๆ และเริ่มออกจากบ้าน บิดามารดาเห็นว่าหลวงพ่อกลั่นควรจะมีคุณธรรม จึงได้ให้หลวงพ่อกลั่น บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุได้ 17 ปี ตรงกับปี พ.ศ. 2473 โดยมีพระอาจารย์สังข์วัดทุ่งไหม้เป็นพระอุปัชฌาย์ บรรพชาได้เพียง 4 ปี ก็ตัดสินใจลาสิกขาบท ออกมาใช้ชีวิตทางโลกอีก เพราะท่านคงคิดว่า ทางโลกยังมีวิธีการก้าวหน้าสู่อนาคตอีก เมื่อมีอายุ 21 ปี ท่านได้เริ่มใช้ชีวิตคู่ โดยการแต่งงานกับหญิงสาวนามว่า กุหลาบ ทองพันธุ์ บุตรของผู้ใหญ่เปลี่ยน ทองพันธุ์ และ นางพลับ ทองพันธุ์ ซึ่งอยู่บ้านห่างกันคนละฝากถนนรถไฟ มีอาชีพในการทำนาเช่นกัน

ประวัติหลวงปู่เกลี้ยง มนุญฺโญ หรือ หลวงปู่เกลี้ยง วัดเนินสุทธาวาส

ประวัติหลวงปู่เกลี้ยง มนุญฺโญ หรือ หลวงปู่เกลี้ยง วัดเนินสุทธาวาส พระครูพิศิษฐชโลปการ หรือ หลวงปู่เกลี้ยง มนุญฺโญ อดีตเจ้าอาวาสวัดเนินสุทธาวาส เกจิดังของอำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี ท่านเป็นพระที่มีเมตตาสูง ท่านพัฒนาวัดเนินสุทธาวาสจนมีความเจริญรุ่งเรืองในทุกๆ ด้าน ท่านได้สร้างมหาธาตุเจดีย์มิ่งโมลีศรีบูรพา สำนักปฎิบัติธรรมชื่อว่า "สวนป่านันทวันอาศรม" วัดนันทวัน อยู่ที่ตำบลหนองข้างคอก อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี "ปัจจุบันสังขารท่านไม่เน่าเปลื่อย " ทางวัดยังคงเก็บรักษาไว้ในโรงแก้วให้ลูกศิษย์ลูกหาและประชาชนทั่วไปได้กราบไหว้ หลวงปู่เกลี้ยง มีนามเดิมว่า " เกลี้ยง " นามสกุล " สุทธิพงศ์ " บิดาชื่อ นายเปล่ง สุทธิพงษ์ มารดาชื่อ นางเนียม สุทธิพงษ์ (ฮั้นลี้) เกิดเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2461 ปีมะเมีย ที่บ้านหมู่ 10 ต.หนองข้างคอก อ.เมือง จ.ชลบุรี มีพี่น้องร่วมกัน 3 คน ท่านเป็นคนที่ 2 คือ พี่ชายคนโต (เสียชีวิตตั้งแต่ยังเล็ก) พระครูพิศิษฐชโลปการ (หลวงปู่เกลี้ยง สุทธิพงษ์) นายกิม สุทธิพงษ์ (เสียชีวิต) ในวัยเยาว์ท่านไปอาศัยอยู่กับคุณตา-คุณยา

ประวัติหลวงพ่อเกิด ปุณณปัญโญ หรือ หลวงพ่อเกิด วัดสะพาน

ประวัติหลวงพ่อเกิด ปุณณปัญโญ หรือ หลวงพ่อเกิด วัดสะพาน พระครูพิศาลธรรมประยุต หรือ หลวงพ่อเกิด ปฺณณปญฺโญ หรือ หลวงพ่อเกิด วัดสะพาน (6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2415 - 27 ธันวาคม พ.ศ. 2499) เหรียญของท่านเสมือนอัญมณีชิ้นเอกของเมืองนครนายกวัตถุมงคลของท่านช่วยคุ้มครองป้องกันภัยนานาประการ และดลบันดาลแต่สิ่งที่เป็นมงคลศิษย์เอกขงอท่านที่ได้รับการถ่ายทอดวิชาจากท่านคือ หลวงพ่อภู่ วัดช้าง อำเภอบ้านนา หลวงพ่อเกิด ท่านเกิดเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2415 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นบุตรของนายฉุย และนางพุ่ม สมพงษ์ เป็นบุตรคนสุดท้องในจำนวนพี่น้องทั้งหมด 7 คน อุปสมบทเมื่อมีอายุ 21 ปีตรงกับวันที่23 พฤษภาคม พ.ศ. 2436 โดยมีหลวงพ่อวัตร วัดพิกุลแก้ว เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อดี วัดกุฏิเตี้ย เป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลวงพ่อเพ็ง วัดพระโต เป็นพระอนุสาวนาจารย์ มีฉายาว่า ปุณณปัญโญ ได้อยู่ศึกษากับหลวงพ่อดี ผู้มีความชำนาญด้านรุกขมูล วิปัสสนากรรมฐาน และแพทย์แผนโบราณ มีวิทยาคมอันแก่กล้ารูปหนึ่งในสมัยนั้น จากนั้นท่านได้ย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่วัดสะพานตลอดมา ท่านได้ธุดงค์ไปยังเมืองเขมรและมีโอกาสศึกษาเล่าเรียนวิชาจากอาจารย์ต่า

ประวัติหลวงพ่อกุหลาบ พุทฺธโชติ หรือ หลวงพ่อกุหลาบ วัดบางเป้ง

ประวัติหลวงพ่อกุหลาบ พุทฺธโชติ หรือ หลวงพ่อกุหลาบ วัดบางเป้ง พระครูพรหมจริยาธิมุตต์ (หลวงพ่อกุหลาบ พุทฺธโชติ) หรือ หลวงพ่อหลาบ วัดบางเป้ง อดีตเจ้าอาวาสวัดบางเป้ง และอดีตเจ้าคณะอำเภอศรีราชา ท่านเป็นเกจิดังของตำบลแสนสุข อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี ท่านพัฒนาวัดบางเป้งจนมีความรุ่งเรือง ท่านเป็นพระที่มีเมตตาสูง ใครมาขอความช่วยเหลือจากท่านท่านก็ช่วยเหลือมิไม่ได้ขาด ท่านเป็นพระเกจิที่ชาวบางแสนให้ความเคารพอย่างมาก และท่านยังให้ความสำคัญของการศึกษาท่านได้สร้างโรงเรียนวัดบางเป้ง (กุหลาบราษฎร์อำนวยวิทย์) ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2509 เป็นต้น ประวัติและสถานะเดิม พระครูพรหมจริยาธิมุตต์ ท่านมีนามเดิมว่า " กุหลาบ " นามสกุล " อุ่นจิตร หรือ อุ่นจิตต์ (ไม่แน่ใจว่าเขียนแบบไหนครับ) " เกิดเมื่อวันอังคาร ขึ้น 9 ค่ำ เดือนยี่ ตรงกับวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2431 บิดาชื่อ นายช้อน มารดาชื่อ นางเจียก อุ่นจิตร ท่านเกิด ณ หมู่ที่ 1 บ้านตำบลแสนสุข อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี (บริเวณสถานีดับเพลิง ต.แสนสุข) ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดาจำนวน 5 คน หลวงพ่อกุหลาบเป็นบุตรคนสุดท้อง ดังนี้ พระอธิการอั

ประวัติหลวงปู่เกลี้ยง เตชธัมโม หรือ หลวงปู่เกลี้ยง วัดศรีธาตุ (วัดโนนแกด)

ประวัติหลวงปู่เกลี้ยง เตชธัมโม หรือ หลวงปู่เกลี้ยง วัดศรีธาตุ (วัดโนนแกด) พระครูโกวิทพัฒโนดม (หลวงปู่เกลี้ยง เตชธฺมโม) พระเกจิอาจารย์ที่มีอายุเกินกว่า 100 ปี เป็นเจ้าอาวาสวัดศรีธาตุ (วัดโนนแกด) อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ หลวงปู่เกลี้ยง (10 ตุลาคม พ.ศ. 2451 —) เกิดที่บ้านก้านเหลือง ตำบลหมากเขียบ อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นบุตรของนายบุญมี คุณมานะ และนางผิว คุณมานะ มีพี่น้องทั้งหมด 7 คน ในช่วงวัยเด็กได้ศึกษาในโรงเรียนวัดบ้านโนนแกด จนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และเรียนต่อ ม.3 จบในปี 2466 และท่านด้ทำงานช่วยสอนหนังสือแทนครู โรงเรียนบ้านโนนแกด สอนได้สองเดือนทางราชการให้ย้ายไปช่วยสอนที่โรงเรียนบ้านโพรง ตำบลไพรบึง อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นเวลา 3 ปี 6 เดือน และท่านก็ไปสอบ นักธรรมตรีที่สนามหลวง ซึ่งมีพระ สามเณร ไปสอบจำนวน 47 รูป ปรากฏว่าหลวงปู่เกลี้ยงและพระภิกษุสิงห์ สอบผ่านแค่ 2 รูป เท่านั้น จากนั้นก็เรียนต่อนักธรรมโทที่จังหวัดบุรีรัมย์ แต่ในช่วงขณะนั้นทางราชการให้ท่านต้องเกณฑ์ทหาร ท่านจึงจำต้องลาสิกขาบท จากนั้นท่านได้อุปสมบทอีกทีเมื่อปี พ.ศ. 2518 ณ วัดบ้านแทง

ประวัติและปฏิปทา หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม หรือ หลวงพ่อคง ธมฺมโชโต จังหวัดสมุทรสงคราม

ประวัติหลวงพ่อคง ธมฺมโชโต หรือ หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม พระอุปฌาย์คง ธมฺมโชโต หรือ หลวงพ่อคง ธมฺมโชโต (3 เมษายน พ.ศ. 2407 – 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486) อดีตเจ้าอาวาสวัดบางกะพ้อม อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นพระอาจารย์ที่มีชื่อเสียงรูปหนึ่งในอดีต ได้รับความนิยมเป็นอันดับสองรองจาก หลวงพ่อแก้ว วัดพวงมาลัย เหรียญที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ เหรียญทองแดงเป็นเหรียญยอดนิยมอันดับที่ 4 ของชุดเบญจภาคีเหรียญ ที่มีราคาสูงและหายากยิ่ง รองลงมาคือเหรียญรุ่นปาดตาลปี พ.ศ. 2486 เนื่อเงินลงยา ที่มีประสบการณ์สูงส่ง ขนาดมีดปาดตาลที่คมกริบยังไม่ระคายผิว ประวัติ หลวงพ่อคง ธมฺมโชโต ท่านเกิดเมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2407 ณ ตำบลบางสำโรง อำเภอบางคณฑี จังหวัดสุมทรสงคราม โยมบิดาชื่อ เกตุ โยมมารดาชื่อ นางทองอยู่ นามสกุลเดิมคือ จันทร์ประเสิรฐ เล่ากันว่าท่านเกิดในเรือนแพ ซึ่งเรือนหลังนี้มีอาถรรพ์ คือถ้าใครถือกำเนิดในห้องเล็กที่ใต้เรือน จะต้องเป็นผู้ชาย และครองเพศเป็นพระตลอดชีวิต ซึ่งหลวงพ่อทิม วัดเหมืองใหม่ก็เกิดในเรือนนี้เช่นเดียวกัน ก่อนหน้าหลวงพ่อทิมก็มีคนเกิดในเรือนหลังนี้ซึ่งดำรงอยู่ในสมณเพศตลอดชีวิ

ประวัติหลวงพ่อจง พุทฺธสโร หรือ หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก

ประวัติหลวงพ่อจง พุทฺธสโร หรือ หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก หลวงพ่อจง พุทฺธสโร หรือพระอธิการจง พุทฺธสโร อดีตเจ้าอาวาสวัดหน้าต่างใน (6 มีนาคม พ.ศ. 2415 — 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2508) ประวัติ ท่านเกิดเมื่อเดือน มีนาคม พ.ศ. 2415 ตรงกับต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว บิดาชื่อ ยอด มารดาชื่อ ขริบ เป็นชาวอำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่ออายุ 11 ปี บิดาได้จัดการบรรพชาเป็นสามเณรให้ที่ วัดหน้าต่างในครั้นอายุครบ 21 ปี ได้ทำการอุปสมบท โดยมีหลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์อินทร์ วัดหน้าต่างนอก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์โพธิ์ วัดหน้าต่างใน เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า พุทฺธสโรอุปสมบทแล้วอยู่จำพรรษาที่วัดหน้าต่างใน เพื่อศึกษาพระธรรมวินัยและวิปัสสนากรรมฐาน ตลอดจนวิทยาคมต่างๆ กับหลวงพ่อสุ่นและพระอาจารย์โพธิ์ ซึ่งในสมัยนั้น พระสงฆ์สองรูปนี้มีชื่อเสียงเป็นที่นับถือกันอย่างกว้างขวาง ต่อมาอีกระยะหนึ่งท่านจึงย้ายไปจำพรรษาอยู่ที่ วัดหน้าต่างนอก ในปี พ.ศ. 2450 ท่านได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดหน้าต่างนอก ท่านถึงแก่มรณภาพเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ

ประวัติหลวงปู่ผินะ ปิยธโร หรือ หลวงพ่อผินะ ปิยธโร วัดสนมลาว

ประวัติหลวงปู่ผินะ ปิยธโร หรือ หลวงพ่อผินะ ปิยธโร วัดสนมลาว หลวงปู่ผินะ ปิยธโร ท่านเกิดเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2456 ณ บ้านหัวลำโพง อ.ทัพทัน จ.อุทัยธานี ในช่วงวัยเด็กท่านมีโรคประจำตัวที่รักษาไม่หาย หลังจากการร้องให้ทุกครั้ง ท่านมักจะชักจนหน้าเขียว และมารดาได้พาไปหาหมอรักษาโรค หลวงพ่อสิน ได้บอกถึงรางว่า ชื่อ ทวายนั้นเป็นความหมายที่เป็นกาลกิณี จึงได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น ผินะ แปลว่า หันหน้า, หันหลัง, เปลี่ยนทิศทาง, ไม่แยแส, หรือเลิกคบกัน นับแต่นั้นอาการดังกล่าวได้ทุเลาลง จากนั้นหลังจากโยมบิดาได้เสียชีวิตลง ท่านจึงได้บรรพชาเป็นสามเณร และเมื่ออายุครบบวชท่านจึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อปี พ.ศ. 2481 ณ วัดหนองเต่า โดยมีพระครูอุดมคุณาภรณ์ เจ้าคณะอำเภอทัพทัน เป็นพระอุปัชฌาย์ และพระมหาอำนวย เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ในระหว่างเป็นพระภิกษุ ท่านได้ขออนุญาตเจ้าอาวาสออกธุดงค์ไปจำพรรษาที่ วัดเกาะเทพเทโพ หลังจากอุปสมบทแล้วเพียง 20 วัน ท่านจึงขอสึกออกมา เพราะยังกลัวศพอยู่ อยู่มาได้เพียง 11 วัน โยมมารดาก็ถึงแก่กรรมลงอีก ต่อมาก็เจาะจงมาที่พระภิกษุผินะ จูงศพให้ได้ เพราะเป็นโรคฝีในท้อง สับปเหร่อก็ผ่าท้องให

ประวัติหลวงพ่อแช่ม อินทโชโต หรือ หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง

ประวัติหลวงพ่อแช่ม อินทโชโต หรือ หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง หลวงพ่อแช่ม อินทโชโต หรือ หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง ท่านเกิดเมื่อ ปี พ.ศ. 2405 ตรงกับรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ชีวิตในวัยหนุ่ม ท่านเป็นคนชอบท่องเที่ยวไปอย่างคึกคะนอง จนกระทั่ง พอมีอายุครบ 20 ปีตรงกับปี พ.ศ. 2425 ท่านก็ได้อุปสมบท ณ วัดสะพานเนียงแตก โดยมี พระครูอุตรการบดี (หลวงพ่อทา) เป็นพระอุปัชฌาย์ ซึ่งในขณะนั้น หลวงพ่อทา เป็นพระเกจิที่เรืองเวทวิทยาคม หลวงพ่อแช่ม จึงได้รับการถ่ายทอดวิทยาคมต่างๆไว้มากมาย โดยเฉพาะการเจริญกรรมฐานตามแบบโบราณจารย์ หลังจากนั้น ท่านได้ย้ายไปจำพรรษาอยู่ที่ วัดตาก้องและได้ออกธุดงค์ไปนมัสการ พระปฐมเจดีย์ พระแท่นดงรัง พระพุทธบาทสระบุรี และจนกระทั่ง ได้ไปนมัสการ เจดีย์ชะเวดากอง ที่ ประเทศพม่า และได้ศึกษาวิชาความรู้เพิ่มเติมจาก พวกชาวไทย พม่า กะเหรี่ยง และมอญ เป็นต้น มรณภาพ หลวงพ่อแช่ม ท่านมรณภาพเมื่อปี พ.ศ. 2490 ตรงกับปีที่ 2ของ รัชกาลที่ 9 รวมสิริอายุได้ 85 ปี นับพรรษาได้ 65 พรรษา จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี