ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ประวัติหลวงปู่หมุน ฐิตสีโล อมตะเถระ ๕ แผ่นดิน วัดบ้านจาน

ประวัติหลวงปู่หมุน ฐิตสีโล อมตะเถระ ๕ แผ่นดิน วัดบ้านจาน จังหวัดศรีสะเกษ

ชาติภูมิและอุปสมบท

หลวง ปู่หมุน ฐิตสีโส เกิดในสกุล" ศรีสงคราม"หรือ " แก้วปักปิ่น" ถือกำเนิดเมื่อ วันพฤหัสบดี เดือน 5 ปีชวด พ.ศ. ๒๔๓๗ ณ บ้านจาน อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ บิดา ชื่อ "ดี "มารดาชื่อ " อั๊ว " มีอาชีพทำไร่ทำนา เป็นเด็กยากจน แต่มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด ต่อมาบิดามารดาเห็นแววทางด้านพระพุทธศาสนา จึงให้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ ๑๔ ปี และนำไปฝากกับพระอาจารย์สีดาเจ้าอาวาสวัดบ้านจาน ซึ่งเป็นพระที่เชี่ยวชาญด้านกรรมฐานและมีวิชาอาคมที่เก่งมาก ในปี ๒๔๖๐ ขณะอายุได้ ๒๓ ปีได้เข้าอุปสมบทโดยมีหลวงพ่อสีดา เป็นพระอุปัชฌาชย์รับฉายาว่า " ฐิตสีโล " แปลว่า " ผู้มีศีลตั้งมั่น "จากนั้นได้ศึกษาวิชาความรู้จากครูบาอาจารย์ต่าง ๆ ในแถบนั้นเป็นเวลา ๔ ปี ก่อนออกแสวงหาครูบาอาจารย์อื่นๆ เพื่อศึกษาคันธธุระและวิปัสสนาธุระในชั้นที่สูงๆ ขึ้นไป ปี พ.ศ.๒๔๖๔ หลวงปู่หมุน เริ่มออกศึกษาแสวงหาประสบการณ์โดยได้ร่ำเรียนทั้งเวทย์วิทยา และสมถกรรมฐานจากครูบาอาจารย์หลายสำนัก การเดินทางในสมัยนั้นเป็นที่ลำบากยากเย็น ต้องเดินเท้าเปล่าผจญภัยจากผีป่า หรือสัตว์ร้ายนานัปการ แต่หลวงปู่มิได้ย่อท้อ ได้เดินทางไปศึกษาวิชาอาคมที่ สำนักตักศิลาแห่งบ้านจิกใหญ่ อ.พิบูลมังสาหาร จังหวัด อุบลราชธานี กระทั่งศึกษาคัมภีร์มหาพุทธาคม อันเป็นแม่บทของคัมภีร์ปถมัง คัมภีร์อิทธิเจ คัมภีร์มหาราช คัมภีร์ตรีนิสิงเห ซึ่งเป็นพื้นฐานแห่งอำนาจจิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งตำราพิชัยสงคราม เช่น คัมภีร์นิติประกาศิต คัมภีร์ธนูรเวทว่าด้วยการแต่งเครื่องครอบมนตร์ในสงคราม เป็นต้น



ใน ช่วงปี ๒๔๗๕-๒๔๘๒ เมื่อหลวงปู่สำเร็จการศึกษาวิชาการต่าง ๆ ก็เก็บบริขารออกธุดงค์ป่าผ่านถิ่นทุรกันดารในชนบทโดยเท้าเปล่ามายังกรุงเทพ ฯ เข้าพักที่ วัดเทพธิดาราม เพื่อเล่าเรียน จนสอบได้เปรียญ ๕ รวมทั้งยังร่ำเรียนวิชาคัมภีร์มูลกัจจายน์สูตร ในช่วงหนึ่งหลวงปู่ได้มาพำนักที่วัดสุทัศน์ฯและได้ศึกษาวิชาบางอย่างกับ สมเด็จพระสังฆราช(แพ)รวมทั้งยังได้มาพำนักที่วัดอรุณราชวรารามเพื่อศึกษา วิชากับพระพิมลธรรม(นาค)วัดอรุณราชวราราม นอกจากนี้หลวงปู่ได้เป็นครูสอนวิชาคัมภีร์มูลกัจจายน์สูตร (ภาษาบาลีล้วน) อยู่หลายปี จากนั้นก็เก็บบริขารเดินธุดงค์ติดตามพระอาจารย์ทองดี ที่มาจากอ.บึงกาฬ จ.หนองคาย ธุดงค์ ไปทางภาคเหนือเข้าเขตพม่าเป็นเวลา ๑ ปี จากนั้นก็เดินเท้าเปล่าลงภาคใต้ไปพำนักกับพระอาจารย์ทิม วัดช้างไห้ เพื่อปฎิบัติกรรมฐานและแลกเปลี่ยนวิชาอาถรรพณ์เวทมนต์กับพระอาจารย์ทิมอยู่ ประมาณปีกว่า ๆ ก่อนธุดงค์เข้าเขตประเทศมาเลเซีย ต่อจากนั้นก็ได้เรียนวิชาจากพ่อท่านคล้ายวาจาสิทธิ์ วัดสวนขัน จ.นครศรีธรรมราช โดยได้ของที่ระลึกจากพ่อท่านคล้ายคือ ชานหมากเม็ดใหญ่เป็นที่ระลึก จากนั้นก็เดินธุดงค์เรื่อยมาจนกลับสู่เขตอีสานอีกครั้งและได้พบกับหลวงปู่สี ฉันทสิริ ในป่าแถบ จังหวัดหนองคาย และได้วิชาลบผงสีจากหลวงปู่สี ซึ่งได้รับสืบทอดมาจากสมเด็จพุฒาจารย์โต วัดระฆังโฆษิตาราม ช่วงที่ ท่านธุดงค์แถบอุบลราชธานีได้พบกับหลวงปู่มั่น และขอเรียนข้อวัตรปฏิบัติในพระกรรมฐาน แต่ไม่ได้ร่วมคณะธุดงค์ เพราะท่านอยู่นิกายมหายาน หลวงปู่เคยเล่าประวัติในช่วงธุดงค์ให้กับพระภิกษุที่เป็นหลานของท่านว่า เคยได้เป็นศิษย์หลวงปู่มั่นอยู่พักหนึ่ง ในช่วงที่หลวงปู่ต้องการเจริญสมณธรรม เป็นธรรมอันล้ำลึกยากยิ่งที่ผู้ที่ยังเข้าไม่ถึงจะล่วงรู้ถึงอารมณ์ของ วิปัสสนานี้ได้ หลวงปู่หมุนได้อยู่ปรนนิบัติรับใช้พระอาจารย์มั่นอยู่ระยะหนึ่งแล้วก็แสวงหา ความวิเวก เพื่อประพฤติปฏิบัติต่อไป จนกระทั่งหลวงปู่แตกฉาน เชี่ยวชาญ ครั้งนั้นหลวงปู่หมุนได้ศึกษาธรรมจนที่สหธรรมมิกที่เป็นศิษย์ของหลวงปู่มั่น รู้จักสนิทสนมกับหลวงปู่ทุกองค์ เช่น หลวงปู่แหวน สุจิณโณ เป็นต้น ใน ตอนที่หลวงปู่หมุน ไปกราบนมัสการ หลวงปู่มั่น ท่ามกลางศิษย์สายกองทัพธรรม ในขณะสนทนาธรรมหลวงปู่มั่นได้ปรารถกับหลวงปู่หมุนว่า " ท่านหมุน ท่านเก่งพอตัวอยู่แล้ว หากไม่เจอกันหรือมีข้อสงสัยเกี่ยวกับปริยัติปฏิบัติ และปฎิเสธตามหลักพระไตรสิกขา ให้สอบถามท่านแหวนได้ เพราะเขาเก่งมาก" หลวงปู่มั่นได้มอบของที่ระลึกให้หลวงปู่หมุน ๒ อย่าง คือ แผ่นจารอักขระใบลาน ม้วนเป็นลูกอมกลม ๆ เขียนเป็นภาษาขอมว่า เย ธมมา เหตุปภวา ฯลฯ เป็นต้น และธนบัตรรัชกาลที่ ๘ พร้อมลายเซ็นหลวงปู่มั่น ภายหลังหลวงปู่ได้มอบให้โยมแม่ท่านไป จากนั้นก็ธุดงค์ต่อไป ท่านยังได้ร่ำเรียนวิชาจาก พระอาจารย์สิงห์ วัดป่าสาลวัน หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา ต่อมาไม่นานก็ได้ร่ำเรียนวิชามีดหมอมหาปราบจากหลวงพ่อขำ วัดเขาแก้ว และหลวงพ่อเงิน วัดมะปรางค์หลวง ซึ่งวิชานี้หลวงพ่อเดิม พุทธสโร วัดหนองโพ จ.นครสวรรค์ก็เรียนจากหลวงพ่อขำและหลวงพ่อเงิน เช่นกัน นอกจากนี้ในช่วงที่หลวงปู่ธุดงค์มาสู่ภาคตะวันออกแถบจันทบุรี ท่านได้พำนักอยู่กับ หลวงพ่อสอน วัดเสิงสาง กระทั่งหลวงพ่อสอนไว้ใจให้วิชาอาคมและครอบครูให้กับหลวงปู่

หลวงปู่หมุน นับเป็นหนึ่งในทายาทผู้สืบสายเวทวิทยาพุทธาคมในสายสมเด็จลุนแห่งนครจำปา ศักดิ์ราชอาณาจักรลาวที่ยังดำรงขันธ์อยู่ในปัจจุบัน โดยสมเด็จลุนเป็นที่เลื่องลือในคุณธรรมและอภิญญาอภินิหารอาทิ สามารถเดินบนน้ำได้ ย่นระยะทางได้ แปลงร่างได้ เดินทะลุภูเขาได้กล่าวกันว่าภิกษุสงฆ์ยุคก่อนโน้นต่างดั้นด้นสืบเสาะหาสม เด็จลุน เพื่อฝากตัวเป็นศิษย์ศึกษามหาวิทยาคม ตลอดจนวิปัสสนากรรมฐาน หลวงปู่หมุนเองก็ดั้นด้นธุดงค์ผ่านอุบลราชธานีเข้าประเทศลาวเพื่อสืบเสาะ สมเด็จลุนอยู่หลายปี แต่ไม่พบ ต่อมาธุดงค์ไปประเทศลาวอีกหลายครั้ง จนกระทั่งมาพบกับฆราวาสชื่ออาจารย์ฉันท์ ซึ่งมีศักดิ์เป็นเหลนของสมเด็จลุน ที่จังหวัดนครพนม โดยเรียนวิชาจากอาจารย์ฉันท์จนหมดภูมิแล้ว อาจารย์ท่านจึงได้คำแนะนำฝากตัวเป็นศิษย์หลวงปู่ดำเหลนของสมเด็จลุ นปรมาจารย์ใหญ่ที่สืบสายเวทย์วิทยาคมพุทธาคมในสายสมเด็จลุน ในการ ฝากตัวเป็นศิษย์ของหลวงปู่ดำนั้น มีกฎเกณฑ์รายละเอียดมากทั้งยังต้องทดสอบภูมิปัญญา และอำนาจของกระแสจิตที่ต้องเข้มแข็งพอที่จะเรียนวิชาของท่านได้ ในรุ่นที่หลวงปู่ฝากตัวเป็นศิษย์นั้นมีมากกว่า ๕๐ รูป แต่หลวงปู่ดำท่านทดสอบวิชา แล้วคัดออกจนเหลือแค่ ๓ รูป มีหลวงปู่หมุน หลวงพ่อสงฆ์ (วัดม่วง ลพบุรี) และอีกรูปหลวงปู่ลืมชื่อไปแล้ว 

สำหรับพิธีครองครูของหลวงปู่ดำนั้นมีของยกครูที่หลวงปู่จำได้อย่างแม่นยำคือ
 ๑. ผ้าไตรจีวร 
๒. บาตร 
๓. ทองคำหนัก ๑๐ บาท (สำหรับทองคำ จะคืนให้เมื่อเรียนจบ) และมีข้อห้ามประการสำคัญอีกคือ ห้ามสึกตลอดชีวิต ถ้าสึกไปชีวิตก็จะหาไม่ 
ใน การครอบวิชานี้ถือว่าเป็นสุดยอดเคล็ดวิชาวิทยาคม ในสายของสมเด็จลุน แห่งนครจำปาศักดิ์ ซึ่งกว่าจะเรียนจบต้องใช้ความวิริยะอุตสาหะบำเพ็ญเพียรอย่างมาก ได้จำวัดพักผ่อนวันละ ๔ ชั่วโมงเท่านั้น อาหารต้องฉันมื้อเดียว และขั้นตอนสุดท้ายที่จะสำเร็จวิชานี้จะมีการทดสอบอย่างพิสดาร

อย่างไรก็ตาม เป็นที่เชื่อกันว่าหลวงปู่หมุนท่านสำเร็จวิชาสำเร็จธาตุ ๔ มาจากสายสมเด็จลุน ซึ่งเป็นที่รู้กันว่าวิชาสายนี้ลึกลับเกินปุถุชนคนธรรมดาจะเรียนได้สำเร็จ ผู้ที่จะเข้าถึงได้ต้องเป็นผู้ที่มีบารมีมาแล้วนับชาติไม่ถ้วน เพราะการควบคุมธาตุ ๔ ได้นั้นผู้ที่จะสามารถทำการนี้ได้ต้องสำเร็จจตุตฌานเป็นบาทฐานในการทำ และยังต้องมีความเชี่ยวชาญในเรื่องของกสิณจตุธาตุทั้ง ๔ ได้แก่ ดิน น้ำ ลม และไฟอีกด้วย หลังจากนั้น หลวงปู่ก็กลับมาจำพรรษา ที่วัดบ้านจาน จนได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส และพระอุปัชฌาย์ รับสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นประทวน ที่" พระครูหมุน ฐิตสีโล" หลวงปู่ได้ปฎิบัติศาสนกิจตามที่ได้รับมอบหมายเป็นเวลาถึง ๒๐ ปี จึงลาออกจากทุกตำแหน่ง ต้องการใช้ชีวิตที่เหลือบำเพ็ญสมณธรรมปฏิบัติพระวิปัสสนาธุระ อย่างเดียว ประมาณ ปี ๒๔๘๗ ในช่วงที่หลวงปู่อายุ ๕๐ ปี ท่านเก็บบริวารออกธุดงค์บำเพ็ญเพียรอยู่ในป่าดงดิบ โดยลำพังแต่ผู้เดียว และในช่วงนี้เองที่หลวงปู่ได้พบกับอาจารย์จ่อยและอาจารย์ขวัญ วัดป่าหนองหล่ม ในระหว่างที่หลวงปู่ธุดงค์โดยบังเอิญ อาจารย์ทั้ง ๒ จึงได้นิมนต์หลวงปู่โปรดญาติโยมที่วัดป่าหนองหล่มหลังจากที่หลวงปู่หมุนเดิน ธุดงค์แสวงหาธรรม อยู่หลายสิบปี ประมาณปี ๒๕๒๐ ท่านจึงกลับมายังวัดบ้านจาน ซึ่งวัดบ้านจานในยามนั้น มีอายุกว่า ๒๐๐ ปี อยู่ในสภาพทรุดโทรม ท่านจึงได้พัฒนาวัด สร้างอุโบสถขึ้นมา ด้วยหยาดเหงื่อและแรงจิต ทำให้อุโบสถเสร็จสมบูรณ์ในเวลาอันสั้น นอกจากนี้ท่านยังได้ช่วย เหลือ ลูกศิษย์และสหธรรมิก อีกหลายวัดเช่น วัดป่าหนองหล่ม, วัดโนนผึ้ง ,วัดซับลำใย, และคณะศิษย์วัดสุทัศน์ฯ ในการสร้างถาวรวัตถุของวัด จนเป็นที่มาของ วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยมในหลายรุ่นต่อมา ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกเมื่อวัตถุมงคลและเครื่องรางของขลังแทบทุกรุ่น ที่ท่านจัดสร้างขึ้น จึงเป็นที่นิยมในหมู่ศิษยานุศิษย์ ด้วยเชื่อในพลังแห่งบุญฤทธิ์จิตตานุภาพของท่าน

สรุปพระบูรพาจารย์ที่ประสิทธิประสาทวิชาความรู้และ พระกัมมัฏฐาน พอสรุปได้จากที่หลวงปู่เล่า คือ สมเด็จพระสังฆราชแพ วัดสุทัศน์ฯ,พระพิมลธรรม(นาค) วัดอรุณฯ ,หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา, หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั้ง, หลวงพ่อขำ วัดเขาแก้ว ,หลวงพ่อเงิน วัดมะปรางค์เหลือง , หลวงพ่อสอน วัดเสิงสาง ,หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ ,พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต , หลวงปู่สี ฉันทสิริ, พระอาจารย์สิงห์ วัดป่าสาละวัน และ หลวงปู่ดำ ทายาทสายสมเด็จลุน แห่งนครจำปาศักดิ์ รวมทั้งอาจารย์ลึกลับที่พบในป่าอีกหลายท่าน ส่วนสหธรรมมิก มีศิษย์สายพระอาจารย์มั่น, หลวงพ่อทิม วัดช้างให้ ,หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค และอาจารย์ที่เก่งๆ อีกมาก

มรณภาพ

เมื่อเวลา ๐๗.๓๐ น. วันที่ ๑๑ มี.ค.๒๕๔๖ หลวงปู่หมุน ฐิตสีโล พระอมตะเถระ ๕ แผ่นดิน แห่งวัดบ้านจาน อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ มรณภาพลงอย่างสงบบนกุฎิ สิริอายุ ๑๐๙ ปี ๘๖ พรรษา   ด้านพระมหาปิ่น ปุณณสิริ อายุ ๘๗ ปี เจ้าอาวาสวัดบ้านจานและมีศักดิ์เป็นหลานหลวงปู่หมุน กล่าวถึงเหตุการณ์วันที่หลวงปู่มรณะว่า " ช่วงนั้นอาตมาไม่อยู่วัด เพราะไปร่วมงานทำบุญบ้านของโยมท่านหนึ่งแถวละแวกวัด โดยหลวงปู่หมุนอยู่ตามลำพังกับนายอำนวย เขียวอ่อน ซึ่งมีศักดิ์เป็นเหลนของหลวงปู่ ท่านฉันโอวัลตินเสร็จ อยู่ดี ๆ ท่านก็เงียบไป ก่อนหน้า จะมรณภาพ ก็ไม่มีลางบอกเหตุอะไร เพียงแต่ช่วงเช้าหลวงปู่บอกกับอาตมาอยู่บ่อยครั้งว่า อยากไปหนองคายเพื่อกราบครูบาอาจารย์ และจะไปปากเซ จ.อุบลราชธานีและเลยไปวัดเวนไซซึ่งเป็นวัดของหลวงปู่สมเด็จลุนแห่งนครจำปา ศักดิ์ โดยจะกลับมาให้ทันวันงานในพิธีฉลองสมโภชพระมหาเจดีย์วันที่ ๑๒-๑๓-๑๔ เมษายน ๒๕๔๖ ซึ่งจะจัดให้มีพิธีหล่อพระประธาน และรูปเหมือนท่านในพิธีฉลองสมโภชพระมหาเจดีย์ ซึ่งงานนี้จะจัดให้พิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคล อมตะเถระอายุยืนหมุนโชค อาตมาก็นึกว่า ท่านพูดธรรมดา ไม่ได้คิดอะไรมาก เพราะก่อนหน้านี้หลวงปู่ท่านได้พูดตลอดเวลาว่า ครูบาอาจารย์ท่านชวนไปนิพพานตั้งหลายครั้งแล้ว ท่านบอกว่า รอก่อนรอโปรดญาติโยมก่อน

สำหรับศพหลวงปู่หมุนนั้นจะตั้งทำพิธีที่ วัดบ้านจาน โดยจะให้ศิษยานุศิษย์และญาติโยมที่เคารพศรัทธาสรงน้ำศพในวันที่ ๑๒ มี.ค. ๒๕๔๖ เวลา ๑๓.๓๐ น.ที่วัดบ้านจาน โดยจะจัดพิธีสวดพระอภิธรรมศพเรื่อยไปจนกระทั่งถึงวันงานเฉลิมฉลองสมโภชน์ เจดีย์ โดยศพจะนำบรรจุไว้ในโลงแก้วที่คณะลูกศิษย์จัดสร้างถวายให้ในราคา ๒ แสนบาท และนำขึ้นประดิษฐานไว้ในมหาเจดีย์ฐิตสีโล ซึ่งคณะศิษยานุศิษย์จากทั่วสารทิศได้ร่วมกันก่อสร้างไว้ให้ท่าน ซึ่งมหาเจดีย์นี้ตั้งอยู่ในวัด โดยรูปทรงมหาเจดีย์จะคล้าย ๆ กับพระธาตุพนมทางภาคอีสาน ผสมผสานกับรูปแบบเจดีย์ทรงล้านนาทางภาคเหนือ ซึ่งสร้างโดยใช้วัสดุคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยใช้เงินก่อสร้างมหาเจดีย์หลังนี้ ๒ ล้านบาทเศษ โดยท่านได้เคยปรารภกับลูกศิษย์อยู่เสมอว่า ให้นำร่างท่านบรรจุโลงแก้วและนำขึ้นประดิษฐานไว้ในเจดีย์หลังนี้ เพราะท่านย้ำอยู่เสมอว่าห้ามเผาสรีระของท่าน เพื่อจะให้ลูกศิษย์ได้กราบบูชาเพื่อความเป็นสิริมงคล เพราะท่านเป็นพระผู้มีวิชาอาคมขลัง และเป็นที่เคารพสักการะของผู้คนทั่วสารทิศ และเป็นพระเถระผู้มักน้อย สันโดษ และที่สำคัญเป็นผู้ทรงศีลบริสุทธิ์จริงๆ ด้านนายจักรกฤษณ์ คลังศัตรา ลูกศิษย์ใกล้ชิด กล่าวว่า หลวงปู่หมุนเป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังของภาคอีสานรูปหนึ่ง วัตถุมงคลของท่านนักสะสมต่างนิยมเล่นหา เพราะมีพุทธคุณทางด้านเมตตามหานิยมและแคล้วคลาดเป็นเยี่ยม ท่านเป็นพระที่มีอายุมากแล้ว แต่ที่ผ่านมาไม่มีลางบอกเหตุว่าจะด่วนมรณภาพ หากมองดูภายนอกท่านยังมีสุขภาพแข็งแรง เป็นพระที่มากด้วยเมตตาบารมี แม้แต่หลวงปู่หงษ์ เกจิอาจารย์ดังแห่งสุสานทุ่งมน อ.ปราสาท จ.สุรินทร์ ยังเคยให้หลวงปู่หมุนลงกระหม่อมให้ และเวลามีญาติโยมถามถึงหลวงปู่หมุน หลวงปู่หงษ์จะยกมือท่วมศีรษะและบอกกับลูกศิษย์ของท่านว่า หลวงปู่หมุนเป็นพระที่ศักดิ์สิทธิ์มาก

ขอบคุณข้อมูลจาก amulet-thailand.com

ความคิดเห็น

เนื้อหาที่ได้รับความนิยมในรอบ 1 เดือน :

ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่คำน้อย จิตฺตคุตฺโต วัดถ้ำภูกำพร้า (วัดภูกำพร้า) จังหวัดมุกดาหาร

ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่คำน้อย จิตฺตคุตฺโต วัดภูกำพร้า อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร เกิด ไม่ทราบ มรณภาพ พ.ศ.2548 อายุ ไม่ทราบ (ว่ากันว่า 200 กว่าปี) พรรษา ไม่ทราบ สำหรับหลวงปู่คำน้อย ว่ากันว่าท่านมีถึงอายุ 238 ปี ท่านพำนักอยู่ วัดถ้ำภูกำพร้า อ.ดงหลวง จ.มุกดาหาร ตั้งแต่ท่าน อายุได้ 100 กว่าปี ท่านก็สามารถนั่งสมาธิถอดจิต ไปเที่ยว สวรรค์ - นรก และ บางคนเชื่อว่าท่านคือเณรคำผู้มีฤทธิ์จากภูเขาควายเมืองลาว ท่านเป็นพระใจดี สำหรับอายุของท่านเท่าที่ถามจากคนเฒ่าคนแก่ในละแวกนั้น เขาก็ว่าเกิดมาก็เห็นหลวงปู่แล้วจนเขามีอายุถึงแปดสิบเก้าสิบ หลวงปู่คำน้อยก็ยังคงอยู่ในสภาพเดิมไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง และเมื่อสอบถามจากหลวงปู่คำน้อยก็ได้คำตอบเหมือนที่ใครๆได้รับรู้จากวาจา ท่านเองคือเปลี่ยนฟันมาสองรอบแล้ว รอบละ 120 ปี เลยอนุมานเอาว่าช่วงนั้นหลวงปู่น่าจะอายุประมาณ 200 กว่า ปี อายุใกล้เคียงกับกรุงเทพมหานคร ก็เลยสันนิษฐานเอาว่าหลวงปู่น่าจะเกิดในสมัยรัชกาลที่ 1 ครับ ปัจจุบันท่านมรณภาพไปแล้วครับ ประมาณปี 2548

ประวัติหลวงปู่เขียว อินฺทมุนี หรือ พ่อท่านเขียว วัดหรงบน

ประวัติหลวงปู่เขียว อินฺทมุนี หรือ พ่อท่านเขียว วัดหรงบน หลวงปู่เขียว อินทมุนี หรือ พ่อท่านเขียว วัดหรงบน เป็นพระคณาจารย์ชื่อดังแห่งวัดหรงบน ก่อนที่ท่านจะมรณภาพนั้นก็สามารถบอกถึงกำหนดวันมรณภาพล่วงหน้าได้อย่างแม่นยำ นอกจากสังขารท่านจะไม่เน่าเปื่อยแล้วยังเผาไหม้ได้อีกด้วย พระเครื่องและวัตถุมงคลของท่านได้รับความนิยมสูงมาก เช่น เหรียญรูปเหมือน รูปหล่อลอยองค์ ผ้ายันต์รอยมือรอยเท้า เชือกคาดเอว ลูกอม ตะกรุด และพระปิตตา ฯลฯ ประวัติ หลวงปู่เขียว อินทมุนี ท่านเกิดเมื่อปี พุทธศักราช 2424 ในแผ่นดิน ล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 เมื่อยังเยาว์วัย พ่อท่านเขียวอาศัยพระในบ้านช่วยสอนหนังสือให้อ่านเขียนได้ตามอักขระสมัย ท่านชอบศึกษาเล่าเรียนเป็นชีวิตจิตใจ รวมทั้งการศึกษาวิชาอาคมตามประเพณีนิยมของชาติไทยสมัยก่อน จนเมื่อมีอายุได้ 22 ปี ท่านจึงได้ตัดสินใจสละเพศฆราวาส อุปสมบทเมื่อปี พ.ศ. 2446 ณ วัดคงคาวดี (วัดกลาง) ปีเถาะ พ.ศ. 2446 พระครูสมัยนั้น เป็นพระอุปัชฌายะ พระครูบริหารสังฆกิจ (เต็ง) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ พระเกื้อเป็นพระกรรมวาจา ได้รับฉายาว่า "อินทมุนี" หลังจากอุปสมบทแล้ว ท่านก็อยู่รับใช้ป...

ประวัติหลวงปู่หมุน ฐิตสีโล วัดบ้านจาน อมตะเถระ ๕ แผ่นดิน อายุ ๑๐๙ ปี

หลวงปู่หมุน ฐิตสีโล " ตัวกูลูกพระพุทธองค์ ครูสิทธิ์ ครูธงค์ องอาจไม่ประมาทครู พบรอยก้มดู เจอครูกราบไหว้ " อิมะมะมามา อิมะมะมามา อิมะมะมามา อิมะมะมามา อิมะมะมามา อิมะมะมามา อิมะมะมามา ผู้เขียน : ClubMahaAud(73) * วาจาสิทธิ์ของหลวงปู่หมุน ที่ได้กล่าวไว้ก่อนละสังขาร ซึ่งลูกศิษย์และชาวบ้านต่างจดจำได้ติดหู คือ " ของๆฉันสร้างเองกับมือ ใครมีไว้บูชาจะ หมุนโชคหมุนลาภ ทำมาค้าขึ้น ไม่มีวันจน ประกอบสัมมาอาชีพใดก็รุ่งเรือง เจริญลาภยศสรรเสริญ จะมีชื่อเสียงหอมขจรขจาย ขอให้เป็นคนดี คิดดี ทำดี ละเว้นชั่ว คุณพระจะรักษา เทวดาจะคุ้มครอง แม้นว่าฉันจะตายไป ของๆ ฉันจะขลังกว่านี้อีกหลายๆเท่า น้ำลาย ไอปาก ลมปราณที่ประจุลงไป ด้วยพลังจิตอันเข้มขลังของฉัน ย่อมเป็น หนึ่งบ่เป็นสอง ครบเครื่องเป็นองค์พระ ที่ดีทั้งนอก ดีทั้งใน ฝากไว้ในแผ่นดิน ให้เลื่องชื่อลือนาม ลือเรื่องถึงเมืองแมน " # หลวงปู่หมุน ท่านกำเนิดเมื่อ พศ.2437-2546 อายุยืนถึง 109 ปี พระเครื่องของท่านออกมา ช่วงบั้นปลายชีวิต ในปีพศ.2542-45 จึงดูเหมือนเป็นพระเครื่องใหม่ อายุพระไม่เกิน10ปี ความนิยมในท้องตลาดพระเครื่อง ยังมีไม่มา...

ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่อ่อนศรี ฐานวโร วัดถ้ำประทุน จังหวัดชลบุรี

ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่อ่อนศรี ฐานวโร วัดถ้ำประทุน ตำบลโป่ง อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ๏ อัตโนประวัติ หลวงปู่อ่อนศรี ฐานวโร มีชาติกำเนิดในสกุล ธรรมจิตร เกิดเมื่อวันที่ ๑๖ เดือนกันยายน พ.ศ. ๒๔๖๘ ตรงกับวันพุธ (กลางคืน) แรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีฉลู ที่บ้านบึงโน ต.โคกสี อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร โยมบิดาชื่อ นายมี ธรรมจิตร (ซึ่งต่อมาได้ออกบวชเป็นตาผ้าขาวจนสิ้นชีวิต) โยมมารดาชื่อ นางและ ธรรมจิตร มีอาชีพทำนา ท่านมีพี่น้องร่วมมารดาบิดาเดียวกันทั้งหมด ๕ คน เป็นชาย ๒ คน หญิง ๓ คน มีชื่อเรียงตามลำดับดังนี้ ๑. หลวงปู่วันดี ปภสฺสโร (มรณภาพแล้ว) ๒. หลวงปู่อ่อนศรี ฐานวโร (มรณภาพปี พ.ศ. ๒๕๕๑) ๓. นางบัวพันธ์ ประณมศรี (ถึงแก่กรรมแล้ว) ๔. นางทองจันทร์ ขันธะจันทร์ ๕. นางทองผัน ธงศรี ๏ การศึกษา ท่านจบการศึกษาชั้นประถมปีที่ ๔ โรงเรียนวัดศรีชมพู (ในสมัยนั้น) บ้านบึงโน ต.โคกสี อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร และการศึกษาพระปริยัติธรรมสอบได้นักธรรมชั้นโท ๏ การบรรพชา ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๘ ณ วัดศรีสว่าง ต.โพนสูง อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร โดยมีพระอาจารย์ฮวด สุมโน เป็นพระอ...

ประวัติ หลวงพ่อก้าน ภทฺทโก วัดห้วยใหญ่

พระครูภัทรกิจวิบูล (ก้าน ภทฺทโก) พระครูภัทรกิจวิบูล (หลวงพ่อก้าน ภทฺทโก) หรือ อาจารย์ก้าน หรือ หลวงพ่อก้าน วัดห้วยใหญ่ อดีตเจ้าอาวาสวัดห้วยใหญ่ เกจิดังของตำบลห้วยใหญ่ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี สังขารท่านไม่เน่าเปลื่อยอยู่ในโรงแก้วจนถึงทุกวันนี้ หลวงพ่อก้านท่านพัฒนาวัดห้วยใหญ่จนรุ่นเรือง และช่วยสร้างอื่นๆ เช่นวัดนาจอมเทียน , วัดทุ่งระหาร และวัดชากแง้ว ท่านเป็นผู้ริเริ่มสร้างถนนนาจอมเทียนไปถึงถนนบ้านบึงเป็นระยะทาง 8 กิโลเมตร ท่านเป็นพระนักปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ และพระนักพัฒนาที่น่ายกยอง ประวัติ หลวงพ่อก้าน มีเดิมว่า " ก้าน " นามสกุล " เจริญคลัง " ท่านเป็นคนจังหวัดชลบุรี เกิดที่บ้านหมู่ที่ 5 ตำบลห้วยใหญ่ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2462 ตรงกับวันพฤหัสบดี แรม 13 ค่ำ ปีมะแม โยมบิดาชื่อ เส็ง เกิดที่เมืองจีน โยมแม่ชื่อ นิด นามสกุล เจริญคลัง ครอบครัวมีอาชีพทำนา ชีวิตในวัยเยาว์นั้นท่านเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ชอบไปใส่บาตรพระกับผู้ใหญ่เสมอๆ บรรพชา เมื่ออายุได้ 14 ปี ท่านจึงได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดห้วยใหญ่ ตำบลห้วยใหญ่ อำเภอบางละมุง จั...

ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่ชาลี ถิรธัมโม วัดป่าภูก้อน จังหวัดอุดรธานี

ประวัติและปฏิปทา พระครูจิตตภาวนาญาณ (หลวงตาชาลี ถิรธมฺโม) วัดป่าภูก้อน ตำบลบ้านก้อง อำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี “พระครูจิตตภาวนาญาณ” หรือ “หลวงตาชาลี ถิรธมฺโม” มีนามเดิมว่า ชาลี นามสกุล บุตรน้อย เกิดเมื่อวันที่ ๒๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๘๘ ตรงกับวันเสาร์ ขึ้น ๑ ค่ำ เดือนแปด ปีระกา ณ บ้านเจริญศิลป์ ตำบลเจริญศิลป์ อำเภอเจริญศิลป์ จังหวัดสกลนคร โยมบิดาชื่อ นายคำ บุตรน้อย โยมมารดาชื่อ นางกัน บุตรน้อย มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันทั้งหมด ๖ คน ท่านเป็นบุตรคนที่ ๔ ปี พ.ศ. ๒๕๐๗ อายุ ๑๙ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดศิริราษฎร์วัฒนา บ้านเจริญศิลป์ ตำบลเจริญศิลป์ อำเภอเจริญศิลป์ จังหวัดสกลนคร โดยมี พระครูอดุลสังฆกิจ เป็นพระอุปัชฌาย์ ปี พ.ศ. ๒๕๐๘ อายุ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดศิริราษฎร์วัฒนา จังหวัดสกลนคร โดยมี พระอาจารย์คำมี สุวัณณสิริ เป็นพระอุปัชฌาย์ หลังจากอุปสมบทแล้ว ได้จำพรรษาที่วัดศิริราษฎร์วัฒนา จ.สกลนคร ๑ พรรษา แล้วเดินธุดงค์ไปจังหวัดเลย ได้จำพรรษาอยู่กับหลวงปู่ชอบ ฐานสโม ๑ พรรษา แล้วเดินธุดงค์ต่อไปทางภาคเหนือ, จังหวัดหนองคาย, จังหวัดอุดรธานี แล...

ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่เหมือน อินฺทโชโต วัดกำแพง จังหวัดชลบุรี

ประวัติและปฏิปทา พระครูอุดมวิชชากร (หลวงปู่เหมือน อินฺทโชโต) วัดกำแพง ตำบลมะขามหย่ง อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี พระครูอุดมวิชชากร (หลวงปู่เหมือน อินฺทโชโต) อดีตเจ้าอาวาสวัดกำแพง และอดีตเจ้าคณะตำบลบางปลาสร้างเขต 2 หลวงปู่เหมือน ท่านเป็นเกจิดังของวัดกำแพง ตำบลมะขามหย่ง อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี ท่านพัฒนาวัดกำแพงจนมีความรุ่งเรืองในหลายๆ ด้าน และยังเป็นผู้อุปการะ องค์อุปการะยุวพุทธิกสมาคมชลบุรี ในพระสังฆราชูปถัมภ์ , อุปการะโรงเรียนเทศบาลวัดกำแพง (อุดมพิทยากร) และองค์อุปการะมูลนิธิพระครูอุดมวิชชากร อีกด้วย วัตถุมงคลของท่านได้ความนิยมอย่างมากโดยเฉพาะปิดตา และเหรีญรุ่นแรก พระครูอุดมวิชชากร ท่านมีนามเดิมว่า " เหมือน " นามสกุล " ถาวรวัฒนะ " เกิดเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2436 ปีมะเส็ง ณ บ้าน ตำบลมะขามหย่ง อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 โยมบิดาชื่อ ตึ๋ง โยมมารดาชื่อ ปุ่น ถาวรวัฒนะ (มารดาเป็นน้องสาวของหลวงพ่อเจียม อดีตเจ้าอาวาสวัดกำแพง) บรรพชา หลวงปู่เหมือน ท่านบรรพชาเป็นสามเณร แล้วจึงอุปสมบทต่อ อุปสมบท หลวงปู่เหมือน อายุได้ 20...

ประวัติหลวงพ่อเกิด ปุณณปัญโญ หรือ หลวงพ่อเกิด วัดสะพาน

ประวัติหลวงพ่อเกิด ปุณณปัญโญ หรือ หลวงพ่อเกิด วัดสะพาน พระครูพิศาลธรรมประยุต หรือ หลวงพ่อเกิด ปฺณณปญฺโญ หรือ หลวงพ่อเกิด วัดสะพาน (6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2415 - 27 ธันวาคม พ.ศ. 2499) เหรียญของท่านเสมือนอัญมณีชิ้นเอกของเมืองนครนายกวัตถุมงคลของท่านช่วยคุ้มครองป้องกันภัยนานาประการ และดลบันดาลแต่สิ่งที่เป็นมงคลศิษย์เอกขงอท่านที่ได้รับการถ่ายทอดวิชาจากท่านคือ หลวงพ่อภู่ วัดช้าง อำเภอบ้านนา หลวงพ่อเกิด ท่านเกิดเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2415 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นบุตรของนายฉุย และนางพุ่ม สมพงษ์ เป็นบุตรคนสุดท้องในจำนวนพี่น้องทั้งหมด 7 คน อุปสมบทเมื่อมีอายุ 21 ปีตรงกับวันที่23 พฤษภาคม พ.ศ. 2436 โดยมีหลวงพ่อวัตร วัดพิกุลแก้ว เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อดี วัดกุฏิเตี้ย เป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลวงพ่อเพ็ง วัดพระโต เป็นพระอนุสาวนาจารย์ มีฉายาว่า ปุณณปัญโญ ได้อยู่ศึกษากับหลวงพ่อดี ผู้มีความชำนาญด้านรุกขมูล วิปัสสนากรรมฐาน และแพทย์แผนโบราณ มีวิทยาคมอันแก่กล้ารูปหนึ่งในสมัยนั้น จากนั้นท่านได้ย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่วัดสะพานตลอดมา ท่านได้ธุดงค์ไปยังเมืองเขมรและมีโอกาสศึกษาเล่าเรียนวิชาจากอาจารย์ต่า...

ประวัติหลวงปู่อุดมทรัพย์ หรือ พระอาจารย์จ่อย สิริคุตโต วัดเวฬุวัน

ประวัติหลวงปู่อุดมทรัพย์ (พระอาจารย์จ่อย สิริคุตโต) วัดเวฬุวัน ตำบลพยุห์ อำเภอพยุห์ จังหวัดศรีสะเกษ ชาติภูมิและอุปสมบท ณ บ้านหนองหล่ม อ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว ในวันศุกร์ที่  ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๐๓ ในครอบครัวของพ่อลี แม่ตุ่น สว่างกุล ได้ก่อกำเนิดลูกชายคนที่ ๘ จากจำนวนทั้งหมด ๙ คน เด็กคนนี้มีรูปร่างเล็กกว่าลูกคนอื่นๆ พ่อจึงได้ตั้งชื่อว่า "จ่อย" ซึ่งเป็นภาษาอีสานหมายถึงผอมแห้ง เด็กชายจ่อยได้เป็นกำลังสำคัญของครอบครัวด้วยการช่วยทำงานทุกอย่างเหมือนดั่งเด็กโต ในยามว่างสิ่งหนึ่งที่เป็นกิจวัตรประจำวันของเด็กชายจ่อยคือ ชอบไปนั่งคุยกับพระที่วัดถามถึงเรื่องบาปบุญว่ามีจริงไหม บาปอยู่ที่ไหน บุญอยู่ที่ใด เป็นคำถามที่พระในวัดมักจะถูกถามอยู่เสมอๆ ซึ่งพระในวัดท่านก็ตอบว่า "ถ้าอยากรู้ว่าบาปบุญมีจริงไหม ก็ลองมาบวชดูแล้วจะรู้" คำตอบที่พระท่านตอบมาทำให้ในวันนั้นเด็กชายจ่อยฝังใจในการหาคำตอบ พอเริ่มโตเป็นวัยรุ่น จึงได้ไปขออนุญาตพ่อแม่ว่า "บัดนี้ครอบครัวก็เป็นปึกแผ่นแล้ว อยากจะออกบวชเรียน เพื่อศึกษาหาคำตอบที่สงสัยมานาน" เมื่อพ่อแม่ได้ฟังดังนั้นก็ยินดีอนุโมทนาอนุญาตให้บวชเป็นสามเณ...

ประวัติ หลวงปู่ทอง อายะนะ วัดราชโยธา

หลวงปู่ทอง อายะนะ (พ.ศ. 2363 - พ.ศ. 2480) เป็นพระคณาจารย์ยุคเก่าที่มีอายุยืนยาวถึง 117 ปี ท่านเป็นพระที่มีวัตรปฏิบัติอันงดงาม เชี่ยวชาญด้านพุทธาคมอย่างลึกซึ้ง เป็นผู้ถ่ายทอดวิชาให้กับ หลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว ส่วนลูกศิษย์ฆราวาสที่เคราพเลื่อมใสท่านมากก็คือ พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) นายกรัฐมนตรีคนที่ 2 ของประเทศไทย ด้านวัตถุมงคลของท่านมีทั้งพระเครื่องเนื้อพิมพ์สมเด็จ ลูกอม ชานหมาก เสื้อยันต์ แต่ที่ได้รับความนิยมสูงสุดก็คือ เหรียญรุ่นแรก ประวัติหลวงปู่ทอง อายะนะ หลวงปู่ทอง อายานะ เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2363 ตรงกับปลายสมัยรัชกาลที่ 2 เป็นบุตรของนายฮวด แซ่ลิ้ม ชาวจีนฮกเกี้ยน มารดาเป็นชาวมอญ ต่อมาท่านได้อุปสมบทเมื่อปี พ.ศ. 2384 ได้อุปสมบท ณ วัดบางเงินพรม ตลิ่งชัน โดยมีท่านเจ้าคุณวินัยกิจจารีเถระ (ภู่) อดีตเจ้าอาวาสองค์ที่ 2 ของ วัดบางเงินพรม เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาตามภาษามคธว่า อายะนะ หลังจากอุปสมบทมา ได้พำนักจำพรรษา ณ วัดแห่งนั้นเพื่อศึกษาพระธรรมวินัย และคอยอุปัฏฐากพระอุปัชฌาย์ของท่านภายหลังได้ธุดงค์วัตรเพื่อแสวงหาโมกขธรรม เมื่อพระราชโยธาก่อสร้างวัดราชโยธาเสร็จเรียบร้อยแล้ว ได้น...